“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

คริสตชน และชาวยิว กับพระคัมภีร์

43.      เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างพันธสัญญาใหม่กับพันธสัญญาเดิม เราก็รู้สึกทันทีถึงความสัมพันธ์พิเศษที่เกิดขึ้นระหว่างคริสตชนกับชาวยิว เป็นความสัมพันธ์ที่เราจะมองข้ามไม่ได้เลย สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 เคยตรัสกับชาวยิวว่า "ท่านเป็น ‘พี่น้องสุดที่รัก' ในความเชื่อของอับราฮัมบรรพบุรุษของเรา"[1] การกล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความเลยว่าเป็นการปฏิเสธยกเลิกการแตกแยกจากกัน ดังที่พันธสัญญาใหม่กล่าวไว้เกี่ยวกับสถาบันของพันธสัญญาเดิม    ทั้งยังไม่ปฏิเสธว่าพระคัมภีร์ได้สำเร็จสมบูรณ์ในพระธรรมล้ำลึกของพระเยซูคริสตเจ้า ยอมรับว่าเป็นพระเมสสิยาห์และพระบุตรของพระเจ้า ถึงกระนั้น ความแตกต่างอย่างลึกซึ้งเช่นนี้ก็มิได้หมายความว่าจะต้องมีความเป็นอริต่อกัน ตรงกันข้าม แบบฉบับของนักบุญเปาโล (เทียบ รม 9-11) แสดงให้เห็นว่าท่าทีความเคารพที่ให้คุณค่าและความรักต่อประชากรชาวยิวเท่านั้น คือท่าทีแท้จริงของคริสตชนในสภาพเช่นนี้ตามแผนการของพระเจ้า นับว่าเป็นท่าทีที่ล้ำลึกในทางบวก[2] ใช่แล้ว เปาโลกล่าวถึงชาวยิวว่า "เขายังคงเป็นที่รักของพระเจ้าตามพระสัญญาที่ทรงให้ไว้แก่บรรพบุรุษ ทั้งนี้เพราะพระเจ้าไม่ทรงเปลี่ยนพระทัยเพิกถอนของประทานที่ทรงให้เปล่าและพระกระแสเรียกของพระองค์" (รม 11:28-29)

นักบุญเปาโลยังใช้ภาพงดงามของต้นมะกอกเทศ เป็นภาพเปรียบเทียบบรรยายถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างคริสตชนกับชาวยิว ท่านเปรียบพระศาสนจักรที่มีชนต่างชาติเป็นสมาชิกว่าเป็นเสมือนกิ่งต้นมะกอกป่าที่ถูกนำมาทาบเข้ากับกิ่งต้นมะกอกบ้าน ซึ่งหมายถึงประชากรแห่งพันธสัญญา (เทียบ รม 11:17-24)  ดังนั้น  เราจึงได้น้ำเลี้ยงมาจากรากทางจิตวิญญาณเดียวกัน  เรามาพบกันเสมือนพี่น้อง พี่น้องที่ในบางช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ได้แสดงตนเป็นอริกัน แต่บัดนี้พยายามสร้างสะพานแห่งมิตรภาพที่จะคงอยู่ต่อไปอย่างมั่นคง[3] สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ยังเคยตรัสอีกว่า "เรามีหลายสิ่งร่วมกัน เราสามารถทำกิจการต่างๆได้มากมายเพื่อสันติภาพ เพื่อความยุติธรรม และเพื่อให้โลกนี้มีความเป็นพี่น้องกันและน่าอยู่มากยิ่งขึ้น"[4]

ข้าพเจ้าอยากจะบอกอีกว่าการเสวนากับชาวยิวมีค่ายิ่งสำหรับพระศาสนจักร ถ้าเป็นไปได้ น่าจะดีมากที่จะสร้างโอกาสเพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งเป็นการส่วนตัวและส่วนรวม เพื่อช่วยเสริมความรู้ระหว่างกัน เพื่อเข้าใจและร่วมมือกัน รวมทั้งในการศึกษาค้นคว้าเรื่องพระคัมภีร์ด้วย



[1] Ioannes Paulus II, Nuntius ad Rabbinum Principem Romae (22 Maii 2004): Insegnamenti, XXVII,1 (2004), 655.

[2] Cfr Pontificia Commissio Biblica, Il popolo ebraico e le sue sacre Scritture nella Bibbia cristiana (24 Maii 2001), 87; Ench.Vat. 20, n.1150.

[3] Cfr Benedictus XVI, Salutatio in Aeroportu internationali Ben Gurion in Tel Aviv (15 Maii 2009): Insegnamenti V,1(2009), 847-849.

[4] Ioannes Paulus II, Allocutio ad Rabbinos Principes Israelis (23 Martii 2000): Insegnamenti, XXIII,1(2000), 434.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก