“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

ชาวฟาริสีขอเครื่องหมายจากฟ้า

          16 1ชาวฟาริสีและชาวสะดูสีเข้ามาจับผิดพระองค์ ขอให้ทรงแสดงเครื่องหมายจากฟ้า

          2พระองค์ทรงตอบพวกเขาว่า “ตอนเย็น ท่านทั้งหลายพูดว่า ‘อากาศจะดี เพราะฟ้าสีแดง’ 3ตอนเช้า ท่านพูดว่า ‘วันนี้จะมีพายุ เพราะฟ้าสีแดงคล้ำ’ ท่านรู้ว่าอากาศจะเป็นอย่างไรจากลักษณะท้องฟ้า แล้วเหตุใดจึงไม่เข้าใจเครื่องหมายแห่งกาลเวลาเล่าa   4คนชั่วร้ายและไม่ซื่อสัตย์อยากเห็นเครื่องหมายหรือ จะไม่มีเครื่องหมายอะไรให้เห็น เว้นแต่เครื่องหมายของประกาศกโยนาห์” แล้วพระองค์ทรงแยกจากคนเหล่านั้นเสด็จจากไป

เชื้อแป้งของชาวฟาริสีและชาวสะดูสี

          5บรรดาศิษย์ข้ามฝั่งทะเลสาบ ลืมนำขนมปังไปด้วย 6พระเยซูเจ้าตรัสแก่เขาว่า “จงระวังให้ดี จงระวังเชื้อแป้งของชาวฟาริสีและชาวสะดูสี” 7บรรดาศิษย์จึงพูดกันว่า “นี่เป็นเพราะเราไม่ได้นำขนมปังมา” 8พระเยซูเจ้าทรงทราบจึงตรัสว่า “ท่านช่างมีความเชื่อน้อย ทำไมจึงถกเถียงกันเรื่องไม่มีขนมปัง 9ท่านยังไม่เข้าใจหรือ ท่านจำไม่ได้หรือเรื่องขนมปังห้าก้อนเลี้ยงคนห้าพันคน ท่านเก็บเศษที่เหลือได้กี่กระบุง 10หรือเรื่องขนมปังเจ็ดก้อนเลี้ยงคนสี่พันคน ท่านเก็บเศษที่เหลือได้กี่ตะกร้า 11ทำไมท่านจึงไม่เข้าใจว่าเราไม่ได้พูดเรื่องขนมปัง เราบอกให้ระวังเชื้อแป้งของชาวฟาริสีและชาวสะดูสี” 12บรรดาศิษย์จึงเข้าใจว่าพระองค์มิได้ตรัสให้ระวังเชื้อแป้งขนมปัง แต่ให้ระวังคำสอนของชาวฟาริสีและชาวสะดูสีb

เปโตรประกาศความเชื่อ

          13พระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงเขตเมืองซีซารียาแห่งฟีลิปและตรัสถามบรรดาศิษย์ว่า “คนทั้งหลายกล่าวว่าบุตรแห่งมนุษย์เป็นใคร” 14เขาทูลตอบว่า “บ้างกล่าวว่าเป็นยอห์นผู้ทำพิธีล้าง บ้างกล่าวว่าเป็นประกาศกเอลียาห์ บ้างกล่าวว่าเป็นประกาศกเยเรมีย์หรือประกาศกองค์ใดองค์หนึ่ง”c

          15พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านล่ะคิดว่าเราเป็นใคร” 16ซีโมนเปโตรทูลตอบว่า “พระองค์คือพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงชีวิต”d 17พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “ซีโมนบุตรของยอห์น ท่านเป็นสุขเพราะไม่ใช่มนุษย์eที่เปิดเผยให้ท่านรู้ แต่พระบิดาเจ้าของเราผู้สถิตในสวรรค์ทรงเปิดเผย 18เราบอกท่านว่า ท่านเป็นศิลาf และบนศิลานี้เราจะสร้างพระศาสนจักรของเราg ประตูนรกhจะไม่มีวันชนะพระศาสนจักรได้ 19เราจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์ให้ ทุกสิ่งที่ท่านจะผูกบนแผ่นดินนี้ จะผูกไว้ในสวรรค์ด้วย ทุกสิ่งที่ท่านจะแก้ในแผ่นดินนี้ ก็จะแก้ในสวรรค์ด้วย”i 20แล้วพระองค์ทรงกำชับบรรดาศิษย์มิให้บอกใครว่า พระองค์คือพระคริสตเจ้า

พระเยซูเจ้าทรงทำนายเรื่องพระทรมานเป็นครั้งแรก

          21ตั้งแต่นั้นมาj พระเยซูเจ้าทรงเริ่มแจ้งแก่บรรดาศิษย์ว่า พระองค์จะต้องเสด็จไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่อรับการทรมานอย่างมากจากบรรดาผู้อาวุโส หัวหน้าสมณะและธรรมาจารย์ จะถูกประหารชีวิต แต่จะทรงกลับคืนพระชนมชีพในวันที่สาม

          22เปโตรนำพระองค์แยกออกไป ทูลทัดทานว่า “ขอเถิด พระเจ้าข้า เหตุการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้นกับพระองค์อย่างแน่นอน” 23แต่พระองค์ทรงหันมาตรัสแก่เปโตรว่า “เจ้าซาตาน ถอยไปข้างหลังเรา เจ้าเป็นเครื่องกีดขวางเราk เจ้าไม่คิดอย่างพระเจ้า แต่คิดอย่างมนุษย์”

เงื่อนไขในการติดตามพระคริสตเจ้า

          24พระเยซูเจ้าตรัสแก่บรรดาศิษย์ว่า “ถ้าผู้ใดอยากตามเรา ก็จงเลิกคิดถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขนของตนและติดตามเรา 25ผู้ใดใคร่รักษาชีวิตของตนให้รอดพ้น ก็จะสูญเสียชีวิต แต่ถ้าผู้ใดเสียชีวิตของตนเพราะเรา ก็จะพบชีวิตl 26มนุษย์จะได้ประโยชน์ใดในการที่ได้โลกทั้งโลกเป็นกำไร แต่ต้องเสียชีวิต มนุษย์จะต้องให้สิ่งใดเพื่อแลกกับชีวิตที่สูญเสียไปให้กลับคืนมา”

          27“บุตรแห่งมนุษย์จะเสด็จกลับมาในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาพร้อมกับบรรดาทูตสวรรค์ เมื่อนั้นพระองค์จะประทานรางวัลแก่ทุกคนตามความประพฤติของเขาm 28เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า บางท่านที่ยืนอยู่ที่นี่จะยังไม่ตาย จนกว่าจะได้เห็นบุตรแห่งมนุษย์เสด็จกลับมาในพระอาณาจักรของพระองค์”n

 

16 a สำเนาโบราณบางฉบับละ “ตอนเย็น…แห่งกาลเวลา” “กาลเวลา” หมายถึงสมัยของพระเมสสิยาห์ ส่วน “เครื่องหมาย” หมายถึงอัศจรรย์ที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำ (เทียบ 11:3-5; 12:38)

b เชื้อแป้งทำให้แป้งดิบฟูขึ้น (13:33) แต่อาจทำให้แป้งเสียได้ด้วยฉันใด (เทียบ 1 คร 5:6; กท 5:9) คำสอนผิดของผู้นำชาวยิวอาจชักนำคนที่เขามีหน้าที่ดูแลให้หลงผิดไปได้ด้วยฉันนั้น (เทียบ มธ 15:14)

c พระเยซูเจ้าทรงอ้างว่าเป็น “ประกาศก” เพียงในทางอ้อม (13:57ฯ//; ลก 13:33) แต่ประชาชนให้ตำแหน่งนี้แด่พระองค์อย่างชัดแจ้ง (มธ 16:14//; 21:11, 46; มก 6:15//; ลก 7:16, 39; 24:19; ยน 4:19; 9:17) ตำแหน่งนี้บอกถึงลักษณะของพระเมสสิยาห์ด้วย เพราะไม่มีประกาศกอีกเลยตั้งแต่สมัยประกาศกมาลาคี และชาวยิวรอคอยยุคที่จะมีประกาศกอีก เป็นเครื่องหมายของยุคพระเมสสิยาห์ เมื่อประกาศกเอลียาห์จะกลับมา (17:10-11//) หรือเมื่อพระจิตเจ้าจะเสด็จมาบันดาลให้ทุกคนเป็นประกาศก (กจ 2:17-18, 33) แท้จริงแล้ว ในสมัยพระเยซูเจ้ามีประกาศกปลอมมากมาย (24:11, 24//) ยอห์นผู้ทำพิธีล้างเป็นประกาศกแท้ (11:9//; 14:5; 21:26//; ลก 1:76) เพียงในฐานะผู้ที่มีจิตตารมณ์ของประกาศกเอลียาห์นำหน้าพระเมสสิยาห์ (มก 11:10//, 14; 17:12//) ยอห์นได้ปฏิเสธ (ยน 1:21) ว่าท่านมิได้เป็น “ประกาศก” ที่โมเสสกล่าวถึงใน ฉธบ 18:15 คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเจ้าเท่านั้นเป็นประกาศกองค์นั้น (ยน 6:14; 7:40; กจ 3:22-26, 26 เชิงอรรถ s) หลังจากวันเปนเตกอสเต คริสตชนทุกคนเป็นประกาศกในฐานะที่เป็นผู้ประกาศพระวาจา (กจ 11:27 เชิงอรรถ m) และหลังจากนั้น คริสตชนมักใช้ตำแหน่งอื่นนอกเหนือจากตำแหน่ง “ประกาศก” เพื่ออธิบายบทบาทเฉพาะของพระเยซูเจ้า

d ใน มธ เปโตรไม่เพียงแต่ยอมรับว่าพระเยซูเจ้าเป็นพระเมสสิยาห์เท่านั้น แต่ยังยืนยันว่าพระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้าด้วย เราไม่พบตำแหน่งที่สองนี้ใน มก และ ลก (เทียบ 14:33 กับ มก 6:51ฯ ดู 4:3 เชิงอรรถ e)

e แปลตามตัวอักษรได้ว่า “เนื้อและเลือด” สำนวนนี้บ่งความเป็นมนุษย์ เน้นในด้านความเป็นวัตถุมีขอบเขตจำกัด ตรงข้ามกับสิ่งที่เราเรียกว่า โลกฝ่ายจิต (บสร 14:18; รม 7:5 เชิงอรรถ c; 1 คร 15:50; กท 1:16; อฟ 6:12; ฮบ 2:14 เทียบ ยน 1:13)

f ทั้งคำภาษากรีก petros และภาษาอาราเมอิกว่า kepha (“หิน”) ไม่เคยใช้เป็นชื่อคนก่อนที่พระเยซูเจ้าจะใช้เรียกหัวหน้าของบรรดาอัครสาวก พระเยซูเจ้าทรงใช้นามนี้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงบทบาทที่เปโตรจะต้องทำในการก่อสร้างพระศาสนจักร เป็นไปได้ว่าพระเยซูเจ้าทรงเปลี่ยนชื่อของเปโตรก่อนหน้านั้นแล้ว (ดู มก 3:16; ลก 6:14; ยน 1:42)

g “พระศาสนจักร” คำภาษาฮีบรู “qahal” ภาษากรีก “ekklesia” หมายถึง “ชุมชนที่มาชุมนุมกัน” ในพันธสัญญาเดิมใช้บ่อยๆ หมายถึงประชากรที่ทรงเลือกสรรมาชุมนุมกัน โดยเฉพาะชุมชนที่เดินทางในถิ่นทุรกันดารสมัยอพยพ (เทียบ กจ 7:38 ชาวยิวบางกลุ่ม เช่นพวก Essenes แห่งคุมราน เป็นต้น) คิดว่าตนเป็นประชากรที่เหลือของอิสราเอล (อสย 4:3 เชิงอรรถ c) ซึ่งจะอยู่รอดจนถึงวันสุดท้าย กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ยังใช้คำคำนี้หมายถึงกลุ่มชนยุคพระเมสสิยาห์ คริสตชนใช้คำนี้เช่นกันหมายถึงชุมชนแห่ง “พันธสัญญาใหม่” ที่พระเยซูเจ้าได้ทรงหลั่งพระโลหิตกระทำให้สำเร็จไป (26:28 เชิงอรรถ f; อฟ 5:25) พระเยซูเจ้าทรงใช้คำ “พระศาสนจักร” ควบคู่ไปกับคำ “อาณาจักรสวรรค์” (4:17 เชิงอรรถ f) เพื่อแสดงว่าชุมชนแห่งยุคสุดท้ายเริ่มตั้งแต่ในโลกนี้ ในรูปแบบสังคมที่มีระเบียบ และพระองค์ทรงแต่งตั้งเปโตรให้เป็นผู้นำชุมชนนี้ (ดู กจ 5:11 เชิงอรรถ b; 1คร 1:2 เชิงอรรถ a)

h “นรก” คำภาษากรีก Hades คำภาษาฮีบรู Sheol หมายถึงสถานที่อยู่ของบรรดาผู้ตาย (ดู กดว 16:33 เชิงอรรถ f) คำว่า “ประตูนรก” หมายถึงอำนาจแห่งความชั่วร้าย ซึ่งชักนำมนุษย์ให้เข้าสู่ความตายแรกคือบาป จากนั้นจึงกักขังเขาไว้ตลอดไปในความตายนิรันดร หน้าที่ของพระศาสนจักรคือช่วยผู้รับเลือกสรรให้พ้นจากอำนาจของความตาย จากความตายฝ่ายกาย และโดยเฉพาะจากความตายนิรันดร และนำเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ (ดู 1 คร 15:26; คส 1:13; วว 6:8; 20:13) ดังนั้น พระศาสนจักรจึงดำเนินตามพระอาจารย์ที่ทรงสิ้นพระชนม์ เสด็จลงสู่แดนผู้ตายหรือแดนมรณะ (ดู 1 ปต 3:19 เชิงอรรถ h) และกลับคืนพระชนมชีพอีกครั้งหนึ่ง (กจ 2:27, 31)

i นครแห่งพระเจ้า เช่นเดียวกับนครแห่งความตาย มีประตูเช่นกัน และประตูนี้จะเปิดให้เข้าไปเฉพาะคนที่เหมาะสม เปโตรมีกุญแจ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของท่านที่จะปิดหรือเปิดรับคนให้เข้ามาในอาณาจักรสวรรค์ โดยผ่านการเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร “ผูก” และ “แก้” เป็นศัพท์เฉพาะของพวกธรรมาจารย์ ตามความหมายแรกเกี่ยวกับระเบียบวินัย “ผูก” หมายถึงการลงโทษให้ถูกขับไล่จากหมู่คณะ “แก้” หมายถึงอนุญาตให้กลับมาอยู่ในหมู่คณะอีก ตามความหมายที่สองเกี่ยวกับการตัดสินด้านคำสอนหรือกฎหมาย “ผูก” หมายถึง “ห้าม” “แก้” หมายถึง “อนุญาต” เปโตรเป็นผู้ดูแลคนที่อยู่ในบ้านของพระเจ้า (กุญแจ เป็นสัญลักษณ์หมายถึงหน้าที่นี้ - เทียบ อสย 22:22) ท่านมีหน้าที่รักษาระเบียบและมีอำนาจที่จะรับผู้ที่ท่านเห็นว่าเหมาะสม หรือไม่รับผู้ที่ท่านเห็นว่าไม่เหมาะสม ท่านยังมีอำนาจตัดสินในเรื่องข้อคำสอนและเรื่องระเบียบวินัยเพื่อบริหารหมู่คณะ คำประกาศเรื่องคำสอนและคำตัดสินเรื่องระเบียบวินัยของท่านเป็นอย่างไร พระเจ้าในสวรรค์ก็ทรงรับรองในสวรรค์ด้วย นักพระคัมภีร์คาทอลิกสอนว่าคำสัญญานี้ใช้ได้มิใช่เฉพาะกับเปโตรเท่านั้น แต่ใช้ได้กับผู้สืบตำแหน่งของเปโตรด้วย การกล่าวสรุปเช่นนี้แม้ไม่บอกอย่างชัดเจนในข้อความของพระวรสาร แต่เป็นข้อสรุปที่สมเหตุสมผล เพราะพระเยซูเจ้าทรงมุ่งหมายจะจัดการเกี่ยวกับอนาคตของพระศาสนจักร โดยจัดโครงสร้างซึ่งจะไม่ล้มเลิกไปหลังความตายของเปโตร ยังมีข้อความอีกสองตอน (ลก 22:31ฯ และ ยน 21:15ฯ) กล่าวถึงตำแหน่งประมุขของเปโตรในด้านความเชื่อ ข้อความทั้งสองนี้แสดงว่าเปโตรไม่เป็นเพียงหัวหน้าของพระศาสนจักรหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าแล้วเท่านั้น แต่ยังเป็นหัวหน้าของบรรดาอัครสาวกในขณะนั้นอีกด้วย

j พระเยซูเจ้าทรงเร่งเร้าให้บรรดาศิษย์ยืนยันความเชื่อชัดเจนเป็นครั้งแรกว่า พวกเขารับว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ ในเวลาสำคัญเช่นนี้พระองค์ทรงบอกเป็นครั้งแรกเช่นกันถึงพระทรมานที่จะเกิดขึ้น พระองค์มิใช่พระเมสสิยาห์ผู้ทรงความรุ่งโรจน์เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้รับใช้ที่รับการทรมานด้วย ในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังจากนั้น พระองค์ยังคงสั่งสอนด้วยวิธีเดียวกัน เมื่อทรงสำแดงพระองค์อย่างรุ่งโรจน์แล้ว ได้ทรงกำชับไม่ให้บรรดาศิษย์เล่าเหตุการณ์นี้ให้ใครทราบและทรงทำนายถึงพระทรมาน (17:1-12) พระเยซูเจ้าทรงใช้วิธีนี้เพื่อเสริมความเชื่อของบรรดาศิษย์ให้เข้มแข็ง เมื่อจะต้องเผชิญวิกฤตการณ์การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพ

k เปโตรขัดขวางวิธีการที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้สำหรับพระเมสสิยาห์ จึงกลายเป็นเครื่องมือของปีศาจโดยไม่รู้ตัว (เทียบ 4:1-10)

l เป็นความจริงที่ดูเหมือนขัดแย้งในตัวเอง ข้อความนี้และข้อความถัดไปเล่นคำในความหมายของคำว่า “ชีวิต” ซึ่งอาจหมายถึงชีวิตปัจจุบัน คำกรีก psyche เท่ากับคำฮีบรูว่า nephesh มีความหมายสามอย่าง คืออาจหมายถึง “ชีวิต” “วิญญาณ” และ “บุคคล”

m “ความประพฤติของเขา” สำเนาโบราณบางฉบับว่า “กิจการของเขา”

n ในข้อ 27-28 พระวาจาสองประโยคของพระเยซูเจ้าซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ต่างกัน ได้ถูกนำเข้ามาไว้ด้วยกัน เพราะกล่าวถึงพระอาณาจักรของพระเจ้าซึ่งกำลังจะมาถึง

     ข้อ 27 กล่าวถึงพระอาณาจักรของพระบิดา

     ข้อ 28 กล่าวถึงพระอาณาจักรของพระคริสตเจ้า (ดู 24:1 เชิงอรรถ a)

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2024
วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 9:31-42) ขณะนั้น พระศาสนจักรมีสันติภาพทั่วแคว้นยูเดีย กาลิลีและสะมาเรีย พระศาสนจักรเติบโตขึ้น มีความเคารพยำเกรงองค์พระผู้เป็นเจ้า และได้รับกำลังใจจากพระจิตเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อเปโตรเดินทางไปเยี่ยมผู้มีความเชื่อในที่ต่างๆ เขาไปเยี่ยมบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในเมืองลิดดาด้วย ที่นั่นเขาพบชายคนหนึ่งชื่อไอเนอัส เป็นอัมพาตนอนอยู่บนแคร่มาแปดปีแล้ว เปโตรจึงพูดกับเขาว่า “ไอเนอัสเอ๋ย พระเยซูคริสตเจ้าทรงรักษาท่านให้หาย จงลุกขึ้นและเก็บที่นอนเถิด” เขาก็ลุกขึ้นทันที...
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 9:1-20)...
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 8:26-40)...
วันพุธที่ 17 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 7:51-8:1ก)...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์