“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“ท่านเห็นอะไรไหม ”

40. เปโตรประกาศความเชื่อ(3) 

(b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
1.    ศูนย์กลางของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโกไม่อยู่ที่กิจการหรือคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้า แต่เป็นพระบุคคลของพระองค์ พระเยซูเจ้าเองทรงย้ำเตือนให้บรรดาศิษย์เข้าใจและยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ใด บางคนคิดว่าเป็นเรื่องยากที่คริสตชนทุกคนจะเห็นพ้องต้องกันว่า พระองค์เป็นพระผู้ช่วยมนุษยชาติให้รอดพ้นและเป็นพระบุตรของพระเจ้าอย่างแท้จริง แต่เป็นเรื่องง่ายที่จะยอมรับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่พระเยซูเจ้าทรงสั่งสอนเพื่อดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข ดังนั้น เขาจึงสรุปว่าคริสตชนควรปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ดังกล่าวและเลิกถกเถียงกันในเรื่องพระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ใด อย่างไรก็ตาม เป็นที่ปรากฏชัดเจนว่าทัศนคติดังกล่าวไม่สอดคล้องกับการอบรมที่บรรดาศิษย์ได้รับจากพระเยซูเจ้า

 
2.    คุณค่าของกฎเกณฑ์ที่พระเยซูเจ้าทรงสั่งสอนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่พระองค์ทรงมีกับพระบิดาเจ้า และความสามารถของพระองค์ที่จะรับรู้พระประสงค์ของพระบิดา ดังนั้น พระศาสนจักรมุ่งมั่นที่จะกำหนดและรักษาความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระบุคคลของพระเยซูเจ้า ความสัมพันธ์ของพระองค์กับพระเจ้าและกับภารกิจของพระองค์สำหรับมนุษยชาติ รวมทั้งได้ประกาศยืนยันว่า พระเยซูเจ้าเป็น “พระเจ้าจากพระเจ้า แสงสว่างจากแสงสว่าง พระเจ้าแท้จากพระเจ้าแท้” และเป็นพระผู้ไถ่มนุษย์เพียงพระองค์เดียว พระวาจาของพระเยซูเจ้าเป็นพระวาจาของพระเจ้าและกิจการของพระองค์มีคุณค่าถาวร เพราะพระองค์ทรงมีความสัมพันธ์เช่นนี้กับพระบิดา มิฉะนั้นแล้ว พระวาจาของพระองค์ก็จะเป็นเพียงถ้อยคำธรรมดาที่มนุษย์โต้เถียงกันอย่างไม่มีสิ้นสุด

3.    ในพระคัมภีร์เราไม่พบผู้ใดที่ถามเหมือนพระเยซูเจ้าว่า “ท่านล่ะ ว่าเราเป็นใคร” แม้บุคคลสำคัญที่สุดในพันธสัญญาเดิม เช่น  อับราฮัม โมเสส กษัตริย์ดาวิด ประกาศกเอลียาห์ ก็มีอัตลักษณ์ชัดเจนว่าเป็นผู้ใด ลักษณะคำถามเช่นนี้จึงแสดงว่าพระเยซูเจ้าผู้ทรงตั้งคำถามทรงเป็นบุคคลพิเศษไม่เหมือนใคร และคำตอบของนักบุญเปโตรก็รับรองความจริงนี้ พระเยซูเจ้าเท่านั้นเป็นพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า และพระผู้ช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น


4.    นักบุญมาระโกเล่าว่า บรรดาศิษย์กำลังพัฒนาความเข้าใจถึงพระบุคคลของพระเยซูเจ้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป กระบวนการนี้เรียกร้องความชิดสนิทเป็นกันเองกับพระบุคคลของพระเยซูเจ้า และยังเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ ด้วยความยากลำบาก เราก็เช่นกันจะรู้จักพระเยซูเจ้าทีละเล็กทีละน้อยโดยดำเนินชีวิต ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และมีประสบการณ์มากมายกับพระองค์ ถ้าเราอยู่ห่างไกลจากพระเยซูเจ้าก็เป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้จักพระองค์ เพียงผู้ที่ติดตามพระองค์อย่างใกล้ชิดเท่านั้นจะมีพื้นฐานเพื่อรู้จักพระองค์อย่างเหมาะสม


5.    กระบวนการนี้ต้องใช้เวลานาน อาจพบทั้งความก้าวหน้าและความล้มเหลว บรรดาศิษย์จะบรรลุจุดมุ่งหมายเพียงด้วยความช่วยเหลือของพระเยซูเจ้าและความซื่อสัตย์ของพระองค์ เราอยู่ใต้อิทธิพลจากบุคคลอื่นมากมายที่อ้างว่ามีโครงการและคำสัญญาน่าสนใจเพื่อช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น เราต้องตัดสินใจแน่วแน่ที่จะเลือกพระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ช่วยให้รอดพ้นเพียงพระองค์เดียว เราจึงมอบความไว้วางใจและความซื่อสัตย์แด่พระองค์ การติดตามและการรู้จักพระเยซูเจ้าค้ำจุนซึ่งกันและกัน ยิ่งเราซื่อสัตย์ในการการติดตามพระองค์มากเท่าใด เราก็ยิ่งจะเข้าใจพระองค์มากเท่านั้น และถ้ายิ่งเราเข้าใจพระองค์อย่างลึกซึ้งมากเท่าใด เราก็ยิ่งจะติดตามพระองค์ใกล้ชิดมากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามเราต้องการความช่วยเหลือและคำแนะนำของพระเยซูเจ้าอยู่เสมอ


6.    ก่อนที่พระเยซูเจ้าทรงตั้งคำถามแก่บรรดาศิษย์ ทุกคนที่พบพระองค์มักจะถามว่า “คนนี้เป็นใคร” แต่บัดนี้ พระองค์เองทรงถามเราว่า “ท่านล่ะ ว่าเราเป็นใคร” จนกระทั่งเราตั้งคำถามเกี่ยวกับพระเยซูเจ้าเราก็ไม่เข้าใจพระองค์เลย เราเริ่มเข้าใจพระองค์ก็ต่อเมื่อเรายอมให้พระองค์ทรงตั้งคำถามแก่เรา คำตอบของเราไม่ต้องมีลักษณ์เป็นประโยคตายตัวที่เจาะจงมากเกินไปเพราะต้องช่วยเราให้เข้าสัมพันธ์กับพระบุคคลของพระองค์ เป็นคำถามที่เรียกร้องคำตอบใหม่ทุกวัน และท้าทายเราให้ตอบด้วยความเชื่อว่า พระองค์ทรงมีความหมายใดสำหรับชีวิตของเรา


7.    พระเยซูเจ้าทรงถามเราแต่ละคนว่า “เราเป็นพระผู้ช่วยท่านให้รอดพ้นและพระเจ้าของท่านหรือไม่” ท่านปรารถนาที่จะรู้จักพระธรรมล้ำลึกของเราหรือ ท่านยอมรับแม้การตักเตือนของเราหรือ พร้อมที่จะรักและติดตามเราอยู่กับเราดังที่เราเป็นแม้ในสถานที่ที่ไม่คาดฝัน และจะช่วยท่านให้รอดพ้นดังที่ท่านไม่คิดว่าเป็นไปได้หรือ” คำตอบของเราต้องเป็นคำตอบชั่วคราว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา


8.    บ่อยครั้ง เราไม่แสวงหาพระบุคคลของพระเยซูเจ้า แต่แสวงหาของประทานจากพระองค์ ทำให้พระองค์ทรงเป็นสิ่งเดียวกันกับของประทานเหล่านั้นและทรงเป็นเหมือนรูปเคารพ ไม่ใช่พระบุคคลผู้ทรงชีวิต เรามักจะพยายามปกป้องตนเองจากความใหม่ที่พระเยซูเจ้าทรงนำมาให้ พระวาจาของพระเจ้าทรงชีวิตและทรงพลังอยู่เสมอ แต่หลายครั้งเราเกียจคร้านที่จะคิดให้เกิดผลในชีวิต ทำให้พระวาจาเป็นเพียงคำพูดในอดีตเท่านั้น

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก