"เราประกาศให้ท่านรู้ถึงสิ่งที่เราได้เห็น" (1ยน. 1:3)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันพุธที่ 15 มีนาคม 2017
สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต
มธ 20:17-28…
17พระเยซูเจ้ากำลังเสด็จขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม พระองค์ทรงพาเฉพาะอัครสาวกสิบสองคนออกไป แล้วตรัสแก่เขาขณะเดินทางว่า 18“บัดนี้ พวกเรากำลังขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม บุตรแห่งมนุษย์จะถูกมอบแก่บรรดาหัวหน้าสมณะและบรรดาธรรมาจารย์ เขาจะถูกตัดสินประหารชีวิต

19และจะถูกมอบให้คนต่างชาติสบประมาทเยาะเย้ย โบยตีและนำไปตรึงกางเขน แต่วันที่สามบุตรแห่งมนุษย์จะกลับคืนชีพ”
20มารดาของบุตรเศเบดีเข้ามาเฝ้าพระองค์พร้อมกับบุตร นางกราบลงทูลขอสิ่งหนึ่งจากพระองค์ 21พระองค์จึงตรัสถามนางว่า “ท่านต้องการอะไร” นางทูลว่า “ขอพระองค์ทรงอนุญาตให้บุตรทั้งสองคนของข้าพเจ้า นั่งข้างขวาคนหนึ่ง นั่งข้างซ้ายคนหนึ่งในพระอาณาจักรของพระองค์” 22พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านไม่รู้ว่ากำลังขออะไร ท่านดื่มถ้วยซึ่งเราจะดื่มได้หรือไม่” เขาทั้งสองทูลตอบว่า “ได้ พระเจ้าข้า” 23พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านจะดื่มถ้วยของเรา แต่การที่จะนั่งข้างขวาหรือข้างซ้ายของเรานั้นไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะให้ แต่สงวนไว้สำหรับผู้ที่พระบิดาของเราทรงจัดเตรียมไว้”

24เมื่อได้ยินดังนั้น อัครสาวกอีกสิบคนรู้สึกโกรธพี่น้องสองคนนั้น 25พระเยซูเจ้าจึงทรงเรียกทุกคนมาพบ ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายย่อมรู้ว่าคนต่างชาติที่เป็นหัวหน้า ย่อมเป็นเจ้านายเหนือผู้อื่น และผู้ใหญ่ย่อมใช้อำนาจบังคับ 26แต่ท่านทั้งหลายไม่ควรเป็นเช่นนั้น ผู้ที่ปรารถนาจะเป็นใหญ่ จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น 27และผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นคนที่หนึ่งในบรรดาท่านทั้งหลาย ก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ 28เหมือนกับที่บุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่ เพื่อมวลมนุษย์”

อรรถาธิบายและไตร่ตรอง
• พระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็ม กำลังขึ้นไป... ความหมายคืออะไรจริงๆ สำหรับพระเยซู และสำหรับบรรดาศิษย์ มีความเข้าใจแตกต่างกันแบบที่เราน่าจะเข้าใจและจับตามองดูสักนิด พ่ออยากชี้สองประเด็นที่แตกต่างทางเจตนาและเป้าหมายครับ

• “บรรดาศิษย์กำลังเดินทาง....พระเยซูเจ้าเสด็จนำเขาไป” สังเกตความชัดเจน และความเข้มข้นของการติดตามพระเยซูเจ้า บรรดาศิษย์ติดตาม และมาระโกเน้นว่า พระองค์เสด็จนำเขาไป

• “ขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม”
o สังเกตว่า พระองค์เสด็จมาจากทางเหนือ จากกาลิลีไปเยรูซาเล็ม ถ้าอ่านตามภูมิศาสตร์ คงบันทึมัทธิวเข้าใจผิดหรือ หรือว่าท่านไม่รู้จักปาเลสไตน์ดีเท่าที่ควร แต่ความจริง คำว่า “เสด็จขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็ม” ที่นี่แสดงให้เห็นไม่ใช่ความหมายทางภูมิศาสตร์
o แต่เป็นเทววิทยาเกี่ยวกับเยรูซาแล็ม เพราะที่ตั้งพระวิหาร ดังนั้นเป็นที่ประทับของพระเจ้า “ภูเขาศิโยน” บริบทที่ใช้จึงแสดงออกซึ่งความเคารพเสมอและยกให้เป็นที่สูงเสมอ
• ความต่างกันของเจตนาอย่างที่พ่อบอก พระเยซูเจ้าขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่ออะไร และบรรดาศิษย์เข้าใจอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ อาจมีความเข้าใจแตกต่างกันสองระดับ
o พระเยซูเจ้า มุ่งไปสู่หนทางแห่งกางเขน พระคริสตเจ้าที่ต้องรับทรมาน พระองค์มุ่งไปเพื่อรับความตาย และรู้ว่า บุตรแห่งมนุษย์จะต้องรับทรมาน...
o บรรดาศิษย์ พวกเขาคิดต่างๆ พวกเขาคิดว่าพระองค์และพวกเขากำลังมุ่งไปเพื่อปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เป็นพระแมสซียาห์ พระวรสารนักบุญมาระโกก็บันทึกเรื่องนี้ และมาระโกเน้นถึงความหวาดกลัวของประชาชน..และบรรดาศิษย์ก็ประหลาดใจด้วย... เราคิดไตร่ตรองต่อ...มีเหตุผลที่จะประหลาดใจและกลัว เพราะการเดินขึ้นไปเยรูซาเล็มเป็นกลุ่มชนเช่นนี้ย่อมหมายถึงการกบฏต่อจักรวรรดิโรมัน แต่ที่แน่ๆ พระเยซูเจ้าขึ้นไปเพื่อสิ้นพระชนม์ บรรดาศิษย์ขึ้นไปเพื่อเชื่อและหวังว่า พวกเขาจะได้เป็นใหญ่เป็นโตพร้อมกับพระเยซูเจ้า พวกเขาเชื่อว่า พระองค์จะเป็นกษัตริย์แน่นอน

• พระเยซูเจ้าทรงยืนยันคำสอนเรื่องลักษณะแท้ ๆ ของพระคริสตเจ้า พระคริสต์ที่ต้องรับทรมานนั้นเป็นคำสอนที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ และเป็นเจตนาของพระเยซูเจ้าในพระวรสาร ที่จะอบรมศิษย์ของพระองค์ ให้รับสัจธรรมแห่งความรอดประการนี้ เพื่อ “ผ่านกางเขนสู่แสงสว่าง” (แปร์ ครูแชม อัด ลูแชม) “Per Crucem ad Lucem”
o “สบประมาท เยาะเย้ย ถ่มน้ำลายรด โบยตี และฆ่าเสีย แต่หลังจากนั้นสามวัน พระองค์จะทรงกลับคืนชีพ”
o รายละเอียดเรื่องพระทรมานชัดมากๆ มากที่สุด เป็นการทำนายถึงสิ่งที่จะเกิดกับพระองค์ในวาระสุดท้ายที่เยรูซาเล็ม ซึ่งสิ่งที่ระบุมานี้ล้วนเป็นวิธีปฏิบัติต่อผู้ที่เป็นกบฏต่อจักรวรรดิทั้งสิ้น แต่ข้อสังเกตคือ การทำนายถึงพระทรมานนั้น พระองค์จะทำนายถึงการกลับคืนพระชนมชีพเสมอ ซึ่งนั่นคือมิติที่สูงกว่า แต่บรรดาศิษย์ของพระองค์ไม่เข้าใจ หรือไม่ยอมเข้าใจ แต่ที่แปลกคือทำไมไม่ถามพระองค์ในเรื่องนี้สักที

• ข้อสังเกตที่สำคัญที่สุด การที่มารดาของบุตรเศเบดีสองคนนี้ ยากอบและยอห์นเข้ามาขออภิสิทธิ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะทันที หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงทำนายถึงพระทรมานครั้งที่สาม ซึ่งพระองค์ทรงเน้นว่า “เรากำลังขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็ม”
o นั่นหมายความว่า ศิษย์ของพระเยซูเจ้าเข้าใจการเข้าเยรูซาเล็มของพระองค์นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับที่พระเยซูเจ้าทรงเข้าใจ
o การเข้ามาขอของของมารดา (มาระโกบันทึกว่าเขาทั้งสองเข้ามาขอด้วยตนเอง เทียบ มก 10:35-40) เขาแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น และเลือกที่จะเข้าใจเฉพาะความรุ่งโรจน์ของพระองค์ แม้พระองค์ทรงสอนรหัสธรรมของพระองค์อย่างเปิดเผย แต่บรรดาศิษย์ดูเหมือนไม่เข้าใจเอาเสียเลย
o โดยตลอดดูเหมือนพวกเขายังคงไม่เห็น ไม่รู้ ไม่เข้าใจ พระธรรมล้ำลึกปัสกาของพระองค์ บรรดาศิษย์ของพระองค์ยังคงบอดมืดในความเข้าใจถึงพระองค์นั่นเอง
o กุญแจสำคัญเริ่มชัดเจนว่า ทำไมทั้งสองช่วงของพระวรสารของนักบุญมัทธิวจบเรื่องการเดินทางเข้าเยรูซาเล็มด้วยเรื่องคนตาบอดสองคน... บางทีหมายถึงศิษย์สองคนพี่น้องและคนอื่นๆ ยังบอดมืดในความหมายแห่งการรับทรมานของพระเยซูเจ้า พวกเขาคิดถึงแต่อำนาจบารมีและความคิดจะได้เป็นใหญ่พร้อมกับพระเยซูเจ้า จนได้ลืมความหมายของการเป็นผู้ช่วยให้รอดแท้จริงของพระเยซูเจ้าที่จะต้องผ่านไม้กางเขนและความตาย

• “ยากอบและยอห์น บุตรของเศเบดี” ทั้งสองคนอยู่ในลำดับแรกของลำดับรายชื่อของอัครสาวกทั้ง 12 ของพระเยซูเจ้า (มก 1:16-20) และทั้งสองนี้จะอยู่ร่วมกับเปโตร (รวมเป็นสามคน)บ่อยๆ ในเหตุการณ์สำคัญ (มก 5:37; 9:2; 14:33)

• “ขอคนหนึ่งนั่งข้างขวา อีกคนหนึ่งนั่งข้างซ้ายของพระองค์ในพระอาณาจักรของพระองค์”
o คำขอนี้ทำให้เห็นความเข้าใจของทั้งสองต่อการเสด็จเข้าเยรูซาแล็มของพระเยซูเจ้า และแสดงให้เห็นความโง่เขลา หรือความไม่รู้อย่างแท้จริงถึงความเป็นพระคริสต์ของพระเยซูเจ้า
o พระองค์เสด็จไปเพื่อรับความตายบนไม้กางเขน... แต่พวกเขาคิดว่าพระองค์จะครองบัลลังก์ของกษัตริย์แห่งอิสราเอล และปรารถนาจะได้เป็นใหญ่กับพระองค์

• “ท่านดื่มถ้วยซึ่งเราจะดื่มได้ไหม”
o พระเยซูเจ้าทรงตอบสนองต่อคำขอเพราะความไม่รู้ของเขาทั้งสอง พระองค์ทรงเสนอ “ถ้วย” คนที่นั่งข้างขวาและข้างซ้ายของกษัตริย์ต้องดื่มถ้วยที่กษัตริย์จะดื่ม เพราะถ้ามีการวางยาพิษซึ่งกษัตริย์ในอดีตต้องระวังตลอด นั่นหมายถึงพร้อมตายแทนพระองค์ ยินดีนั่งข้างๆ เป็นใหญ่กับพระองค์... แต่ในพระคัมภีร์เราทราบไม่ใช่หรือว่า “ถ้วย.. หมายถึงพระทรมาน” (พระบิดาเจ้าข้าถ้าเป็นไปได้ โปรดให้กาลิกส์นี้พ้นไปเถิด) เทียบ มก 14)
o ที่สุดพระเยซูเจ้าสัญญาว่า เขาทั้งสองจะได้ดื่มถ้วย “ถ้วยที่เราจะดื่มนั้น ท่านจะได้ดื่ม และการล้างที่เราจะรับนั้น ท่านก็จะได้รับ” ทำนายถึงการที่พวกเขาจะได้มีส่วนในรหัสธรรมของพระเยซูเจ้า และแม้ว่าบนไม้กางเขน (กางเขนคือบัลลังก์ของพระเยซูเจ้า พวกเขาจะหนีไปหมด...จนพระคัมภีร์ต้องใช้ภาษาประชดประชันว่า สองคนที่อยู่บนกางเขนข้างซ้ายข้างขวาพระองค์กลายเป็นโจรไปแทนที่จะเป็นเจ้าศิษย์สองคนนี้)

• พระเยซูเจ้าเข้าใจพวกเขา เข้าใจว่าพวกเขาคิดถึงความเป็นใหญ่ตามประสามนุษย์ อยากเป็นใหญ่และแย่งที่นั่งข้างซ้ายและข้างขวา จนพวกเขาก็ทะเลาะขุ่นเคืองต่อกัน.. พระองค์จึงสอนหลักการสำคัญ “เป็นใหญ่ต้องรับใช้” พระวรสารเล่าชัดเจนว่า
o พระเยซูเจ้าจึงทรงเรียกทุกคนมาพบ ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายย่อมรู้ว่าคนต่างชาติที่เป็นหัวหน้า ย่อมเป็นเจ้านายเหนือผู้อื่น และผู้ใหญ่ย่อมใช้อำนาจบังคับ
o แต่ท่านทั้งหลายไม่ควรเป็นเช่นนั้น
o ผู้ที่ปรารถนาจะเป็นใหญ่ จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น
o และผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นคนที่หนึ่งในบรรดาท่านทั้งหลาย ก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้
o เหมือนกับที่บุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่ เพื่อมวลมนุษย์”

• ข้อสังเกตสำคัญ คำแปลใน ภาษาไทยแปล “รับใช้” เหมือนกันทั้งสองกรณี เป็นใหญ่ก็ต้องรับใช้ เป็นที่หนึ่งก็ต้องรับใช้... แต่น่าสังเกตว่าภาษากรีกต้นฉบับคำกริยาที่ใช้ทั้งสองแห่งไม่เหมือนกัน

• ดูคำแปลภาษาอังกฤษ ฉบับ Revised Standard Version กันครับ
o but whoever would be great among you must be your servant,
o and whoever would be first among you must be your slave;

• ความหมายของคำทั้งสองชัดในตัวเอง แต่น่าเสียดายที่ภาษาไทยฉบับคาทอลิกเรายังแปลด้วยคำที่เหมือนกัน เพราะในภาษาต้นฉบับนั้นคำทั้งสองมีเฉดทางภาษาที่แตกต่างกันอย่างมากทีเดียว ซึ่งในฉบับ RSV ยังเก็บความแตกต่างไว้ชัดเจน
o ภาษากรีก “diakonos” (Servant) คือ การรับใช้แบบผู้รับใช้ที่โต๊ะ การบริการ เอาใจใส่ช่วยเหลือ การรับใช้แบบนี้เป็นลักษณะของความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับโดยสภาพที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เป็นการรับใช้ด้วยหัวใจอิสระ
o ภาษากรีก “doulos” (Slave) การรับใช้แบบทาสที่ขาดอิสระภาพ และเป็นการรับใช้ที่ไม่ใช่เพื่อค่าตอบแทน แต่เป็นการรับใช้ที่ติดมากับสภาพที่ไม่สามารถแยกออกจากสภาพของตนได้ ไม่สามารถทำตนเองให้เป็นอิสระจากหน้าที่นี้ คำตีความที่น่าจะดีที่สุดคือ
o ดังนั้น... “ศิษย์ของพระเยซูเจ้าที่ปรารถนาจะเป็นที่หนึ่งนั้นไม่สามารถเป็นที่หนึ่งได้โดยขาดซึ่งการเป็นทาสรับใช้ทุกคน และนี่เป็นพันธะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”

• พี่น้องที่รักครับ... เราได้คำตอบชัดเจน มากมายจริงๆ ถึงการเป็นศิษย์พระเยซูเจ้า สำหรับการไตร่ตรองพระทรมานของพระเยซูเจ้า การขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็มเพื่อรับทรมานเพราะความรักต่อเรามนุษย์ ทรงสอนเราให้เป็นผู้รับใช้จริงๆ เป็นทาสรับใช้ถ้าเป็นที่หนึ่งในหมู่ศิษย์ของพระองค์ และพระองค์ก็สอนเราด้วยแบบอย่างจริงๆ ทรง “ล้างเท้า” บรรดาศิษย์ของพระองค์ การล้างเท้า ณ งานเลี้ยง เป็นงานของทาสในบ้าน... และพระเยซูเจ้าทรงทำเช่นนั้น...

• ทรงครองบัลลังก์เป็นกษัตริย์ที่แสนแตกต่างจากบรรดากษัตริย์ทั้งหลาย
o บัลลังก์ของพระองค์คือไม้กางเขน
o มงกุฎของพระองค์ คือ มงกุฎหนาม
o คทาของพระองค์คือไม้อ้อที่ทหารใส่ในพระหัตถ์และฟาดลงบนพระเศียร
o และทรงครองบัลลังก์กางเขนจนสิ้นพระชนม์เพราะ “ทรงรักเรา”

• พี่น้องที่รัก.. นี่คือ “หนทาง ความจริง และชีวิต” แท้จริงของเราคริสตชนครับ ไม่มีทางอื่นดีกว่านี้ รัก รับใช้ และเป็นทาสแห่งความรักแบบพระเยซูเจ้า...ครับ ขอพระเจ้าอวยพรนะครับ... จงรักครับ

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2023
วันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2023 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา บทอ่านจากหนังสือเอสรา (อสร 1:1-6) ปีแรกในรัชกาลกษัตริย์ไซรัสแห่งเปอร์เซีย องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงบันดาลให้พระวาจาที่ตรัสโดยประกาศกเยเรมีย์เป็นความจริง จึงทรงดลใจกษัตริย์ไซรัสแห่งเปอร์เซีย ให้ทรงประกาศทั่วพระราชอาณาจักร และมีพระราชสารเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยว่า “กษัตริย์ไซรัสแห่งเปอร์เซียตรัสดังนี้ว่า ‘องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าแห่งสวรรค์ได้ประทานอาณาจักรทั้งสิ้นบนแผ่นดินแก่เรา และพระองค์ทรงบัญชาเราให้สร้างพระวิหารถวายพระองค์ที่กรุงเยรูซาเล็มในแคว้นยูดาห์ ผู้ใดในหมู่ท่านทั้งหลายเป็นประชากรของพระองค์ ขอพระเจ้าสถิตอยู่กับผู้นั้น และให้เขากลับขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็มในแคว้นยูดาห์ และสร้างพระวิหารขององค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าแห่งอิสราเอลขึ้นใหม่ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงพำนักอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม...
วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน 2023 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา บทอ่านจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 55:6-9)...
วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2023 สัปดาห์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา บทอ่านจากจดหมายนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงทิโมธี ฉบับที่หนึ่ง (1...
วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2023 สัปดาห์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา บทอ่านจากจดหมายนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงทิโมธี ฉบับที่หนึ่ง (1...

