“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

ความเชื่อและเหตุผลในการเข้าสัมผัสกับพระคัมภีร์

36.      ข้าพเจ้าคิดว่าข้อความที่สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงเขียนไว้ในพระสมณสาร Fides et ratio น่าจะช่วยเราให้เข้าใจการอธิบายความหมายและเข้าใจพระคัมภีร์ได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเข้าใจความสัมพันธ์ของพระคัมภีร์กับเทววิทยาทั้งหมดด้วย พระองค์ทรงยืนยันว่า "เราต้องไม่มองข้ามอันตรายของการแสวงหาความจริงของพระคัมภีร์ โดยใช้วิธีการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่เห็นความจำเป็นของการอธิบายความหมายที่ครอบคลุมมากกว่าซึ่งจะช่วยให้ผู้อธิบายพระคัมภีร์เข้าใจตัวบทได้อย่างสมบูรณ์พร้อมกับพระศาสนจักรทั้งหมด ผู้ที่ศึกษาพระคัมภีร์อย่างจริงจังต้องจำไว้เสมอว่า วิธีการต่างๆที่ใช้อธิบายพระคัมภีร์ล้วนอิงอยู่กับสมมุติฐานทางปรัชญาของตน และจำเป็นต้องประเมินสมมุติฐานเหล่านี้อย่างจริงจังก่อนที่จะนำมาใช้กับตัวบทพระคัมภีร์"[1]

การคิดคำนึงที่มองการณ์ไกลเช่นนี้ช่วยให้เราเห็นได้ว่า ในการอธิบายความหมายพระคัมภีร์ จำเป็นต้องพิจารณาความสัมพันธ์ของความเชื่อกับเหตุผลด้วย จริงอยู่ การอธิบายความหมายพระคัมภีร์ทางโลกเท่านั้นเป็นผลของความพยายามใช้เหตุผล เพื่อขจัดความคิดที่ว่าพระเจ้าอาจแทรกเข้ามาให้ชีวิตมนุษย์และตรัสเป็นภาษามนุษย์ได้ ในเรื่องนี้ด้วย เราต้องเตือนว่าจำเป็นต้องขยายขอบเขตของเหตุผล[2] เพราะฉะนั้น เมื่อใช้วิธีศึกษาค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ จึงต้องหลีกเลี่ยงมาตรการที่มีความเห็นล่วงหน้าอยู่ก่อนแล้วว่าพระเจ้าไม่อาจแสดงพระองค์ในชีวิตของมนุษย์ได้ การรวมงานอธิบายความหมายพระคัมภีร์ทั้งสองขั้นตอนนี้ในที่สุด จึงหมายถึงความสอดคล้องกันของความเชื่อและเหตุผล ในด้านหนึ่งจำเป็นต้องมีความเชื่อชนิดที่แม้จะรักษาความสัมพันธ์กับเหตุผลที่ถูกต้อง แต่จะต้องไม่กลายเป็นความเชื่อที่ไม่ต้องการคำอธิบายใดๆ (fideism) ซึ่งในที่สุดจะไปจบลงที่ความเข้าใจพระคัมภีร์ตรงตามตัวอักษร (fundamentalism) เท่านั้น ในอีกด้านหนึ่งก็จำเป็นต้องใช้เหตุผลที่เมื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในพระคัมภีร์ ยังต้องเปิดตัวรับทุกสิ่งที่อยู่นอกกรอบความคิดของตนโดยไม่ปฏิเสธล่วงหน้า นอกจากนั้นศาสนาของพระวจนาตถ์ (Logos) ที่รับสภาพมนุษย์ยังจะแสดงให้เห็นว่าเป็นความจริงที่มีเหตุผลอย่างยิ่ง สำหรับมนุษย์ที่แสวงหาความจริงและความหมายสุดท้ายของชีวิตของตนและของประวัติศาสตร์อย่างจริงใจด้วย



[1] Ioannes Paulus II, Litt.enc. Fides et ratio (14 Septembris 1998), 55; AAS 91(1999), 49-50.

[2] Cfr Benedictus XVI, Allocutio ad IV Conventum Nationalex Ecclesiae in Italia (19 Octobris 2006); AAS 98(2006), 804-815.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก