“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“การเริ่มต้นข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้าเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า”
(มก 1:1)
2. ชื่อของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (๒)
a)      อธิบายความหมาย
        
           ข้อนี้ยังยืนยันจุดประสงค์ของพระวรสารอย่างเจาะจง เพราะนักบุญมาระโกบอกตั้งแต่แรกว่า ข่าวดีที่เขาประกาศเป็นข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้า ตลอดข้อเขียนในพระวรสารเขามุ่งที่จะแสดงว่า บรรดาศิษย์รับรู้ความจริงที่ “พระเยซูเจ้าเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า” ได้อย่างไร โดยชี้แจงต้นกำเนิดและพื้นฐานของความจริงนี้ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในพระชนมชีพของพระเยซูเจ้าคือ ศาสนบริการ การรับทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ล้วนเปิดเผยว่า พระองค์เป็นคริสต์อย่างไร และเป็นพระบุตรของพระเจ้าอย่างไร จุดประสงค์ของนักบุญมาระโกจึงเป็นการชี้แจงต้นกำเนิดและพื้นฐานของการประกาศข่าวดี ซึ่งสรุปได้ในข้อเท็จจริงที่ว่า “พระเยซูเจ้าเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า”  

           ในที่สุด ข้อนี้ยังแสดงโครงสร้างการเขียนพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโกว่า เนื้อหาระหว่างบทนำกับบทสรุปแบ่งเป็น 2 ภาคใหญ่ คือภาคแรกอธิบายว่า บรรดาศิษย์เข้าใจเรื่อง “พระเยซูเจ้าเป็นพระคริสต์” ได้อย่างไร และภาคที่ 2 อธิบายว่าความเชื่อใน “พระเยซูเจ้าเป็นพระบุตรของพระเจ้า” เกิดขึ้นได้อย่างไร

           ภาคแรกของพระวรสารเล่าเหตุการณ์หลายเรื่องในพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงพบปะกับบุคคลต่างๆ จากประชากรอิสราเอล จากครอบครัวของพระองค์ และจากบรรดาศิษย์  พระองค์ทรงทำเครื่องหมายอัศจรรย์หลายประการและทรงสั่งสอนโดยใช้อุปมาเรื่องต่าง ๆ และในตอนกลางของการดำเนินเรื่อง  พระองค์ตรัสถามบรรดาศิษย์ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ใด   นักบุญเปโตรทูลตอบในนามของบรรดาศิษย์ว่า “พระองค์คือพระคริสตเจ้า” (8:29)

           เรื่องราวดำเนินต่อไปในภาคที่สอง พระเยซูเจ้าทรงสั่งสอนบรรดาศิษย์ให้ติดตามพระองค์ ไม่ว่าจะต้องเสียสละตนเองสักเพียงใด  พระองค์ทรงถกเถียงกับบรรดาหัวหน้าแห่งอิสราเอล จนทรงถูกจับกุม ทรงถูกพิพากษาและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระเยซูเจ้าเป็นพระเมสสิยาห์ ผู้ทรงรับทรมาน ทรงเป็นบุตรแห่งมนุษย์ เมื่อนายร้อยเห็นพระองค์สิ้นพระชนม์ จึงพูดว่า “ชายคนนี้เป็นพระบุตรของพระเจ้าแน่ทีเดียว” (15:37) บุตรแห่งมนุษย์ที่รับทรมานจึงเป็นพระบุตรของพระเจ้าอย่างแท้จริง

b. ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

           พระวรสารไม่เป็นข้อเขียนที่เสนอทฤษฏีอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นการับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เหตุการณ์นั้นได้ชื่อว่า “’ข่าวดี” และไม่เป็นเพียงข่าวดีอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นข่าว “ดีที่สุด” ข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้าจึงก่อให้เกิดความยินดียิ่งใหญ่ ข่าวดีนี้หมายความว่า พระเจ้าทรงซื่อสัตย์ต่อพระสัญญา และทรงระลึกถึงประชากรของพระองค์ ทรงมีพระประสงค์แน่วแน่ที่จะนำความรอดพ้นแก่ประชากรของพระองค์โดยอาศัยพระบุตร

           ดังนั้น การประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าจึงแสดงอย่างลึกซึ้งและแน่นอนที่สุดถึงความซื่อสัตย์และความเมตตากรุณาของพระเจ้าที่ทรงมีต่อมนุษย์ และเป็นพื้นฐานมั่นคงของความชื่นชมยินดีที่ไม่มีสิ้นสุด พระเยซูเจ้าพระองค์เองในฐานะพระคริสต์และพระบุตรของพระเจ้า ทรงเป็นสาเหตุของความชื่นชมยินดีนี้

           เราควรถามตนเองว่า ความชื่นชมยินดีเป็นคุณลักษณะเฉพาะของเราหรือไม่ เป็นความยินดีในส่วนลึกของจิตใจ ซึ่งไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเพียงใดที่จะทำลายได้ เรามองเหตุการณ์ในชีวิตของเราและของผู้อื่นในแง่ดีหรือไม่ การอ่านพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโกจะช่วยเราให้รักษาความชื่นชมยินดีในใจ จะได้รู้จักพระเยซูเจ้ามากยิ่งขึ้น เราจึงไม่กลัวสิ่งใด เพราะเราไว้วางใจในความรักและในพระอานุภาพของพระองค์


(อ่านต่อในครั้งหน้า)

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก