“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“จงตั้งใจฟังให้ดี”

19. อุปมาสั้น ๆ สี่เรื่อง  (มก 4:21-25) 
           4 21พระเยซูเจ้ายังตรัสอีกว่า “เขาจุดตะเกียงวางไว้ใต้ถังหรือใต้เตียงหรือมิใช่วางไว้บนที่ตั้งตะเกียงหรือ 22เช่นเดียวกันไม่มีสิ่งใดที่ซ่อนอยู่จะไม่ปรากฏชัดแจ้งไม่มีสิ่งใดที่ปิดบังไว้จะไม่ปรากฏออกมา 23ใครมีหูสำหรับฟังก็จงฟังเถิด” 
 24พระองค์ตรัสอีกว่า “จงตั้งใจฟังให้ดีท่านตวงให้เขาอย่างไรเขาก็จะตวงให้ท่านอย่างนั้นและจะเพิ่มให้อีกด้วย 25ผู้ที่มีมากจะได้รับมากขึ้นส่วนผู้ที่มีน้อยสิ่งเล็กน้อยที่เขามีจะถูกริบไปด้วย”

a) อธิบายความหมาย
หลังจากที่นักบุญมาระโกได้เขียนข้อความที่อธิบายอุปมาเรื่องผู้หว่านแล้ว(4:13-20)ก็ได้รวบรวมพระวาจาของพระเยซูเจ้า 4 ประโยคไว้ด้วยกันคือพระวาจาเกี่ยวกับตะเกียง(ข้อ 21)เกี่ยวกับสิ่งใดที่ปิดบังไว้จะปรากฏออกมา (ข้อ 22)  เกี่ยวกับสิ่งที่เราตวงให้ผู้อื่นเท่าใด เราก็จะได้รับเท่านั้น(ข้อ 24)  และพระวาจาเกี่ยวกับผู้ที่มีอยู่แล้วก็จะได้รับมากยิ่งขึ้น (ข้อ 25) 

พระวาจาเหล่านี้กล่าวถึงเรื่องที่แตกต่างกันและไม่ค่อยต่อเนื่องกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเมื่อพระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอน บรรดาศิษย์ผู้ฟังพระองค์ก็พยายามจดจำพระวาจาที่ประทับใจ และเล่าสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ แต่เขาจำไม่ได้ว่าพระองค์ตรัสในบริบทใด ดังนั้น นักบุญมาระโกจึงรวบรวมพระวาจาเหล่านี้โดยเรียบเรียงเป็นอุปมาสั้นๆ สองเรื่อง แต่ละเรื่องเกริ่นนำด้วยคำว่า "พระเยซูเจ้ายังตรัสอีกว่า" อุปมาเรื่องแรกจบลงด้วยคำตักเตือนว่า "จงฟังเถิด" ส่วนอุปมาเรื่องที่สองเริ่มต้นโดยใช้คำว่า"จงตั้งใจฟังให้ดี" โครงสร้างตายตัวเช่นนี้ แสดงว่าเป็นผลงานของนักบุญมาระโกอย่างแน่นอน เพราะเรายังพบพระวาจาดังกล่าวนี้ในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิวอีกด้วย(มธ 5:15; 7:2; 10:26; 13:12) แต่นักบุญมัทธิวบันทึกแต่ละพระวาจาในบริบทต่างกัน ทำให้พระวาจาดังกล่าวชัดเจนขึ้นในบริบทที่ต่างจากนักบุญมาระโก

- เขาจุดตะเกียง พระวาจาแรกกล่าวถึงตะเกียง ภาพของตะเกียงชวนให้คิดถึงลักษณะบ้านที่อยู่อาศัยในปาเลสไตน์ ซึ่งมักจะเป็นห้องเดียวที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ทุกสิ่งทุกอย่างในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นเตียง เครื่องมือต่าง ๆ และแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยง ในพระคัมภีร์เราพบภาพของตะเกียงบ่อย ๆ ในความหมายพระวาจาของพระเจ้าหรือของบรรดาประกาศก เช่น “พระวาจาของพระองค์เป็นโคมส่องทางของข้าพเจ้า”(สดด 119:105; เทียบ บสร 48:1; 2 ปต 1:19) หรือ พระเยซูเจ้าทรงอ้างถึงยอห์นผู้ทำพิธีล้างว่า "เป็นเหมือนตะเกียงสว่างไสวที่จุดอยู่" (ยน 5:35) และพระองค์ตรัสอีกว่า “เราเป็นแสงสว่างส่องโลก” (ยน 8:12) ในที่นี้ พระเยซูเจ้าทรงใช้ภาพตะเกียงหมายถึง ความจริงเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้า ซึ่งเป็นเหมือนแสงที่ทุกคนจะต้องรับรู้และส่องสว่างในความมืด คือส่องสว่างแก่ผู้ไม่มีความรู้ เป็นแสงที่ส่องสว่างในจิตใจมนุษย์

- วางใต้ถังหรือใต้เตียงหรือ จุดประสงค์ของตะเกียงคือส่องสว่าง ดังนั้น จึงไร้ความหมายถ้าวางไว้ใต้ถังเพราะจะดับหรือวางไว้ใต้เตียงคือซ่อนอยู่และไม่มีประโยชน์ใดเลย

- มิใช่วางไว้บนที่ตั้งตะเกียงหรือ ที่ตั้งตะเกียงเป็นสถานที่ที่ถูกต้องสำหรับเรา ถ้าตะเกียงเป็นสัญลักษณ์ของพระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นพระอาณาจักรของพระเจ้า ที่ตั้งตะเกียงก็เป็นสัญลักษณ์ของไม้กางเขน เพราะไม้กางเขนเปิดเผยว่า พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใด ดังที่นักบุญมาระโกจะเล่าในตอนสุดท้ายของพระวรสารว่า เมื่อนายร้อยคนต่างศาสนาเห็นว่าพระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์อย่างไร เขาก็มีความเชื่อว่าพระองค์คือพระบุตรของพระเจ้า (เทียบ มก 15:39)

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก