“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“การเริ่มต้นข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้าเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า”
(มก 1:1)
2. ชื่อของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (๑)
a)      อธิบายความหมาย
       
ข้อแรกของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก มีความสำคัญมาก เพราะเป็นทั้งชื่อ การสรุปเนื้อหา จุดประสงค์ และโครงสร้างของการเขียน ตั้งแต่ประโยคแรกนักบุญมาระโกสนใจพระบุคคลของพระเยซูเจ้าเป็นพิเศษ เขาเขียนหนังสือเพื่อตอบคำถามที่ว่า "พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ใด" แล้วตอบคำถามทันที มีใจความสมบูรณ์ว่า "พระเยซูเจ้าเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า" เราจะเห็นว่า นักบุญมาระโกต้องการเปิดเผยพระบุคคลของพระเยซูเจ้าโดยใช้รูปแบบของคำถามและคำตอบตลอดเรื่องเล่าในพระวรสาร

หัวข้อ "การเริ่มต้นข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้าเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า" มีความสำคัญพิเศษ เพราะนักบุญมาระโกได้เลือกแต่ละคำอย่างละเอียดเจาะจง

  • การเริ่มต้น คำนี้ในภาษากรีกมีความหมาย 2 อย่างคือ การเริ่มต้นและบ่อเกิด ดังที่เราอ่านในหนังสือปฐมกาลว่า "เมื่อแรกเริ่มนั้น พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างฟ้าและแผ่นดิน" (ปฐก 1:1) นักบุญมาระโกไม่เพียงต้องการบอกว่า ข่าวดีเรื่องพระคริสตเจ้าเริ่มต้นอย่างไร แต่เขายังต้องการเปรียบเทียบข่าวดีเรื่องพระคริสตเจ้าว่า เป็นการเริ่มต้นใหม่และการสร้างใหม่อีกด้วย
  • ข่าวดี เรื่องการสถาปนาพระอาณาจักรของพระเจ้า หมายถึงพระเจ้าทรงเป็นกษัตริย์ปกครองจิตใจมนุษย์ทุกคนที่มาพึ่งพระองค์เพื่อรับการอภัยบาปและการคืนดี พระเยซูเจ้าทรงประกาศอย่างเปิดเผยว่า พระอาณาจักรของพระเจ้าได้มาถึงในพระองค์แล้ว ทรงเชิญชวนมนุษย์ทุกคนให้มีความเชื่อ เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จสู่สรรค์แล้ว บรรดาศิษย์ได้นำข่าวดีนี้ไปประกาศให้มนุษย์ทั่วโลกได้ทราบ ในตอนแรก ๆ ข่าวดีนี้ได้รับการประกาศด้วยปากเปล่า แล้วจึงค่อย ๆ บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจนกระทั่งกำหนดไว้ตายตัวในหนังสือพระวรสารทั้งสี่ฉบับ
  • พระเยซูเจ้า คำว่า "เยซู" ในภาษาฮีบรูแปลว่า "พระเจ้าทรงช่วยให้รอดพ้น" เป็นชื่อเฉพาะซึ่งทูตสวรรค์ให้ไว้แด่พระบุตรผู้จะทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ กุมารที่เกิดจากพระนางมารีย์พรหมจารี ได้ชื่อว่า "เยซู" "เพราะเขาจะช่วยประชากรของเขาให้รอดพ้นจากบาป" (มธ 1:21) ชื่อนี้จึงแสดงทั้งเอกลักษณ์และพันธกิจของพระองค์
  • พระคริสต์ พระนาม "พระคริสตเจ้า" เป็นคำภาษากรีกหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" แปลจากภาษาฮีบรูว่า "พระเมสสิยาห์" ในพันธสัญญาเดิมคำนี้หมายถึงกษัตริย์ของอิสราเอล เพราะได้รับการแต่งตั้งโดยการรับเจิม พระเยซูเจ้าทรงได้รับชื่อนี้ เพราะพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายและตลอดไป ที่พระเจ้าทรงมอบแก่ประชากรของพระองค์ เพื่อประทานความรอดพ้นและชีวิตสมบูรณ์ พระนาม "พระคริสตเจ้า" จึงแสดงความสัมพันธ์ที่พระองค์ทรงมีกับประชากรของพระเจ้า

            นักบุญเปโตรประกาศแก่โครเนลีอัส นายร้อยชาวโรมันว่า "พระเจ้าทรงเจิมพระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธด้วยอานุภาพเดชะพระจิตเจ้า" (กจ 10:38) นักบุญอีเรเนโออธิบายว่า "ผู้ได้ทรงเจิมคือพระบิดา ผู้ได้รับการเจิมคือพระบุตร และพระบุตรทรงได้รับการเจิมในพระจิต ผู้เป็นองค์แห่งการเจิม"

  • พระบุตรของพระเจ้า หมายถึงความสัมพันธ์หนึ่งเดียวและนิรันดรของพระเยซูคริสตเจ้ากับพระเจ้าผู้เป็นพระบิดาของพระองค์ พระเยซูเจ้าคือพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระบิดา (เทียบ ยน 1:14, 18; 3:16, 18) และมีพระธรรมชาติของพระเจ้าเช่นเดียวกับพระบิดา (เทียบ ยน 1:1)

"พระบุตรของพระเจ้า" จึงแสดงความสัมพันธ์ใกล้ชิดและความเสมอภาคกับพระบิดา ทุกคนที่พระเจ้าทรงส่งก่อนพระเยซูเจ้าเป็นเพียงผู้รับใช้ของพระเจ้า แต่พระเยซูเจ้าทรงเป็นทั้งคนสุดท้ายที่พระเจ้าทรงส่งแก่มนุษย์และเป็นพระบุตรสุดที่รักของพระเจ้า คริสตชนจำเป็นต้องเชื่อว่าพระเยซูคริสตเจ้าคือพระบุตรของพระเจ้า

(อ่านต่อในครั้งหน้า)

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 9:1-20) ขณะนั้น เซาโลยังคงเคียดแค้นคุกคามจะฆ่าบรรดาศิษย์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จึงเข้าไปพบมหาสมณะ ขอหนังสือมอบอำนาจไปยังศาลาธรรมต่างๆ ในเมืองดามัสกัส เพื่อจะได้จับกุมทุกคนที่พบ ไม่ว่าชายหรือหญิงที่ดำเนินชีวิตตามวิถีทางของพระคริสตเจ้า แล้วนำไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ขณะที่เขาเดินทางใกล้ถึงเมืองดามัสกัส ทันใดนั้น มีแสงสว่างจากท้องฟ้าล้อมรอบตัวเขาไว้ เขาล้มลงที่พื้นดินและได้ยินเสียงกล่าวว่า “เซาโล เซาโล ท่านเบียดเบียนเราทำไม”...
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 8:26-40)...
วันพุธที่ 17 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 7:51-8:1ก)...
วันอังคารที่ 16 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 7:51-8:1ก)...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์