(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

การภาวนาในพิธีกรรม

2 1ในขั้นแรกนี้ ข้าพเจ้าขอร้องaให้วอนขอ อธิษฐาน อ้อนวอนแทนและขอบพระคุณพระเจ้าเพื่อมนุษย์ทุกคน 2เพื่อกษัตริย์และเพื่อผู้มีอำนาจb เราจะได้มีชีวิตที่สงบสุขราบรื่น เป็นชีวิตที่มีเกียรติด้วยความเคารพเลื่อมใสพระเจ้า 3การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำที่ดีงามและเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าพระผู้ไถ่ของเรา 4พระองค์มีพระประสงค์ให้ทุกคนได้รับความรอดพ้นc และรู้ความจริงที่สมบูรณ์d 5ทั้งนี้เพราะมีพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว และพระเจ้ากับมนุษย์ก็มีคนกลางแต่เพียงผู้เดียวซึ่งเป็นมนุษย์คนหนึ่ง คือพระคริสตเยซูe 6ผู้ทรงมอบพระองค์เป็นสินไถ่สำหรับมนุษย์ทุกคน การมอบพระองค์ดังกล่าวนี้คือการเป็นพยานยืนยันfที่ทรงให้ไว้ตามเวลาที่กำหนด 7และข้าพเจ้าก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ประกาศการเป็นพยานยืนยันนี้ เป็นอัครสาวก เป็นผู้สอนคนต่างชาติเรื่องความเชื่อและความจริง ข้าพเจ้ากำลังพูดความจริง มิได้พูดความเท็จ

บุรุษและสตรีในที่ชุมนุม

8ข้าพเจ้าปรารถนาให้บุรุษยกมือที่บริสุทธิ์ขึ้นอธิษฐานไม่ว่าจะอยู่ที่ใด อย่าให้มีความโกรธหรือการโต้เถียงใดๆ ระหว่างกัน

9สตรีก็เช่นเดียวกับบุรุษ ในการภาวนา สตรีจะต้องสงบเสงี่ยม แต่งกายสุภาพเรียบร้อยถูกต้องตามกาลเทศะ ไม่แต่งผมจนเกินไปหรือสวมใส่เครื่องทอง ไข่มุกหรือเสื้อผ้าราคาแพง 10การกระทำที่ดีงามเท่านั้นเป็นเครื่องประดับสตรีที่เคารพเลื่อมใสพระเจ้า 11ขณะชุมนุมกัน สตรีควรเรียนรู้โดยการรับฟังอย่างเงียบๆ และนอบน้อม 12ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้สตรีสอนหรือใช้อำนาจเหนือบุรุษ แต่ให้สตรีอยู่อย่างสงบ 13เพราะพระเจ้าทรงสร้างอาดัมมาก่อน แล้วจึงทรงสร้างเอวาในภายหลัง 14อาดัมไม่ได้ถูกลวงให้หลงผิด แต่ผู้ที่ถูกลวงให้หลงผิดและทำบาปคือภรรยาของเขา 15ถึงกระนั้น สตรีจะรอดพ้นได้โดยการมีบุตรg ถ้าสตรีดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมโดยมั่นคงอยู่ในความเชื่อ ความรักและความศักดิ์สิทธิ์

 

2 a “ข้าพเจ้าขอร้อง” สำเนาโบราณบางฉบับว่า “จงขอร้อง”

b เกี่ยวกับความจงรักภักดีต่อบ้านเมืองในความคิดของเปาโล (ดู รม 13:1-7) ข้อความตอนปลายประโยค อาจสะท้อนความกลัวของเปาโลเกี่ยวกับอนาคต

c เรานำคำสอนหลายข้อออกจากข้อความนี้ เพื่ออธิบายข้อความยากๆ บางตอนในจดหมายถึงชาวโรม (รม 9:18, 21) ข้อความนี้ (ข้อ 5) เข้าใจได้ถ้าคำนึงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า (เทียบ มธ 12:29; รม 3:29-30; อฟ 4:6) และคำนึงถึงบทบาทเฉพาะของพระคริสตเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้าและมนุษย์ (เทียบ ฮบ 2:17; 8:6 เชิงอรรถ b) เปาโลได้รับภารกิจมาจากพระผู้ไถ่ (ข้อ 7) ให้เทศน์ประกาศความรอดพ้นที่พระเจ้าประทานให้กับมนุษย์ทุกคน (กจ 9:15 เชิงอรรถ h; รม 1:1 เชิงอรรถ b)

d ความรอดพ้น คือ การรู้ความจริง (4:3; 2 ทธ 2:25; 3:7; ทต 1:1) แต่ความรู้นี้ยังรวมถึงการอุทิศตนทั้งหมดด้วย (ดู ฮชย 2:22 เชิงอรรถ v; ยน 8:32 เชิงอรรถ j; 2 ธส 2:12)

e นั่นคือพระเยซูเจ้าทรงเป็นคนกลางในฐานะที่ทรงเป็นมนุษย์คนหนึ่ง และเพราะเหตุนี้เองที่พระองค์เป็นพระผู้ไถ่ของมนุษย์ทุกคนได้ (ข้อ 4) โดยสิ้นพระชนม์เพื่อเป็นสินไถ่ (ข้อ 6 เทียบ ฮบ 2:14-17, 15 เชิงอรรถ i)

f เทียบ 6:13 การที่ทรงยอมสิ้นพระชนม์เพื่อมนุษยชาติ พระเยซูเจ้าทรงทำให้โลกเห็นชัดถึงแผนการของพระเจ้าที่จะช่วยมนุษยชาติให้รอดพ้น ในฐานะที่ทรงเป็นพยานถึงพระบิดาเจ้าด้วยชีวิตทั้งหมด การเป็นพยานสูงสุดเกิดขึ้นโดยการสิ้นพระชนม์ (ต่อมาคำกรีกสำหรับคำว่า “พยาน” ถูกนำมาใช้สำหรับหมายถึง “มรณสักขี”) (ดู ยน 3:11; วว 1:5; 3:14)

g บางทีข้อความนี้เป็นการตอบโต้ผู้สอนผิดๆ บางคนที่ห้ามแต่งงาน (4:3) โดยกล่าวว่าภารกิจข้อแรกของสตรีก็คือให้กำเนิดชีวิตและอบรมเลี้ยงดูบุตร