“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

การอธิบายความหมายพระคัมภีร์ตามตัวอักษรแบบมูลฐานนิยม

44.      ความสนใจที่เราให้แก่เรื่องการอธิบายความหมายพระคัมภีร์ในมุมมองต่างๆ บัดนี้ให้โอกาสแก่เราที่จะพิจารณาถึงเรื่องหนึ่งที่ถูกนำมาถกเถียงกันในสมัชชาบ่อยๆ นั่นคือเรื่องการอธิบายความหมายพระคัมภีร์ตามตัวอักษรแบบมูลฐานนิยม[1] เกี่ยวกับเรื่องนี้ คำแนะนำที่คณะสมณกรรมาธิการพระคัมภีร์ให้ไว้ในเอกสาร De interpretatione Bibliorum in Ecclesia ยังมีคุณค่าใช้ได้อยู่ ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าใคร่จะเตือนโดยเฉพาะเรื่องการอ่านพระคัมภีร์โดยไม่คำนึงถึงลักษณะแท้จริงของพระคัมภีร์ แต่กลับส่งเสริมการอธิบายความหมายที่คิดเอาเองตามใจชอบ. การอธิบายความหมาย "ตรงตามตัวอักษร" ที่นักมูลฐานนิยมยึดมั่นนั้น อันที่จริงเป็นการทำลายทั้งความหมายตามตัวอักษรและความหมายด้านจิตวิญญาณ และยังเปิดทางให้มีการบิดเบือนความหมายพระคัมภีร์ในรูปแบบต่างๆ เช่นเผยแพร่การอธิบายพระคัมภีร์ให้ต่อต้านพระศาสนจักร "ปัญหาที่เลวร้ายมากยิ่งขึ้นในเรื่องนี้คือการเข้าใจพระคัมภีร์ตรงตามตัวอักษรไม่ยอมรับว่าการเปิดเผยของพระคัมภีร์มีลักษณะเป็นประวัติศาสตร์ ทำให้ไม่อาจรับความจริงเรื่องการรับธรรมชาติมนุษย์ได้. ในเรื่องความสัมพันธ์กับพระเจ้า ลัทธิมูลฐานนิยมพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์.... เพราะเหตุนี้จึงมีแนวโน้มที่จะคิดว่าข้อความของพระคัมภีร์เป็นการเขียนตามคำบอกของพระจิตเจ้า และไม่อาจยอมรับได้ว่าพระวาจาของพระเจ้าเขียนขึ้นในภาษาและวิธีพูดตามสถานการณ์เฉพาะของแต่ละยุคสมัย"[2] แต่คริสตศาสนารับรู้พระวาจา หรือองค์พระวจนาตถ์ ในถ้อยคำของพระคัมภีร์ องค์พระวจนาตถ์นี้ทรงแสดงพระธรรมล้ำลึกของพระองค์ อาศัยเหตุการณ์หลากหลายที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ[3] การตอบสนองที่แท้จริงต่อการอ่านพระคัมภีร์แบบตรงตามตัวอักษรก็คือ "การอ่านพระคัมภีร์อย่างผู้มีความเชื่อ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในพระศาสนจักรมาตั้งแต่โบราณ การอ่านเช่นนี้แสวงหาความจริงสำหรับชีวิตของผู้มีความเชื่อแต่ละคนและสำหรับพระศาสนจักร ยอมรับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของธรรมประเพณีในพระคัมภีร์ เพราะคุณค่าของธรรมประเพณีในฐานะที่เป็นพยานทางประวัติศาสตร์ การอ่านพระคัมภีร์เช่นนี้จึงค้นพบความหมายที่ให้ชีวิตของพระคัมภีร์สำหรับชีวิตของผู้มีความเชื่อในปัจจุบัน"[4] โดยรู้ดีว่าข้อความที่ได้รับการดลใจนี้มีมนุษย์และรูปแบบวรรณกรรมต่างๆเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย



[1] Cfr Propositiones 46,47.

[2] Pontificia Commissio Biblica, L'interpretazione della Bibbia nella Chiesa (15 Aprilis 1993), I.F: Ench.Vat. 13, n.2974.

[3] Cfr Benedictus XVI, Allocutio Lutetiae Parisiorum ad viros culturae deditos apud Collegium a Bernardinis (12 Septembris 2008): AAS 100 (2008), 726.

[4] Propositio 46.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก