“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2016

สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

1คร 9:16-19, 22ข-27…
         16แต่ในการประกาศข่าวดีข้าพเจ้าไม่รู้สึกภูมิใจแม้แต่น้อย เพราะข้าพเจ้าจำเป็นต้องประกาศอยู่แล้ว หากข้าพเจ้าไม่ประกาศข่าวดี ข้าพเจ้าย่อมได้รับความวิบัติ 17เพราะถ้าข้าพเจ้าสมัครใจทำเอง ข้าพเจ้าก็จะได้รับค่าจ้าง แต่ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้สมัครใจทำก็หมายความว่า ข้าพเจ้าเพียงแต่ทำงานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น 18ข้าพเจ้าจะได้รางวัลใดเล่า รางวัลสำหรับข้าพเจ้าก็คือความภูมิใจที่ข้าพเจ้าประกาศข่าวดีให้โดยไม่ใช้สิทธิต่าง ๆ จากการประกาศข่าวดีนั้น

19แม้ว่าข้าพเจ้าเป็นอิสระ ข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาสรับใช้ทุกคน เพื่อเอาชนะใจผู้อื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ข้าพเจ้าเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน เพื่อข้าพเจ้าจะได้ใช้ทุกวิถีทางช่วยบางคนให้รอดพ้น 23ข้าพเจ้าทำทุกอย่างเพราะเห็นแก่ข่าวดี เพื่อข้าพเจ้าจะได้มีส่วนรับพระพรจากข่าวดีนี้ร่วมกับเขาเหล่านั้นด้วย 24ท่านไม่รู้หรือว่า คนที่วิ่งแข่งในสนามกีฬา ทุกคนวิ่งก็จริง แต่มีเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัล ท่านจงวิ่งเช่นนั้นด้วย เพื่อชิงรางวัลให้ได้ 25นักกีฬาทุกคนที่เข้าแข่งขันย่อมบังคับตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้รับมงกุฎใบไม้ที่ร่วงโรยได้ แต่เราทำเช่นนี้เพื่อจะได้รับมงกุฎที่ไม่มีวันร่วงโรย
26ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงวิ่งแข่งอย่างมีจุดหมาย ข้าพเจ้ามิได้ชกอย่างคนชกลม 27แต่ข้าพเจ้าเคร่งครัดต่อร่างกายเพื่อบังคับให้ร่างกายอยู่ใต้อำนาจของข้าพเจ้า ด้วยเกรงว่าหลังจากที่ได้เทศน์สอนคนอื่นแล้ว ข้าพเจ้าอาจถูกตัดสิทธิเพราะผิดกติกา

อรรถาธิบายและไตร่ตรอง
• คำสอนของนักบุญเปาโลวันนี้มีหลายประเด็นที่คมคายมาก และเป็นคำสอนที่เราต้องนำมาเก็บประเด็นให้ไตร่ตรอง เพื่อเข้าถึงความหมายแท้จริงของการเป็นคริสตชน หรือเป็นคนของพระคริสตเจ้า สำหรับนักบุญเปาโล “การประกาศข่าวดี...ไม่ได้เป็นภาระหรือเป็นสิ่งที่ต้องภูมิใจ เพราะเป็นหน้าที่ของท่านที่ต้องประกาศข่าวดี” เปาโลย้ำว่า
o “แต่ในการประกาศข่าวดีข้าพเจ้าไม่รู้สึกภูมิใจแม้แต่น้อย เพราะข้าพเจ้าจำเป็นต้องประกาศอยู่แล้ว หากข้าพเจ้าไม่ประกาศข่าวดี ข้าพเจ้าย่อมได้รับความวิบัติ”

• ท่านยืนยันว่า เมื่อประกาศข่าวดีท่านได้มีรู้สึกดีใจหรือภูมิใจแม้แต่น้อย เพราะท่านถือว่า “เป็นหน้าที่ของอัครสาวกที่ต้องประกาศอยู่แล้ว”
o อัครสาวก ภาษากรีก Apostello อ่านว่า “อาโปสะเตลโล” แปลว่าผู้ถูกส่งไปข้างหน้า
o ท่านนักบุญสำนึก เป็นหน้าที่ที่เป็นอัครสาวกที่ต้องประกาศข่าวดี โดยธรรมชาติของการเป็นอัครสาวก... และท่านย้ำคำหนักแน่นว่า “วิบัติแก่ข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่ประกาศพระวาสาร” แสดงว่า การประกาศพระวรสารคือธรรมชาติของการเป็นอัครสาวก อัครสาวกต้องประกาศพระวรสาร...
o คำแปลเดิมที่เราใช้คือคำว่า “วิบัติแก่ข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าได้ประกาศข่าวดี” แรงขนาดนี้เชียวหรือ...ยอมรับได้ว่า พ่อมั่นใจว่า เปาโลเป็นคนที่แรงมากในการประกาศข่าวดี กล่าวได้ว่า ถ้าไม่มีนักบุญเปาโลแล้วละก็เราจะไม่ได้เห็นพลังของการประกาศข่าวดีเลยในพระวรสาร เพราะท่านนักบุญเปาโล ท่านเป็นเครื่องหมายและเครื่องมือที่ชัดเจนที่สุดในการประกาศข่าวดี

• พ่อได้มีโอกาสไปบรรยาย ให้กับพระสงฆ์หนุ่มในเรื่องการเทศน์ เรื่องของการประกาศข่าวดี พ่อดีใจที่มีโอกาสไปสอนเรื่องการเทศน์ให้กับพระสงฆ์หนุ่ม ซึ่ง “การเทศน์เป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตพระสงฆ์” และ “การประกาศข่าวดีก็เป็นหน้าที่ของคริสตชน” เช่นเดียวกัน...

• เปาโลย้ำว่า “เพราะถ้าข้าพเจ้าสมัครใจทำเอง ข้าพเจ้าก็จะได้รับค่าจ้าง แต่ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้สมัครใจทำก็หมายความว่า ข้าพเจ้าเพียงแต่ทำงานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น”
o การประกาศข่าวดี การเทศน์ของพระสงฆ์โดยเฉพาะ... เปาโลให้ตัวอย่างชัดเจนว่า ท่านได้รับมาไม่ใช่การว่าจ้าง แต่เป็น “พันธกิจ” ที่ได้รับมอบหมาย
o เปาโลเน้นหนักแน่นมาว่า ท่านประกาศเต็มที่ไม่ใช่เพราะสมัครใจด้วยซ้ำ แต่เป็นงานมอบหมายจากพระเจ้า เป็นภาษาแบบที่เน้นความเข้มข้นจริงๆว่า เป็นพันธะเป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาจริงๆ ท่านไม่มีทางหนีได้ ท่านยอมรับเด็ดขาดว่าท่านต้องทำ ไม่ทำไม่ได้
o ถ้าเราจะเรียกสิ่งที่เปาโลสอนนี้ว่าท่านยืนยันว่าท่านเป็น “ทาสรับใช้พระคริสตเจ้า หรือเป็นทาสเพราะความรักต่อพระคริสตเจ้า” ก็คงไม่ผิดจากความจริงมากนัก

