“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันอังคารที่ 11 เมษายน 2017
วันอังคาร สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์
ยน 13:21-33,36-38…
21เมื่อตรัสดังนี้แล้ว พระเยซูเจ้าทรงรู้สึกหวั่นไหวพระทัย จึงตรัสยืนยันว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านคนหนึ่งจะทรยศเรา” 22บรรดาศิษย์ต่างมองหน้ากัน ไม่รู้ว่าพระองค์ทรงหมายถึงใคร 23ศิษย์คนหนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงรักนั่งโต๊ะติดกับพระองค์ 24ซีโมน เปโตรจึงทำสัญญาณให้เขาทูลถามว่า “ผู้ที่พระองค์กำลังตรัสถึงนี้เป็นใคร”

25เขาจึงเอนกายชิดพระอุระของพระเยซูเจ้า ทูลถามว่า “พระเจ้าข้า เป็นใครหรือ” 26พระเยซูเจ้าทรงตอบว่า “เป็นผู้ที่เราจะจุ่มขนมปังส่งให้” แล้วทรงจุ่มขนมปังชิ้นหนึ่ง ส่งให้ยูดาส บุตรของซีโมน อิสคาริโอท 27แต่เมื่อยูดาสได้รับขนมปังชิ้นนี้แล้ว ซาตานก็เข้าสิงในตัวเขา พระเยซูเจ้าจึงตรัสแก่เขาว่า “ท่านทำอะไร ก็จงทำเสียโดยเร็วเถิด” 28ผู้ร่วมโต๊ะด้วยกันไม่มีใครเข้าใจว่าเหตุใดพระองค์จึงตรัสเช่นนี้ 29บางคนคิดว่าเนื่องจากยูดาสเป็นผู้ถือถุงเงิน พระเยซูเจ้าทรงบอกเขาว่า “จงไปซื้อของที่จำเป็นสำหรับวันฉลอง” หรือบอกว่า จงไปแจกทานแก่คนยากจน 30ดังนั้น เมื่อยูดาสรับชิ้นขนมปังแล้ว ก็ออกไปทันที ขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน

31เมื่อยูดาสออกไปแล้ว พระเยซูเจ้าตรัสว่า
“บัดนี้ บุตรแห่งมนุษย์ได้รับพระสิริรุ่งโรจน์
และพระเจ้าทรงได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ในบุตรแห่งมนุษย์ด้วย
32ถ้าพระเจ้าทรงได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ในบุตรแห่งมนุษย์
พระเจ้าจะทรงให้บุตรแห่งมนุษย์ได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ในพระองค์ด้วย
และจะทรงให้บุตรแห่งมนุษย์ได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ในทันที
33ลูกทั้งหลายเอ๋ย
เราจะอยู่กับท่านอีกไม่นาน
ท่านจะแสวงหาเรา
แต่เราบอกท่านบัดนี้เหมือนกับที่เราเคยบอกชาวยิว ว่า
ที่ที่เราไปนั้น
ท่านไปไม่ได้
36ซีโมนเปโตรทูลว่า “พระเจ้าข้า พระองค์กำลังจะไปไหน” พระเยซูเจ้าทรงตอบว่า “ที่ที่เราไปนั้น ท่านยังตามไปเวลานี้ไม่ได้ แต่จะตามไปได้ในภายหลัง” 37เปโตรทูลพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า ทำไมข้าพเจ้าจึงตามพระองค์ไปเวลานี้ไม่ได้ข้าพเจ้าจะสละชีวิตเพื่อพระองค์” 38พระเยซูเจ้าทรงตอบว่า “ท่านจะสละชีวิตเพื่อเราหรือ เราบอกความจริงกับท่านว่า ก่อนไก่ขัน ท่านจะบอกว่าไม่รู้จักเราถึงสามครั้ง”

