“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม 2014
สัปดาห์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา
(อารักขเทวดา หรือทูตสวรรค์รักษาตัว)
ยบ 19:21-27……………..21
จงสงสารข้าพเจ้าเถิด เพื่อนเอ๋ย จงสงสารเถิด
เพราะพระหัตถ์ของพระเจ้าได้ตีข้าพเจ้า
22ทำไมท่านทั้งหลายจึงเบียดเบียนข้าพเจ้า
เหมือนกับที่พระเจ้าทรงกระทำเล่า
ท่านทำร้ายเนื้อหนังของข้าพเจ้ายังไม่พออีกหรือ
23ข้าพเจ้าอยากให้ถ้อยคำของข้าพเจ้าถูกบันทึกไว้
อยากให้จารึกไว้ในหนังสือ
24อยากให้ใช้สิ่วเหล็กและตะกั่ว
สลักไว้บนหินให้คงอยู่ตลอดไป
25ส่วนข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารู้ว่าพระผู้ปกป้อง ข้าพเจ้าทรงพระชนม์อยู่
จะทรงลุกขึ้นยืนเป็นคนสุดท้ายบนฝุ่นดิน
26เมื่อหนังของข้าพเจ้าถูกทำลาย และไม่มีร่างกายอีกแล้ว
ข้าพเจ้าจะเห็นพระเจ้า
27ข้าพเจ้าจะเห็นพระองค์อยู่เคียงข้าง
นัยน์ตาของข้าพเจ้าจะแลเห็นพระองค์ไม่ใช่อย่างคนแปลกหน้า
ข้าพเจ้ารู้สึกมีความมั่นใจเช่นนี้

อรรถาธิบายและไตร่ตรอง

• “ใครที่ไม่เคยเจ็บป่วยมากๆหรือล้มหมอนนอนโรงพยาบาล หรือต้องผ่าตัดใหญ่ๆ มีความหวังน้อยๆ ไม่เข้าใจหรอ... ไม่เคยเจ็บก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน...” 


• การอภิบาลเยี่ยมเยียนผู้ป่วยไม่ง่ายเลย บ่อยครั้งเมื่อมีความเจ็บป่วยหรือที่มักจะเอ่ยเรียกกันแบบไทยๆจนติดว่าโชค ร้ายทางร่างกายเกิดขึ้นกับพี่น้องที่รักของเรา คนที่เรารักจริงๆ ทุกคนที่รักก็วิตกกังวล เป็นห่วงและอยากไปเยี่ยม... สงสัยวันนี้พ่อต้องเอาประสบการณ์ของพ่อมาเปิดเผยเสียแล้วล่ะครับ....

• ตอนเด็กๆพ่อชอบโรงพยาบาลมาก ชอบไปโรงพยาบาล ชอบเที่ยวโรงพยาบาล


• เวลาที่คุณยายของพ่อป่วยนอนโรงพยาบาลเป็นเดือนๆ ที่โรงพยาบาลตำรวจ ยายได้ห้องใหญ่จำได้แม่น เขาเขียนป้ายหน้าห้องว่า “ห้องแสงอุไร” นี่คงสี่สิบปีมาแล้ว... และมีที่สำหรับญาติๆ ป้าๆ แม่ๆ ที่เป็นลูกของยายก็มารวมกัน มีที่หุงอาหาร ที่เก็บของเยี่ยม ที่นั่งพูดคุย ส่วนยายก็มีห้องนอนคนเจ็บอยู่ข้างใน ส่วนพวกพ่อหลานก็มาเยี่ยมกัน 


• พ่อก็ได้เข้ามากรุงเทพฯก็โอกาสที่ยายป่วยนี่แหละ มาก็ไม่ได้ทำอะไรนอกจากสวัสดียาย และก็ปักหลักอยู่กับบรรดาอาหารที่แม่ๆป้าๆได้เตรียมกันไว้เปรมปรีด์เลยครับ อาหารดีๆ ทั้งนั้น ขนมเพียบ ผลไม้เยี่ยมยายเรียกว่าเป็นสวนยกมาเลย เพราะยายเป็นแม่ของพ่อบุญเลิศ ธาราฉัตร น้าของพ่อเอง... ยายนอนโรงพยาบาลนานนับเดือนเพราะอุบัติเหตุขาหัก เราก็เที่ยวโรงพยาบาลบ่อย.. วันที่ยายออกจากโรงพยาบาลเราก็เสียดาย อดมาเที่ยวโรงพยาบาลเลย ห้องก็ห้องแอร์ อาหารก็แสนดี... โห... ยายไม่น่าหายป่วยเลย...อ้าว อ้าว อ้าว หลานชายของยาย คิดแบบเด็กๆจริงๆ


