“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2016

สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

คำปราศรัยอำลาอันอ่อนโยน ลึกซึ้งและเปี่ยมด้วยความรักของเปาโลต่อชาวเอเฟซัสที่เราจะได้ฟังในมิสซาสองสามวันจากนี้ต้องอ่านดีๆ สุดยอดของความรักของธรรมทูตเช่นเปาโล พ่ออยากให้อ่านดีๆนะครับ จะเสริมกำลังธรรมทูต ความรักแบบธรรมทูตในหัวใจของเราคริสตชนได้มากที่เดียวครับ อ่านกันก่อนเลย และอ่านต่อเนื่องไปอีกสองวันในบทอ่านประจำวันในมิสซาดีๆครับต้องอ่านจนจบข้อ 35 เลยครับ แต่วันนี้อ่านจากข้อ 17-27 ก่อนนะครับ และติดตามในวันต่อไป แต่บทนำพ่อจะให้อรรถาธิบายถึงโดยตลอดเลยครับ

กจ 20:17-27
เปาโลอำลาบรรดาผู้อาวุโสแห่งเมืองเอเฟซัส
17เปาโลส่งคนจากเมืองมิเลทัสไปยังเมืองเอเฟซัส เพื่อเชิญบรรดาผู้อาวุโสของพระศาสนจักรมาพบ 18เมื่อเขาเหล่านั้นมาถึง เปาโลพูดว่า “ท่านทั้งหลายรู้ว่า ตลอดเวลาตั้งแต่วันแรกที่ข้าพเจ้าเข้ามาในแคว้นอาเชีย ข้าพเจ้าปฏิบัติตนต่อท่านอย่างไร 19ข้าพเจ้ารับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยความถ่อมตนอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องร่ำไห้เป็นทุกข์และเสี่ยงชีวิตจากการที่ชาวยิววางแผนปองร้ายข้าพเจ้า 20ท่านทั้งหลายรู้ว่า ข้าพเจ้าไม่เคยละเลยสิ่งใดที่เป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่เคยหยุดเทศน์และสอนท่านในที่สาธารณะและตามบ้าน 21ข้าพเจ้าเชิญชวนทั้งชาวยิวและชาวกรีกอย่างแข็งขันให้กลับใจมาหาพระเจ้าและให้มีความเชื่อในพระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา
22บัดนี้ ข้าพเจ้ากำลังจะไปกรุงเยรูซาเล็มตามพระบัญชาของพระจิตเจ้า ไม่รู้ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นกับข้าพเจ้า 23ข้าพเจ้ารู้เพียงว่า พระจิตเจ้าทรงเตือนข้าพเจ้าในทุก ๆ เมืองว่า โซ่ตรวนและความยากลำบากกำลังรอข้าพเจ้าอยู่ 24แต่ข้าพเจ้าไม่คิดว่าชีวิตของข้าพเจ้ามีค่า สำหรับข้าพเจ้าเท่ากับการที่ข้าพเจ้าได้วิ่งถึงปลายทางและทำให้ภารกิจที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากพระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้า สำเร็จไป คือการเป็นพยานประกาศข่าวดีแห่งพระหรรษทานของพระเจ้า
25ข้าพเจ้าผ่านมาประกาศพระอาณาจักรแก่ท่านทั้งหลาย บัดนี้ ข้าพเจ้ารู้ว่า ท่านทุกคนจะไม่เห็นหน้าข้าพเจ้าอีก 26ดังนั้น วันนี้ข้าพเจ้าขอประกาศยืนยันแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านผู้ใดไม่รอดพ้น ข้าพเจ้าก็ไม่รับผิดชอบ 27เพราะข้าพเจ้าไม่ได้ละเลยที่จะประกาศพระประสงค์ทั้งหมดของพระเจ้าแก่ท่าน

อรรถาธิบายและไตร่ตรอง
• นี่เป็นคำปราศรัยสำคัญครั้งที่สามของเปาโลใน กจ
o คำปราศรัยครั้งแรก (บทที่ 13) เป็นตัวอย่างของการเทศน์สอนแก่ชาวยิว
o คำปราศรัยครั้งที่สอง (บทที่ 17) เป็นการเทศน์สอนแก่คนต่างศาสนา
o คำปราศรัยครั้งที่สามนี้ (ข้อ 18-35) เป็นเหมือนพินัยกรรมของผู้อภิบาลที่กำลังจากไป เปรียบเทียบกับ 1 ซมอ 12:2-5 รายละเอียดหลายประการของคำปราศรัยครั้งที่สามนี้พบได้ในจดหมายต่าง ๆ ของเปาโล มีลีลาคล้ายกับจดหมายเกี่ยวกับงานอภิบาล คำปราศรัยนี้ในโครงสร้างดังต่อไปนี้
1. ข้อ 18-21 กล่าวถึงงานธรรมทูตของเปาโลในแคว้นเอเซีย
2. ข้อ 22-27 เปาโลกล่าวถึงการจากไปของตนและดูเหมือนจะทราบล่วงหน้าว่าจะต้องตาย
3. ข้อ 28-34 เปาโลเตือนบรรดาผู้อาวุโสของเมืองเอเฟซัส (และผู้อภิบาลพระศาสนจักรทุกแห่ง) ให้ดูแลคริสตชนในปกครองด้วยความระมัดระวัง
4. ข้อ 33-35 เปาโลเตือนผู้อาวุโสให้เสียสละและมีความรัก ตลอดคำปราศรัยเปาโลเตือนผู้ฟังให้เอาอย่างตน เพราะฉะนั้นคำปราศรัยนี้จึงแสดงภาพแท้จริงของเปาโลอย่างชัดเจน

• ในคำปราศรัยอำลานี้เราได้พบบุคลิกอ่อนโยน ความร้อนรน และความรักต่อพระวาจา และความพร้อมจะรักจนถึงที่สุดของเปาโลครับ เรามาศึกษาไตร่ตรองกันครับ

• “ท่านทั้งหลายรู้ว่า ตลอดเวลาตั้งแต่วันแรกที่ข้าพเจ้าเข้ามาในแคว้นอาเชีย ข้าพเจ้าปฏิบัติตนต่อท่านอย่างไร...
1. “ข้าพเจ้ารับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยความถ่อมตนอย่างยิ่ง” พ่ออ่านข้อความนี้แล้วพ่อรู้สึกว่า “ความถ่อมตน” เป็นเครื่องหมายงดงามมากของการรับใช้จริงๆ ความถ่อมตนเป็นลักษณะของเปาโลเพื่อที่จะรับใช้พระเจ้า พ่อคิดว่าเราต้องเรียนรู้จริงๆและปฏิบัติด้วยหัวใจแท้จริงในเรื่อง ความถ่อมตนของเราคริสตชน คนที่ถ่อมตนกับคนอื่นๆ งดงามเสมอ อ่อนโยนถ่อมตนไม่ใช่หงอหรืออ่อนแอ แต่ทว่า รู้จริง รักจริงๆ และปฏิบัติความจริงด้วยความรู้และยอมรับจริงๆว่า เหนือชีวิตและกิจการของเรา เรามีพระเจ้าสูงสุดทรงประทับ อวยพร และทรงช่วยเหลือเกื้อกูลเรา ปกติเปาโลเป็นคนร้อนรนมาก ดุดันด้วย เอาจริงๆแบบสุดๆ ด้วย แต่ท่านเมื่อได้พบพระคริสตเจ้า ท่านร้อนรนเหมือนเดิม อันที่จริง ยิ่งกว่าเดิม แต่เติมเต็มด้วยพระเจ้าในชีวิตของท่าน... จนท่านถ่อมตนจริงๆ ให้กับพระเจ้า พ่อคิดว่าเราคริสนชนควรเป็นคน “ถ่อมตน” เสมอ เราจะน่ารักและสมกับเป็นลูกของพระเจ้าจริงๆ

2. “ข้าพเจ้าต้องร่ำไห้เป็นทุกข์ และเสี่ยงชีวิตจากการที่ชาวยิววางแผนปองร้ายข้าพเจ้า” เปาโลก็เป็นยิว เป็นยิวที่เคร่งครัดในรูปแบบฟาริสีด้วย เมื่อท่านพบพระคริสตเจ้า เท่ารู้จักความจริง ความจริงทำให้ท่านเองถูกเบียดเบียนและป้องร้าย แต่สำหรับ การร่ำไห้เพราะความรักของพระคริสตเจ้านั้น ดูเหมือนเป็นความภูมิใจที่ได้รักพระองค์ ที่ได้รู้จักพระองค์ และอดทนเพื่อพระองค์ แม้การเบียดเบียนจะมาจากเพื่อนพี่น้องชาวยิวของตน... พี่น้องที่รักครับ พ่อคิดว่า ไม่แปลกนะครับ ถ้าเราจะถูกเบียดเบียนบ้างจากเพื่อนพี่น้องของเรา จากญาติมิตรของเรา เพราะเรารักความจริง เรารักความดี เราเลือกสิ่งที่ถูกต้องมากกว่าประชานิยมหรือเอาใจประชาชน... ความถูกต้อง ความดี งดงามเสมอ และถ้าแม้นเราถูกเบียดเบียนเพราะความรักต่อความจริง... พระเยซูเจ้าตรัสไว้ชัดเจน “ความจริงจะทำให้ท่านเป็นอิสระ” (ยน 8:32) ดังนั้น เชื่อเถอะครับ รักเถอะครับ แม้จะต้องเสียน้ำตาบ้างจากการไม่พอใจหรือเบียดเบียน แต่น้ำตาเป็นน้ำตาแห่งความรักมีค่ามาก นำความสุขใจแก่เรามากเสมอๆ

3. “ข้าพเจ้าไม่เคยละเลยสิ่งใดที่เป็นประโยชน์แก่ท่าน” เปาโลมีลักษณะที่น่ารักมากคือ “ใส่ใจ” เพื่อ “ประโยชน์แก่ทุกคน” เรื่องนี้ขาดแคลนมากในสังคมปัจจุบันเพราะ “ผีแห่ความเห็นแก่ตัว” แต่พระเยซูเจ้าสอนเราด้วยพระฉบับของพระองค์ เปาโลกล้าคิดและไม่ละเลยเพื่อประโยชน์แก่ชาวเอเฟซัส พ่อคิดว่า พวกเราคริสตชนต้องเป็นคนแรกๆเสมอที่กระทำ คิด และจริงจังเพื่อ “ความดีส่วนรวม” (Common Good) จะมีอะไรงดงามไปกว่านี้ครับ พี่น้องที่รัก อย่าเห็นแก่ตัว แต่เห็นแก่ส่วนรวมมากๆ นะครับ คิดถึงคนอื่นๆให้มากๆเข้าไว้ สังคมปัจจุบันบาดเจ็บเพราะความเห็นแก่ตัว ความโลภมามากพอแล้วครับ ถ้าไม่ใช่เราคริสตชนจะลงไปเติมเต็มแล้วจะเป็นใคร... ลงมือนะครับ ปฏิบัติด้วยความรักและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมให้มากที่สุด “รักให้มากที่สุด” นั่นคือ “คริสตชน”ครับ คือรักคนอื่นๆเหมือนรักตนเองนะครับ ถ้ารักแต่ตนเอง เห็นแก่ตัวมากๆ ชาติก็ล่มสลายได้เหมือนกันนะครับ... เราต้องไม่เป็นเช่นนั้นเลยนะครับ
4. “ไม่เคยหยุดเทศน์และสอนท่านในที่สาธารณะและตามบ้าน” พ่อทึ่งและชอบนิสัยนี้ของเปาโลมากๆ ไม่หยุดเทศน์และสอน พลังของพระวาจาของพระเจ้า พลังของการกลับใจของเปาโลคือความเร่าร้อนที่ไม่รู้จบ ไม่สิ้นสุด อยากประกาศพระวาจา อยากประกาศเพราะได้รู้จักพระเยซู เพราะรักพระเยซู เปาโลไม่หยุดเลย ทุกโอกาส เรียกว่า ทั้งเวลาที่เหมาะและเวลาที่แม้ไม่เหมาะ คือ ไม่ละโอกาสประกาศพระวาจาของพระเจ้า “เทศน์สอน” พ่อชอบตรงนี้จังครับ ในเมื่อพระสันตะปาปาฟรังซิสเรียกร้องเราคริสตชนให้ออกไปสู่การประกาศพระวรสารในรูปแบบใหม่ ด้วยวิธีการใหม่ New Evangelization พ่อว่าน่าคิดจริง น่าเลียนแบบจริงๆ พ่อเองส่วนตัวก็ประกาศแบบนี้ทุกๆวัน เขียนทุกๆวัน เหนื่อยไหม เบื่อไหม แม้บางวันมีอุปสรรค มีเวลาที่ไม่เหมาะมากๆ แต่ก็ไม่รู้ทำไม... การประกาศ การเขียนบทเทศน์ก็เป็นเวลาแห่งความสุขของพ่อเหมือนกัน ถ้าไม่เขียนก็คงรู้สึกขาดบางอย่าง นิ้วก็ชา มือก็ชา พิมพ์ทุกวันก็สุดๆเหมือนกัน แต่ก็กล่าวได้ว่า “รัก” ทำให้สามารถจริงๆกับพระวาจาของพระเจ้าในการเขียนแบบนี้ทุกวันหลายปีแล้ว

5. “ข้าพเจ้าเชิญชวนทั้งชาวยิวและชาวกรีกอย่างแข็งขันให้กลับใจมาหาพระเจ้าและให้มีความเชื่อในพระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา” เปาโลเชิญชวนให้กลับใจ ให้มารักพระเยซู ให้มาหาพระเยซู ประกาศความเชื่อในพระเยซู บางทีเรื่องนี้อาจเป็นจุดอ่อนของเราคริสตชนคาทอลิก และพ่อเองบ่อยครั้งก็บกพร่องในเรื่องนี้ คือ ขาดความร้อนรนในการเชิญชวนให้คนอื่นได้มารู้จักพระเยซูเจ้า ให้กลับใจมารับความเชื่อ.. แต่พ่อก็เชื่อใน “ประจักษ์พยานชีวิตมากกว่าคำสอน” แต่อย่างไรก็ตามจริงๆแล้ว พ่อต้องยอมรับว่า พ่อก็อ่อนเกินไปเหมือนกันที่จะเชิญชวน และรับผิดชอบ ติดตาม ประกาศ ให้คนที่พ่อรู้จักได้มารัก มาเป็นลูกของพระเจ้าโดยศีลล้างบาป... พ่อคงต้องเลียนแบบเปาโลมากขึ้นอีกครับ ให้เรา “กล้าหาญ” มากขึ้นกว่าที่เคยนะครับ พระสันตะปาปาฟรังซิสก็ได้ย้ำสอนไว้ชัดเจน “เราต้องกล้า” กล้าออกไปประกาศข่าวดีให้มากกว่าเดิม

• อ่านจากทั้งห้าประการที่พ่อได้ทบทวนดีๆจากคำปราศรัยของเปาโลแล้วพ่อรู้สึกปลื้มใจจริงๆ ในการที่เราต้องดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของท่าน พ่อเขียนอรรถาธิบายมาทั้งห้าข้อ พ่อก็พบว่า พ่อเองต้องพยายามต่อไปที่จะเติบโตในการเป็นคริสตชนที่มีความกล้าหาญ