อรรถาธิบายและไตร่ตรอง

• เวลาที่แสนละเอียดอ่อน อ่อนโยนเต็มที่ของหัวใจของพระอาจารย์กับบรรดาศิษย์ "คำปราศรัยอำลา"
o เมื่อพระเยซูตามพระสารนักบุญยอห์น บทที่ 13 กำลังเริ่ม “ปราศรัยอำลา” (Farewell Discourse) พระองค์กำลังกล่าวอำลาบรรดาศิษย์ของพระองค์ พระองค์รักพวกเขา ทรงรักจนถึงที่สุด...
o เฉพาะพระวรสารนักบุญยอห์นเท่านั้น ที่บรรยายถึงเวลาแสนอบอุ่นและอัดแน่นไปด้วยความรัก พระวาจานี้เกิดขึ้นในห้องอาหารค่ำที่ทรงล้างเท้าบรรดาศิษย์ (การล้างเท้าเป็นเครื่องหมายถึง “การรับใช้” แบบแบบทาสรับใช้ พระองค์ทรงล้างเท้าให้พวกเขา)

• พระวรสารอีก 3 เล่ม คือ มัทธิว มาระโก และลูกา ไม่ได้บันทึกเรื่องราวการล้างเท้านี้ มีแต่ยอห์นเท่านั้น และไม่มีคำปราศรัยอำลาที่ทรงกล่าวยาวนานกับบรรดาศิษย์ อันที่จริง ทรงปราศรัยตั้งแต่บทที่ 13 นี้ไปจนถึงบทที่ 17 (ถ้ามีเวลาอ่านพระคัมภีร์อ่านนะครับ ยอห์น 13-17) พระองค์ปราศรัยกับพวกเขาอ่อนโยน และทรงมอบฝากพวกเขาไว้ในความเป็นหนึ่งเดียวดังเช่นพระองค์ทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดาและพระจิต

• พ่ออยากพาเราจินตนาการติดตามพระวรสารของยอห์น ที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์... ให้เราได้สัมผัสกับกลิ่นอายอันอบอวลของความรักของพระเยซูเจ้าต่อบรรดาศิษย์ เรามาติดตามไตร่ตรองศึกษากันครับ...

• “พระเยซูเจ้าทรงรู้สึกหวั่นไหวพระทัย จึงตรัสยืนยันว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านคนหนึ่งจะทรยศเรา””
o คำว่า “หวั่นไหวพระทัย”... พระวรสารต้นฉบับภาษากรีกเขียนว่า “Ἰησοῦς ἐταράχθη τῷ πνεύματι (Joh 13:21 GNT)” อ่านออกเสียงว่า “เยซูส เอตารัคเธ โต พะเนวมาตี” ใจความสำคัญคือ คำกริยา “เอตารัคเธ etarachthe” คำนี้เป็นคำกริยาอยู่ในรูป Passive คือ “ประธานของคำกริยานั้นถูกกระทำ” ดังนั้น ถ้าจะแปลคือ “จิตใจของพระองค์ถูกทำให้วุ่นวายหรือหวั่นไหว”
o คำถามคืออะไรทำให้พระองค์ “หวั่นไหว” อะไรคือสาเหตุที่ทำให้พระองค์ จิตใจของพระองค์ ถูกรบกวนให้หวั่นไหว” พ่อหาสาเหตุในพระวรสารได้สองสามประการครับ... ถ้าเราจะวิเคราะห์ดู
1. พระองค์ทราบว่ากำลังจะจากบรรดาศิษย์ไป กำลังจะต้องสิ้นพระชนม์ พระเจ้าแท้ มนุษย์แท้ ทรงหวั่นไหว จิตใจของพระองค์กำลังถูกรบกวน... แน่นอน พระองค์ “รักบรรดาศิษย์” บัดนี้ทรงทราบว่าพระองค์จะต้องจากพวกเขาไป... “ผ่านความตาย” นั่นหมายความว่า ความสัมพันธ์กับบรรดาศิษย์ในฐานะมนุษย์ ในฐานะพระอาจารย์ กำลังจะสิ้นสุดลงด้วยความตายที่ทรงทราบว่ากำลังจะมาถึงพระองค์...
2. คนทรยศที่จะมอบพระองค์ “ยูดาสอยู่ต่อหน้าพระองค์ ร่วมรับประทานอาหารกับพระองค์” (ท่านคนหนึ่งจะทรยศต่อเรา) และเราทราบจากพระวรสารทั้งสี่ว่ายูดาสคือคนคนนั้น และแน่นอน พระองค์ทรงทราบ พระองค์ทรงรักเขาเช่นกัน แต่เขาจะทรยศ (ทรยศ ภาษากรีกใช้คำว่า παραδίδωμι อ่านว่า “พาราดิโดมี” paradidomi แปลว่า ว่าการมอบไว้ในมือศัตรู หรือ การทรยศ)
3. พ่อเชื่อว่า “พระองค์เผชิญอยู่กับสถานการณ์ของความรักอัดแน่นที่สุด” คือ “ทรงรักพระบิดา และทรงรักบรรดาศิษย์” พระองค์ทรงรักบรรดาศิษย์เหลือเกินแน่ๆ เพราะทรงเป็นพระเจ้าองค์ความรัก และพระวรสารนักบุญยอห์นบันทึกว่าพระองค์ทรงรักพวกเขา ทรงรักจนถึงที่สุด และยังมี “ศิษย์ที่ทรงรัก” ซึ่งคำๆนี้มีปรากฎในเฉพาะพระวรสารนักบุญยอห์นเท่านั้น... ไม่มีในเล่มอื่นๆเลย ศิษย์ที่ทรงรักนี้เป็นใครจริงๆ ยังเป็นปริศนาตลอดกาล แต่ธรรมประเพณีสรุปว่า น่าจะเป็นนักบุญยอห์นบุตรเศเบดี น้องของยากอบ... แต่สำหรับพระวรสารยอห์น ซึ่งเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ บางที “ศิษย์ที่ทรงรักเป็นสัญลักษณ์” หมายถึง “ทุกคน รวมทั้งเราแต่ละคนด้วย” ซึ่งก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า พระองค์ทรงรักเราทุกคนจริงๆ พระองค์กำลังอยู่ในสถานการณ์ของความรักอัดแน่น รักพระเจ้าพระบิดา รักบรรดาศิษย์ คือ รักเราทุกคน และทรงรู้ว่า กำลังจะต้อง “สิ้นพระชนม์เพราะทรงรักเรา”
4. เพราะเราคริสตชน เราเชื่อว่า “การสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน” คือสุดยอดของความรัก “การสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน คือ “บ่อเกิดและจุดสูงสุด”” (Fons et Culmen ภาษาลาตินอ่าน “ฟอนส์ แอต คุลแมน”) ดังนั้น เวลานี้ เมื่อทรงทราบว่ากำลังจะต้องสิ้นพระชนม์ ต้องละความสัมพันธ์ตามธรรมชาติมนุษย์กับพวกเขา... พระองค์ทรงอัดแน่นในความรัก “หวั่นไหว” จริงๆ จึงไม่แปลกที่ยอห์นได้นำเสนอ “คำปราศรัยอำลา” ในพระวรสารของท่าน เต็มไปด้วยความรักจริงๆ นักวิชาการทั้งหลายจึงเรียกว่า “คำปราศรัยอำลา”
5. พ่อคิดว่า จริงนะที่มีคำกล่าวว่า “ความรักทำให้คนเราหวั่นไหว” หรืออาจเป็นอาการงุ่นง่านกระวนกระวาย นั่งไม่ติด... พ่อเห็นพระสารนักบุญยอห์นซึ่งบันดานักวิชาการเรียกว่า “พระวรสารแห่งความรัก” นี้ เป็นจริงๆ ในเกือบทุกฉากทุกตอนของพระวรสาร และโดยเฉพาะในอาหารค่ำสุดท้าย เมื่อทรงล้างเท้า ทรงชี้ตัวผู้ทรยศ และทรงกล่าวคำปราศรัยอำลา...

• “ศิษย์คนหนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงรักนั่งโต๊ะติดกับพระองค์... เขาจึงเอนกายชิดพระอุระของพระเยซูเจ้า ทูลถามว่า “พระเจ้าข้า เป็นใครหรือ””
o “ศิษย์ที่ทรงรัก” คำนี้เคยสรุปได้ชัดเจนร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเป็นใคร นักวิชาการวุ่นวายกันนับร้อยๆ ปี... ปล่อยนักวิชาการเขาไปเถอะครับ... วันนี้พ่อขอเพียงให้เราลองเป็น “คนนั้น ศิษย์ที่ทรงรัก” เอนศีรษะชิดพระอุระพระเยซู ประหนึ่ง “ฟังเสียงหัวใจของพระองค์เต้น หัวใจของพระเยซูเจ้าผู้ทรงรักบรรดาศิษย์ที่สุด รักมนุษย์ที่สุด... และทรงรู้ว่าพระองค์กำลังจะรักพวกเขา “จนถึงที่สุด คือสิ้นพระชนม์เพื่อปลดปล่อยทุกคนจากบาปและความตาย”” พ่ออยากให้เรา ตระหนักถึงเสียงพระทัยของพระองค์ผู้ทรงรักเราสุดพรรณนา เชิญชวนเราอ่านพระวาจา และตระหนักถึงเสียงของพระหฤทัยของพระองค์...
o คำตอบในภาคปฏิบัติ คือ ฟังเสียงหัวใจของพี่น้องที่เต้นด้วยความปรารถนาให้เราได้ฟัง ให้เราได้ตระหนัก และที่สำคัญ อาจะเป็นเสียงเต้นของหัวใจ หรือกรีดร้องขอชีวิต ขอความเมตตา ขอความรักจากเราคริสตชน... เพราะพวกเขาอาจจะกำลังเหมือนพระเยซูผู้กำลังถูกทรยศ และบางทีคนที่ทรยศ... อาจเป็นพ่อและเป็นเราแต่ละคนก็ได้

• “ท่านทำอะไร ก็จงทำเสียโดยเร็วเถิด”… บางคนคิดว่าเนื่องจากยูดาสเป็นผู้ถือถุงเงิน พระเยซูเจ้าทรงบอกเขาว่า “จงไปซื้อของที่จำเป็นสำหรับวันฉลอง” หรือบอกว่า “จงไปแจกทานแก่คนยากจน” ดังนั้น เมื่อยูดาสรับชิ้นขนมปังแล้ว ก็ออกไปทันที ขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน
o พระวรสารตอนนี้ทำให้พ่อหวั่นไหว...ครับ... ถุงเงินที่ยูดาสถืออยู่ทำให้เกิดความสับสนในหมู่บรรดาศิษย์ พระองค์ตรัส “ทำอะไร ก็จงทำเสียโดยเร็วเถิด” หมายความว่าอะไร... หมายความว่ารีบไปจัดการตามแผ่นที่จะทรยศพระองค์กระมัง.. แต่บรรดาศิษย์ก็เข้าใจไปต่างๆ นาๆ คือ ไปซื้อของที่จำเป็นสำหรับวันฉลองหรือ หรือว่าไปแจกทานแก่คนยากจน...
o พ่อรู้สึกหวั่นไหวกับพระวาจาตอนนี้ เพราะความสับสนที่เกิดขึ้น มันปนกันสนิทมาก “ไปเตรียมฉลองปัสกา หรือไปแจกทานแก่คนจน หรือว่าไปทรยศพระองค์”
o พ่อถามตนเอง ถามพี่น้องพระสงฆ์ สัตบุรุษด้วย บ่อยครั้ง เงินทองที่เรารับผิดชอบ โดยเฉพาะเงินทาน เงินวัด เงินเพื่อการแบ่งปัน เงินทำบุญ.. ล่อแหลมมาก เสี่ยงมาก กับความไม่ซื่อสัตย์การทรยศ พ่อเขียนตรงนี้เพื่อเตือนตนเองจริงๆ ยอห์นในพระวรสารชี้ความสับสนของบรรดาศิษย์กันมากหลายประการ ปนๆกัน แยกไม่ออกว่าให้ไปซื้อของเพื่อปัสกา หรือไปแจกทานให้คนยากจน... เพราะที่จริง ยูดาสตรงไปหามหาสมณะเพื่อทรยศและขายพระเยซู...
o พ่อหวั่นไหวเพราะพ่อต้องพิจารณามโนธรรม บรรดาพระสงฆ์ และคริสตชนต้องพิจารณามโนธรรมเรื่องความซื่อสัตย์ โดยเฉพาะเรื่องเงินทอง ทรัพย์สมบัติ ที่มักจะมีสีเทา มืดๆ ดำๆ ไม่ค่อยขาว ไม่ค่อยสว่างโปร่งใสนัก...
o ไม่ต้องแปลใจ เพราะพระคัมภีร์เขียนชัดว่า “ดังนั้น เมื่อยูดาสรับชิ้นขนมปังแล้ว ก็ออกไปทันที ขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน” ความมืด คือ จุดที่ยูดาสตัดสินใจเดินหันหลังให้ความสว่าง “องค์ความสว่าง แสงสว่างแท้ คือ พระเยซู” (เทียบ ยน 1:1-18)