• ประโยคนี้ของเปาโลชัดมาก น่ารักมากๆ อ่านสิครับ “ข้าพเจ้าจะได้รางวัลใดเล่า รางวัลสำหรับข้าพเจ้าก็คือความภูมิใจที่ข้าพเจ้าประกาศข่าวดีให้โดยไม่ใช้สิทธิต่าง ๆ จากการประกาศข่าวดีนั้น แม้ว่าข้าพเจ้าเป็นอิสระ ข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาสรับใช้ทุกคน เพื่อเอาชนะใจผู้อื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้”
o เปาโลประกาศข่าวดี โดยไม่รับรางวัลอะไร ไม่ได้อยากได้อะไร และอันที่จริง ท่านเองก็ยอมรับใช้ ยอมรับประกาศทุกสิ่ง... แต่ท่านได้รับรางวัลมากๆ คือ “ความภูมิใจหรือความสุขใจ”
o พ่อคิดว่าประเด็นนี้มีความหมายมากๆ เปาโลมี “ความสุข” ที่ได้ประกาศข่าวดี พ่อเองมีประสบการณ์เช่นเดียวกัน
o พ่อตลอดเวลาที่นั่งเขียนบทเทศน์ ทุกๆวัน (ขอย้ำ ทุกๆวัน) หลายปีแล้วไม่เคยขาดเลยแม้แต่วันเดียว... ทำงานเขียนบทเทศน์เพื่อพี่น้องเพื่อนๆ บนเฟสบุค
o ถ้าจะว่าไปแล้วก็ทำหน้าที่เหมือน “ทาสเพราะความรัก” บรรดาพระสงฆ์ตามวัดจำนวนมาก อย่างน้อยสิ่งที่พ่อเห็นก็คือพวกเขาแสนซื่อสัตย์ ถวายมิสซาประจำวันทุกวัน เทศน์ทุกวันไม่ได้ขาด นอกจากติดธุระบ้าง หรือถ้าต้องไปเข้าเงียบ หรือมีงานอื่นที่จำเป็น
o พ่อเองมองออกไปหาบรรดาพระสงฆ์เจ้าอาวาสที่อยู่วัดคนเดียวทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ตามวัดต่างจังหวัดนะครับ... ไม่ง่ายครับสำหรับมิสซาประจำวันทุกวัน... รับผิดชอบทุกวัน...
o ดูต่อไปอีก บรรดาสัตบุรุษที่ทำงานทุกวัน ทำงานตามบ้านและครอบครัวทุกวัน หาอาหารเลี้ยงลูกหลานทุกวัน ทำงานหนักทุกวัน แทบหยุดไม่ได้เหมือนกัน ป่วยยังต้องทำงาน... สรุปว่า... ทุกคนต่างมีหน้าที มีพันธกิจ ดังนั้น พ่อก็บ่นไม่ได้
o แม้ตัวพ่อเองเทศน์เขียนทุกวันแบบนี้ เมื่อมาสรุปจากงานของพ่อ จากงานของพระสงฆ์ จากงานหนักของพี่น้องคริสตชน... พ่อสรุปได้เหมือนเปาโลในใจครับ... “พวกเราคริสตชนต้องภูมิใจ” กันมากๆ ขอบคุณพระเจ้าที่พวกเราได้รักพระองค์ ได้รู้จัก และได้ประกาศพระองค์ เหมือนกับท่านนักบุญเปาโล

• ถ้าสรุป พ่อมีคำสรุปที่ดีมากๆ จากคำของเปาโลวันนี้ในจดหมายถึงชาวโครินท์ “แม้ว่าข้าพเจ้าเป็นอิสระ ข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาสรับใช้ทุกคน เพื่อเอาชนะใจผู้อื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้”
o พ่อมานั่งคิดๆนะครับ พ่อสามารถไหมที่จะเลิกเขียนบทเทศน์ บางทีก็อยากจะเลิกเหมือนกัน.. อยากหยุดไหม ก็บางทีก็อยากหยุดนะครับ แต่
o แต่เมื่อมาคิดถึงความสุขลึกๆ ที่ได้รับจากการทำงานแบบนี้ ก็ยินดี สมัครใจ ทำต่อไป แม่ไม่มีค่าจ้าง ไม่มีรางวัล ไม่มีค่าตอบแทน แต่ความสุขที่ได้กระทำพันธกิจก็ยังคงเป็นพลังอยู่ภายในเสมอครับ...

• ถ้อยคำต่อไปนี้ คลาสสิกที่สุด น่ารักที่สุดครับ
o “ข้าพเจ้าเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน” เพื่อข้าพเจ้าจะได้ใช้ทุกวิถีทางช่วยบางคนให้รอดพ้น
o ข้าพเจ้าทำทุกอย่างเพราะเห็นแก่ข่าวดี เพื่อข้าพเจ้าจะได้มีส่วนรับพระพรจากข่าวดีนี้ร่วมกับเขาเหล่านั้นด้วย”

• ภาษาลาตินประโยคนี้อยากให้ท่องขึ้นใจเลยครับ ท่องให้เป็นคาถาของเราคริสตชนเลยครับ
o “ข้าพเจ้าเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน” “omnibus omnia factus sum” อ่านว่า “ออมนีบุส ออมนีอา ฟัคตุส ซุม” ท่องกันไว้เลยนะครับ
o พ่อคิดว่าเป็นเสน่ห์มากๆ สำหรับคริสตชนที่จะท่องขึ้นใจ และกระทำให้เป็นชีวิต “เป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน” เพราะจริงๆประโยคนี้.. พ่อชอบมาก จำข้ออ้างอิงไว้ก็ได้ครับ (1คร 9:22)

• เปาโลยอมเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน เพื่ออะไร เพื่ออะไร เพื่ออะไรจริงๆ หรือ คำตอบคือ เพื่อความรอดของทุกคนจริงๆ

• ดังนั้น ผลตามมาที่พึงไตร่ตรองวันนี้คือ
o พี่น้องที่มีครอบครัว ก็น่ารักที่สุด จงเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคนในครอบครัวและในวงญาติมิตรทั้งหมายและพี่น้องรอบข้าง
o บรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช และผู้ถวายตนในรูปแบบต่างๆ ยิ่งต้องเป็น “ทุกอย่าง” คือ “ให้หมด” Commitment ในชีวิต ให้กับพระศาสนจักร คือ การรับใช้เพื่อการประกาศข่าวดีด้วยวาจาและด้วยชีวิต

• พี่น้องคริสตชนที่รัก เปาโลเปรียบเทียบได้งดงามมากๆ ครับ “ข้าพเจ้าจึงวิ่งแข่งอย่างมีจุดหมาย ข้าพเจ้ามิได้ชกอย่างคนชกลม แต่ข้าพเจ้าเคร่งครัดต่อร่างกายเพื่อบังคับให้ร่างกายอยู่ใต้อำนาจของข้าพเจ้า ด้วยเกรงว่าหลังจากที่ได้เทศน์สอนคนอื่นแล้ว ข้าพเจ้าอาจถูกตัดสิทธิเพราะผิดกติกา”
o เราทุกคน กำลังวิ่งเพื่อการประกาศข่าวดีจริงๆนะครับ วิ่งเต็มที่เต็มกำลังในความรัก...
o ขอให้เรา เคร่งครัดในการบังคบตนเองให้เต็มที่ ให้ซื่อสัตย์ ให้เต็มที่กับความรักต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนพี่น้องของเราเสมอ
o ที่สำคัญ เราต้องอยู่ในกติกาเสมอ กติกาคือการอยู่ในหนทางหรือกรอบแห่งความรักของพระเจ้าเสมออย่าได้ขาดเลยนะครับ...
o ขอพระเจ้าอวยพรทุกคนเสมอนะครับ... ขอพระเจ้าอวยพรให้ทุกท่านได้รัก รับใช้ และมอบตนเป็น “ทาสเพราะความรัก” และ “รับใช้” ด้วยความรักเสมอไปครับ...

 

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2024
วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2024 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 9:26-31) ในเวลานั้น เมื่อเซาโลมาถึงกรุงเยรูซาเล็มแล้ว ก็พยายามเข้าร่วมกับบรรดาศิษย์ แต่ทุกคนกลัวเขา เพราะไม่เชื่อว่าเขาเป็นศิษย์ที่แท้จริง บารนาบัสจึงพาเขาไปพบบรรดาอัครสาวก และเล่าให้ฟังว่าเซาโลได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าระหว่างทาง พระองค์ได้ตรัสกับเขาและเขาได้เทศน์สอนอย่างกล้าหาญที่เมืองดามัสกัส เดชะพระนามของพระเยซูเจ้า นับตั้งแต่นั้น เซาโลจึงอยู่กับบรรดาศิษย์ ไปมาในกรุงเยรูซาเล็มอย่างอิสระ เทศน์สอนอย่างกล้าหาญ เดชะพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า เขาพูดและโต้เถียงกับชาวยิวที่พูดภาษากรีก แต่คนเหล่านี้พยายามจะฆ่าเขา...
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 13:44-52) วันสับบาโตต่อมา...
วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 13:26-33) ในครั้งนั้น...
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2024 ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสารบทอ่านจากจดหมายนักบุญเปโตรอัครสาวก ฉบับที่หนึ่ง (1ปต 5:5ข-14) ท่านที่รักทั้งหลาย...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์