• สอดรับกับคำสอนของพระสันตะปาปาฟรังซิสของเราจริง ในคำสอนเตือนใจสมาชิกของพระศาสนจักร....
o ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร เติมเต็มจิตใจและชีวิตทั้งชีวิตของบรรดาผู้ที่พบพระเยซูเจ้า บรรดาผู้ที่ยอมให้พระองค์เป็นพระผู้ช่วยให้รอด ย่อมเป็นอิสระจากบาป ความโศกเศร้า ความว่างเปล่าภายในจิตใจ และความโดดเดี่ยว ความชื่นชมยินดีนี้บังเกิดขึ้น และเกิดขึ้นใหม่เสมอพร้อมกับพระเยซูเจ้า ในพระสมณสาสน์ พระดำรัสเตือนนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาเขียนถึงบรรดาคริสตชนผู้ซื่อสัตย์ เพื่อเชื้อเชิญทุกคนเข้าสู่ขั้นตอนการประกาศพระวรสารครั้งใหม่ ซึ่งเน้นถึงความชื่นชมยินดี และแสวงหาหนทางการก้าวเดินของพระศาสนจักรในอนาคต (EG 1)

• พี่น้องที่รัก ขอพระเจ้าเติมพลังแห่งประสบการณ์และความกล้าหาญในการประกาศข่าวดีให้แก่เราทุกคนที่ได้รับศีลล้างบาป พ่อคิดว่าสิ่งที่เราเรียนรู้จากเปาโลได้ดีมากคือ อ่อนโยนมาก รักมาก แต่ไม่อ่อนแอเลยครับ... พระสันตะปาปาก็เรียกร้องเราในเรื่อง “ความอ่อนโยน” ครับ พระองค์เน้นสองครั้งในคำสอนเตือนใจ Evagngelii Gaudium
o พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเร่งรัดคริสตชน “เราพระศาสนจักรต้องเป็นเครื่องหมายแห่งความหวังให้จงได้ อย่าอ่อนกำลัง อย่ายอมแพ้” (เทียบ EG 86) “ที่สำคัญ ต้องนำการปฏิรูปความอ่อนโยนของพระศาสนจักรสุดกำลัง” (เทียบ EG 88)
o พระสมณสาสน์เตือนฉบับนี้ สรุปลงด้วยคำภาวนาต่อพระแม่มารีย์ พระมารดาแห่งการประกาศพระวรสาร พระสันตะปาปาทรงเน้นว่า “พระศาสนจักรในงานประกาศข่าวดีมีลักษณะเลียนแบบพระแม่มารีย์ ยิ่งเมื่อเราพิศเพ่งพระมารดามารีย์จริงๆ อยู่เสมอ เราก็กำลังก้าวมาสู่ความเชื่อถึงธรรมชาติของการปฏิวัติเรื่องความรักและความอ่อนโยนจริงๆได้แน่นอน” (เทียบ EG 288)

• ขอพระเจ้าอวยพรทุกท่านให้อ่อนโยนเหมือนท่านนักบุญเปาโลในการประกาศข่าวดีอย่างพิเศษนะครับ

 

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2024
วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2024 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 17:15, 22-18:1) เวลานั้น เพื่อนร่วมทางพาเปาโลไปถึงกรุงเอเธนส์ แล้วเดินทางกลับพร้อมกับคำสั่งของเปาโล ให้สิลาสและทิโมธีรีบเดินทางไปสมทบโดยเร็วที่สุด เปาโลยืนอยู่ตรงกลางที่ประชุมอภิรัฐสภาพูดว่า “ชาวเอเธนส์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าพบว่าท่านมีความเลื่อมใสในศาสนามากจริงๆ เมื่อข้าพเจ้าเดินชมเมืองสังเกตเห็นปูชนียวัตถุต่างๆ ของท่าน พบแท่นบูชาแท่นหนึ่งมีคำจารึกว่า “แด่พระเจ้าที่เราไม่รู้จัก” ข้าพเจ้ามาประกาศให้ท่านรู้จักพระเจ้าองค์นี้ที่ท่านเคารพ ทั้งๆ ที่ท่านไม่รู้จัก พระองค์คือพระเจ้าผู้ทรงสร้างโลก...
วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2024 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 16:22-34) เวลานั้น...
วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม 2024 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 16:11-15) เวลานั้น...
วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2024 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 10:25-26, 34-35,...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (2)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (2) - ครั้นเข้าไปภายในพระคูหา...
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์