สุข ทุกข์ อยู่กับพระ @เทเรซาน้อย

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

TBStory I พระวจนะพระเจ้า ก่อให้เกิดภาระใจ รักรับใช้ตลอดชีวิต I บิชอปวีระ อาภรณ์รัตน์
TBStory เรื่องราวของผู้คนที่ชีวิตพลิกผันเพราะพลังของพระคัมภีร์Ep.5 พระวจนะพระเจ้า ก่อให้เกิดภาระใจ รักรับใช้ตลอดชีวิต I บิชอปวีระ อาภรณ์รัตน์ชีวิตที่ผูกพันในพระวจนะพระเจ้า ก่อให้เกิดภาระใจ รักรับใช้ตลอดชีวิต{youtube}nzHP1yJM51o{/youtube}
ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 3/2023
ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 3/2023 วันพุธที่ 6 กันยายน 2023 ณ...
ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ (TBS) ครั้งที่ 2/2023
ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 2/2023 วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2023 ณ...
คณะกรรมการบริหาร CBF ชุดใหม่
คณะกรรมการบริหาร CBF ชุดใหม่ 20 เมษายน 2023 ในผลการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ชุดใหม่ 6 ปี...
 เพื่อเขียนถ้อยแถลง CBF
เพื่อเขียนถ้อยแถลง CBF ในการประชุมใหญ่ของสหพันธ์พระคัมภีร์คาทอลิก (CBF) ที่อาร์เจนตินา 15-21 เมษายน 2023 วันที่ 19...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“ข้าแต่กษัตริย์ของชาวยิว ขอทรงพระเจริญเทอญ” (1)
“ข้าแต่กษัตริย์ของชาวยิว ขอทรงพระเจริญเทอญ” 81. พระเยซูเจ้าทรงถูกสวมมงกุฎหนาม (มก 15:16-20ก) 1516บรรดาทหารนำพระองค์เข้าไปในลานชั้นในคือ “จวนของผู้ว่าราชการ” แล้วเรียกทหารทั้งกองมาพร้อมกัน 17เขาคลุมพระองค์ด้วยเสื้อคลุมสีม่วงแดง...
“เอาเขาไปตรึงกางเขน” (3)
“เอาเขาไปตรึงกางเขน” 80. พระเยซูเจ้าต่อหน้าปีลาต (3) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1.ปีลาตเรียกพระเยซูเจ้าสามครั้งว่า "กษัตริย์ของชาวยิว" เขายอมรับข้อกล่าวหาที่ผู้แทนหัวหน้าชาวยิวปรักปรำพระองค์ และในที่สุด...
“เอาเขาไปตรึงกางเขน” (2)
“เอาเขาไปตรึงกางเขน” 80. พระเยซูเจ้าต่อหน้าปีลาต (2) - ทุกปีในเทศกาลปัสกา ปีลาตเคยปล่อยนักโทษหนึ่งคนตามคำขอของประชาชน นักบุญมาระโกพร้อมกับนักบุญมัทธิว (เทียบ มธ...
“เอาเขาไปตรึงกางเขน” (1)
“เอาเขาไปตรึงกางเขน” 80. พระเยซูเจ้าต่อหน้าปีลาต (มก 15:1-15) 151ครั้นรุ่งเช้า บรรดาหัวหน้าสมณะ พร้อมกับผู้อาวุโส ธรรมาจารย์ และบรรดาสมาชิกสภาซันเฮดรินทุกคน...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 480 พระเจ้า...ทุกโอกาส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 480 พระเจ้า ... ทุกโอกาส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 479 แก้วน้ำ น้ำเต็ม 1 ใบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 479 แก้วน้ำ น้ำเต็ม 1...
บทสวดของฉัน บทที่ 478 “ทำดีได้ดี มีที่ไหน ทำชั่วได้ดี มีถมไป”
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 478 “ทำดีได้ดี มีที่ไหน ทำชั่วได้ดี...
บทสวดของฉัน บทที่ 477 New Evangelization
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 477 New Evangelization:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

Sinapis เมล็ดพันธุ์แห่งพระวาจา

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์