• “เมื่อยูดาสออกไปแล้ว พระเยซูเจ้าตรัสว่า “บัดนี้ บุตรแห่งมนุษย์ได้รับพระสิริรุ่งโรจน์”
o พระองค์ประกาศถึงเวลา ที่จะต้องก้าวไปสู่พระทรมาน... อันที่จริง คือ เวลาแห่งความรักที่สุด... การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้า คือ เวลาแห่งพระสิริรุ่งโรจน์... เวลาแห่งการถูกยกขึ้น เวลาของการที่ความมืดจะพินาศไปด้วยแสงสว่างแห่งความรักจนถึงสิ้นพระชนม์
o พ่อหวัง ปัสกา จะเป็นเวลาฟื้นฟูชีวิต จิตใจ พ่อและพี่น้องให้สว่างใส ทำลายความมืดมนแห่งบาปและความมืดมิดของจิตใจ...ครับ

• ขอจบลงด้วยคำไพเราะแห่งสัญญาของพระเยซูครับ “ลูกทั้งหลายเอ๋ย... (ข้อ 33) ที่ที่เราไปนั้น ท่านยังตามไปเวลานี้ไม่ได้ แต่จะตามไปได้ในภายหลัง”
o พี่น้องที่รัก ให้เราเดินตามพระฉบับความรัก ความหวั่นไหวในความรักที่แสนรักของพระเยซูเจ้าด้วยกันในปัสกานี้ครับ
o คริสตชน คือ เครื่องหมายของความรักอันแน่นของพระเยซู ขอให้เราเดินตามพระบาทของพระองค์ ในหนทางแห่งความรักด้วยกันนะครับ...

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2024
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 13:44-52) วันสับบาโตต่อมา ชาวเมืองเกือบทั้งหมดมาชุมนุมฟังพระวาจาของพระเจ้า เมื่อชาวยิวเห็นประชาชนมากมายเช่นนี้ ก็เกิดความอิจฉาอย่างมาก จึงคัดค้านคำพูดของเปาโลและด่าว่าเขา เปาโลและบารนาบัสตอบเขาอย่างกล้าหาญว่า “จำเป็นที่เราจะต้องประกาศพระวาจาของพระเจ้าให้ท่านฟังก่อนผู้อื่น แต่เมื่อท่านปฏิเสธไม่ยอมรับ และไม่คิดว่าตนเหมาะสมจะรับชีวิตนิรันดร เราจึงหันไปหาคนต่างศาสนา เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้ามีพระบัญชาแก่เราดังนี้ว่า ‘เราแต่งตั้งท่านให้เป็นแสงสว่างส่องนานาชาติ เพื่อท่านจะได้นำความรอดพ้นไปจนสุดปลายแผ่นดิน’ ” เมื่อคนต่างศาสนาได้ยินดังนี้ ก็มีความยินดี...
วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 13:26-33) ในครั้งนั้น...
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2024 ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสารบทอ่านจากจดหมายนักบุญเปโตรอัครสาวก ฉบับที่หนึ่ง (1ปต 5:5ข-14) ท่านที่รักทั้งหลาย...
วันพุธที่ 24 เมษายน 2024 นักบุญฟีเดลิส แห่งซิกมาริงเก็น พระสงฆ์และมรณสักขีบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 12:24 -13:5ก)...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์