• เวลาไปเยี่ยมคนเจ็บหนักที่เกิดโดยไม่คาดคิด คนที่เรารักและเป็นที่รักรู้จักของทุกคน ถ้าป่วยหนักๆหมอมักจะต้องห้ามเยี่ยมกันเลย ไม่อยากให้รบกวนคนเจ็บคนนั้นให้ต้องเหนื่อยกับการเยี่ยม การพูดคุยและที่สำคัญทุกคนที่ไปเยี่ยมก็อยากพูดคุย อยากถามอาการ ถาม ถาม ถาม...

• เอาละเล่าเรื่อของพ่อบางดีกว่า

o สี่ปีที่แล้วพ่อก็ป่วยหนักไม่เคยป่วยมาก่อน ต้องร่อนลงจอดสนิทในโรงพยาบาลนับเดือน ผ่าตัดใหญ่ที่ลำไส้ อย่างเร่งด่วน... 

o ข่าวกระจายออกไปหลายช่องทาง ทางอินเตอร์เน็ต ทาง facebook หลายข่าวก็ประเมินว่าอาการพ่อหนัก อาจไม่รอดแล้วละครับ... อืม 
o และพ่อก็ต้องมีประสบการณ์เข้าห้องผ่าตัดไปอย่างเงียบๆ พูดไม่ออก “เงียบ” ไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้น...ไม่เคยผ่าตัด ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ไม่รู้ว่าจะรอดไหม... 

o วันก่อนผ่าก็ได้แต่เรียกพ่อที่เป็นเพื่อนรักมาหาและนั่งคุยกัน เพื่อนรักก็ซึมเลยไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้น เขาได้แต่เงียบไม่พูด แต่มาอยู่ด้วย มาฟังเราพูด และตอบนานๆ ทีเพื่อให้กำลังใจ แต่ฟังเสียเยอะ... เราก็พูดโน่นพูดนี่ พูดเรื่องอนาคตถ้าผ่าแล้วไม่ฟื้นจะทำอย่างไรบ้าง... พ่อพูดกับพ่อยุทธเรื่องพินัยกรรมทรัพย์สินที่พอมีอยู่นิดหน่อย (ไม่มีหนี้สบายครับ เพราะนักบุญเปาโลสอนไว้ว่า “อย่าเป็นหนี้ใคร นอกจากหนี้ความรัก)

o บอกเพื่อนรัก “ยุทธ ถ้าเกิดอะไรขึ้นจริงๆ ก็ให้จัดการตามพินัยกรรมที่เขียนไว้ ยกให้สังฆมณฑลทั้งหมด...” เพื่อนรักก็บอก “เกียรติ ไม่เป็นอย่างนั้นหรอก ไม่ตายหรอก” พ่อก็ตอบว่า “ไม่รู้ ไม่มีใครรู้ รอบคอบและเตรียมไว้ก่อนก็ดีแล้ว...” 

o มีพี่สาวกับน้องสาวมาอยู่รอส่งเข้าห้องผ้าตัด ทั้งสองคนเงียบๆ และดูเรา รักเรามากแน่ๆ ก็พี่สาวคน(พี่รัง) น้องสาวคนเล็ก (น้องณี) และเขาก็มีน้องชายคนนี้คือพ่อเองที่เป็นพระสงฆ์คนเดียวด้วย พวกเขาฝืนยิ้มให้กำลังใจเรา (เรารู้นะ) เราก็บอกพวกเขาว่า ไม่เป็นไร สวดนะ... 
o เมื่อเราถูกเข็นลับตาเข้าห้องผ่าตัดไป... (หลังจากฟื้นแล้ว เพื่อนรักเล่าให้ฟังว่า พี่สาวกับน้องสาวร้องไห้กันโฮเลย เพียงแต่ไม่อยากร้องให้เราเห็น...) 

o พ่อยุทธเพื่อนรักยังรออยู่อีกเมื่อการผ่าตัดเสร็จ... ครั้นเมื่อเราฟื้นออกจากห้องผ่าตัด เพื่อนยังรอ และเราได้พบกันเมื่อออกมา พ่อรู้ตัวว่าตนเองยังไม่ตาย รอดออกมาจากห้องผ้าตัดที่หายเขาไปหลายชั่วโมง พ่อยุทธยังรออยู่และทักทายกันหน้าห้องผ่าตัดเมื่อเข็นออกมา เจอพ่อยุทธคนแรก... พ่อยกนิ้วโป้งชูให้เห็นว่า “เยี่ยม ยังอยู่” (ตอนนั้นยังไม่เจ็บ ยาชายังไม่หมดฤทธิ์ครับ) 

o อยู่ไอซียู...สองคืน เช้าวันแรก... มองผ่านกระจกห้องไอซียู...ขบวนแห่เยี่ยมเริ่มแต่เช้า...พี่สาวที่เป็นญาติ เป็นซิสเตอร์เป็นคนแรกที่เข้ามาพร้อมกับรูป “พระเมตตา” นั่นคือรูปแรกที่เข้ามาหา... และไม่ได้คุยเพราะเพราะยังเหนื่อยและพี่สาวก็ไม่ได้พูดกับเราเลยนอกจากจับ มือเราและพูดกับพระเพื่อเรา “พระองค์ เขายังเด็กอยู่เลย...” เหมือนกับจะตัดพ้อพระองค์ว่า “ทำไม” แอบได้ยินและดีใจกับสัมผัสมือและเสียงที่ภาวนาให้เรา.... ลูกผู้พี่ของเราเป็นซิสเตอร์ ตัวเราผู้น้องเป็นพระสงฆ์ มาพบกันเงียบๆในไอซียู ไม่มีคำพูดมีแต่รอยยิ้ม จับมือน้อง น้องจับมือพี่ และภาวนา พ่อน้องก็ได้แต่ยิ้ม และสัมผัสได้ถึงความรัก... อบอุ่นดีครับ... 

o ตกสาย ขบวนเยี่ยมเช้าจรดเย็น ไอซียูหัวกระไดไม่แห้ง (ไม่มีกระไดแต่จินตนาการตามภาษาพาไป) คนมาเยอะเหลือเกิน เข้ามาข้างในห้องกระจกบ้าง ยืนอยู่นอกห้องกระจกมาก (เราก็ดังเหมือนกันนิมีคนมาเยี่ยมเยอะเหมือนกัน...555 อันที่จริงเพราะพวกเขาเขาคิดว่าเป็นโอกาสสุดท้าย)

o มีคนรู้จักมาทั้งวันเช้าจรดเย็น พ่อเปิดตาดูและต้องคุยสำหรับหลายคนทั้งวัน เพราะข่าวทางเฟสบุคออกไปไกล บางกระแสก็พูดกันออกไป พูดกันเองว่าพ่อจะไม่รอด อาการหนัก เลยมาเยี่ยมกันเยอะ มาเป็นบุคคล คณะบุคคล ครอบครัว กลุ่มก้อน ฯลฯ พ่อจำได้ว่า ไอซียูวันนั้น มีคนมาเยี่ยมนับร้อยเลยครับ... 

o บางคนมาแล้วก็ไม่กล้าขึ้นมาเพราะ “สงสาร” กลัวพ่อเหนื่อย แต่หลายคนก็อยากเห็นหน้าเพราะเกรงจะเป็นครั้งสุดท้าย... เยี่ยมจนพ่อโทรมเลยครับ... เลยต้องนอนไอซียูต่ออีกคืน...ใครมาเราก็อยากคุย อยากคุย แต่ไม่มีเสียงจะพูดนัก... แต่บางคนมาก็คุยกัน วิเคราะห์ด้วยความห่วงใหญ่ ช่วยกันหาวิธี เสนอวิธีรักษา ต้องโน่น ต้องนี่ สารพัดวิธี มีบางรายมายืนเถียงกันคอเป็นเอ็นว่าจะรักษาอย่างไร ต้องทำอย่างไร... 

o เพราะรักเราเหลือเกิน เสนอวิธีรักษาและของกินที่เป็นยา แต่ความคิดต่างกันไปบ้าง บางคนก็มาเถียงกันอยู่ข้างเตียงนานสองนาน... อ้าวนี่มาเยี่ยมเราหรือเปล่า...ยืนคนละฝั่งเตียงเรา เรานอนจมอยู่ตรงกลาง สองข้างคุยกัน เถียงกัน เรื่อง “หวังดี” ทั้งสิ้น... เรานอนปิดตาเหนื่อย ไล่ก็ไม่ได้ไม่มีแรงและก็เกรงใจ จะอะไรกันนัก ความห่วงเราก่อเป็นทฤษฎีที่ขัดแย้งได้อย่างไร ดีนะที่ไม่รุนแรงจนถึงกระโดดข้ามเตียงเรามาปล่อยหมัดลงมือกัน (พูดเล่นนะครับ เขียนให้เห็นอารมณ์ขันของการเยี่ยมเยียนนะครับ) 

o สรุปไม่ได้ฟังเราเลย ไม่ได้ฟังเราเลย... ปวดแผลนะ ปวดมาก แต่หูยังได้ยินเต็มๆ หูไม่ได้เป็นอะไรนะครับ... ตาก็แลเห็นชัดครับ..

• เอาละครับ วันนี้ยอมเล่าเรื่องของตัวเองในยามป่วยนั้น ยอมวางประสบการณ์ของตนเองลงอีกครั้งอย่างดูสนุกสนาน แต่ยามป่วยจริงๆนั้นชีวิตคนเราไม่สนุกเลยนะครับ


• พี่น้องที่รักครับ คนที่เจ็บหรือป่วยหนักๆ น่าสงสารนะครับ เขาต้องทนกับตนเองที่เจ็บและไม่สามารถจะถ่ายทอดออกมาได้มากนัก เขาอยากให้คนมาเยี่ยมได้ "ฟัง“ เขามีหลายอย่างจะพูด เขาอยากให้คนมาเยียมอยู่กับเขานาน (อยู่เงียบๆ) เพราะการอยู่คือ “ความรัก” จับมือ สัมผัส สามารถเยียวยาได้ ขอให้มาให้เห็น ไม่ต้องพูดแต่ขอให้ฟัง นั่นคือเทคนิคที่ดีเพื่อการเยี่ยมเยียน คนเจ็บถ้าเพียงได้รับรู้ว่าคนที่รักเขามาเยี่ยม


• ความรัก ความรัก ความรัก คือ เหตุผลของการเยี่ยมเยียน “ความรัก ชนะทุกสิ่งรวมทั้งความเจ็บปวด” คนที่รักกันจริงๆ มีความสุขนั้น ไม่ได้อยู่ที่พูดกันเยอะๆ แต่อยู่ที่ได้อยู่ใกล้กันมากๆ “อยู่นานๆ ได้ไหม.... พ่ออยากจะต่อว่า และก็พูดน้อยๆ ได้ไหม”

• หนังสือโยบโดยตลอดเรื่องราว 42 บท ยาวมากๆของพระคัมภีร์ที่เล่าเรื่องความเจ็บป่วยของโยบก็แบบนี้ครับ

o เพื่อนของโยบสามคนที่มาเยี่ยมโยบ... พวกเขาทั้งสามคนก็เริ่มพูดๆๆๆ กันไม่หยุด และพูดให้โยบยอมจำนนกับเหตุผล... เถียงกันตามที่พระคัมภีร์โยบบันทึกไว้รวมแล้วเกือบสามสิบบทที่เป็นการสนทนา พูดโต้ตอบกัน... 

o จนโยบต้องตอบด้วยร่างกายที่มีฝีเต็มตัวและนั่งบนกองขี้เถ้าเพราะเยิ้มไปทั้ง ตัว... ราวกับตัดพ้อว่า... โห เพื่อนๆ ก็มากเยี่ยมกันแรงจัง... แต่ละคนพูดหาเหตุผลให้โยบยอมจำนนกับบาปและความผิดหรืออย่าใดอย่างหนึ่ง หรือยอมรับเหตุผลสักอย่างที่ต้องเจ็บป่วยขนาดนั้น...

o ทั้งสามคนที่เป็นเพื่อนของโยบ คือ บิลดัด โศฟาร์ และเอลีฟัส รวมทั้งบทที่ 32-37 ยังมีเอลีฮูเจ้าหนุ่มน้อยอีกคนที่ก็พูดใส่โยบ ใส่เพื่อนๆ โยบด้วย... 
o จนโยบต้องพูดว่า “สงสารกันบ้างเถอะเพื่อน”... อ่านพระคัมภีร์ตอนนี้นะครับ โยบโอดควรญเลย.. อ่านดีๆและจะได้ซึมซับกับสัจธรรมของความเจ็บป่วย และความพยายามสรรหาคำตอบหรือคำอธิบายของมนุษย์ และดังนั้น พี่น้องครับ... เวลาที่เราไปเยี่ยมคนเจ็บ... เราต้องฟังครับ ฟังมากๆ และ อยู่เงียบๆ ด้วยความรัก อยู่กับเขานานๆ

• สุดท้ายของวันนี้... หนังสือโยบมีเพื่อนสามคนที่พูดเยอะ มีเอลีฮูก็ไม่แพ้กัน


• แต่ แต่ แต่ แต่ แต่ แต่ แต่ (ใส่ให้เจ็ดแต่เลยครับ เลข 7 เป็นเลขสมบูรณ์ในพระคัมภีร์)


• คือว่า...

o แต่มีผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในฉากเรื่องราวของโยบตั้งแต่ต้น 

o อยู่โดยตลอด

o เงียบ ไม่พูดเลยจนถึงบทที่ 38 

o ทรงประทับและรอเงียบอยู่นานที่สุด และทรงประทับอยู่ตลอด 

o ผู้นั้นในหนังสือโยบนี้ คือ “ยาห์เวห์” การประทับอยู่ของพระองค์มีค่าที่สุด....ครับ อ่านเสียงของโยบที่โอดครวญกับเพื่อนที่พูดกับโยบกันหนักมากๆ พูดกันเยอะมากๆสามสิบบทได้ครับ... อ่านและรำพึงไตร่ตรองเงียบๆ... ขอพระเจ้าอวยพรครับ โยบร้อง “เพื่อนเอ๋ย จงสงสารเถิด”


• สิ่งที่หนังสือโยบให้ไว้เป็นวรรณกรรมปรีชาญาณล้ำค่าคือการประทับอยู่ของ พระเจ้า เป็นคำตอบสำหรับความยากลำบากของชีวิตมนุษย์ที่ยากที่สุดที่จะอธิบายคือยาม เจ็บป่วย... ในยามนั้น.. โยบในที่สุดพระเจ้าตรัสกับเขา.. พระองค์อยู่ และดูเหมือนพระองค์เฝ้าดูหรือทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลาครับ... พระองค์ตำหนิเพื่อนๆโยบด้วยที่พูดอธิบายหาเหตุผลมากเกินไป... หนังสือโยบน่าอ่านครับ และเมื่อพระเจ้าตรัส ทุกคนเงียบ.. โยบก็ศิโรราบและยอมรับความจริงว่าตนเองรับรู้ว่า พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่ ประทับอยู่ และทรงแคร์เสมอนี่นา...

 

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2024
วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2024 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 9:26-31) ในเวลานั้น เมื่อเซาโลมาถึงกรุงเยรูซาเล็มแล้ว ก็พยายามเข้าร่วมกับบรรดาศิษย์ แต่ทุกคนกลัวเขา เพราะไม่เชื่อว่าเขาเป็นศิษย์ที่แท้จริง บารนาบัสจึงพาเขาไปพบบรรดาอัครสาวก และเล่าให้ฟังว่าเซาโลได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าระหว่างทาง พระองค์ได้ตรัสกับเขาและเขาได้เทศน์สอนอย่างกล้าหาญที่เมืองดามัสกัส เดชะพระนามของพระเยซูเจ้า นับตั้งแต่นั้น เซาโลจึงอยู่กับบรรดาศิษย์ ไปมาในกรุงเยรูซาเล็มอย่างอิสระ เทศน์สอนอย่างกล้าหาญ เดชะพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า เขาพูดและโต้เถียงกับชาวยิวที่พูดภาษากรีก แต่คนเหล่านี้พยายามจะฆ่าเขา...
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 13:44-52) วันสับบาโตต่อมา...
วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 13:26-33) ในครั้งนั้น...
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2024 ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสารบทอ่านจากจดหมายนักบุญเปโตรอัครสาวก ฉบับที่หนึ่ง (1ปต 5:5ข-14) ท่านที่รักทั้งหลาย...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์