“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

ข้อคิดจากพระวาจาประจำวัน  โดย..คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2016

สัปดาห์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา ลก:15:12-17

เวลานั้น บรรดา​คน​เก็บ​ภาษี​และ​คน​บาป​เข้า​มา​ใกล้​เพื่อ​ฟัง​พระ​เยซู​เจ้า ชาวฟา​ริ​สี​และ​ธรร​มา​จารย์​ต่าง​บ่น​ว่า
“​คน​นี้​ต้อนรับ​คน​บาป​และ​กิน​อาหาร​ร่วมกับ​เขา” พระองค์​จึง​ตรัส​อุปมา​เรื่อง​นี้​ให้​เขา​ฟัง

“​ท่าน​ใด​ที่​มี​แกะ​หนึ่ง​ร้อย​ตัว ตัว​หนึ่ง​หายไป จะ​ไม่​ละ​แกะ​เก้า​สิบ​เก้า​ตัว​ไว้​ใน​ถิ่น​ทุรกันดาร ออกไป​ตาม​หา​แกะ​ที่​หายไป​จน​พบ​หรือ เมื่อ​พบ​แล้ว เขา​จะ​ยก​มัน​ใส่​บ่า​ด้วย​ความ​ยินดี กลับ​บ้าน เรียก​มิตร​สหาย​และ​เพื่อน​บ้าน​มา พูด​ว่า ‘​จง​ร่วม​ยินดี​กับ​ฉัน​เถิด ฉัน​พบ​แกะ​ตัว​ที่​หายไป​นั้น​แล้ว​’ เรา​บอก​ท่าน​ทั้งหลาย​ว่า​ใน​สวรรค์​จะ​มี​ความ​ยินดี​เช่นนี้​เพราะ​คน​บาป​คน​หนึ่ง​กลับ​ใจ​มากกว่า​ความ​ยินดี​เพราะ​คน​ชอบ​ธรรม​เก้า​สิบ​เก้า​คน​ที่​ไม่​ต้องการ​กลับ​ใจ”

“​หญิง​คน​ใด​ที่​มี​เงิน​สิบ​เหรียญ​แล้ว​ทำ​หายไป​หนึ่ง​เหรียญ จะ​ไม่​จุด​ตะเกียง กวาด​บ้าน ค้นหา​อย่าง​ถี่​ถ้วน​จนกว่า​จะ​พบ​หรือ เมื่อ​พบ​แล้ว นาง​จะ​เรียก​มิตร​สหาย​และ​เพื่อน​บ้าน​มา​พูด​ว่า ‘​จง​ร่วม​ยินดี​กับ​ฉัน​เถิด ฉัน​พบ​เงิน​เหรียญ​ที่​หายไป​แล้ว​’ เรา​บอก​ท่าน​ทั้งหลาย​ว่า​ทูต​สวรรค์​ของ​พระ​เจ้า​จะ​มี​ความ​ยินดี​เช่นเดียวกัน เมื่อ​คน​บาป​คน​หนึ่ง​กลับ​ใจ”

(พระวาจาของพระเจ้า)

------------------

จะปล่อยไป หรือ จะยื่นมือออกมาจับ
ในกรณีที่เราต้องตัดสินใจ “ช่วยเหลือ จับจูง ปกป้อง ช่วยเหลือ” ที่เป็นลักษณะของ “ความรัก ความเมตตา”  
โอกาสที่เราจะยื่นมือออกไป หรือ
ปล่อยไป
เรื่องแบบนี้ “การจับมือ” เป็นสิ่งที่แสดงออกถึง การช่วยเหลือ การให้โอกาส การกลับคืนดีให้กลับคืนมา ที่เป็น “พฤติกรรมที่พึงประสงค์” ของบุคคลแห่งความรัก ความเมตตา ที่ไม่ต้องอธิบาย หรือ สอนชี้แนะให้มากเกินไป
คุณค่า ที่เราสอนให้ช่วยเหลือกัน  ให้ห่วงใยไม่ทิ้งกัน ให้โอกาสและเวลาในการปรับปรุงตัวเอง คืนดีและให้อภัยกัน เป็นคุณธรรมที่ดีงาม ที่คงไม่ได้เกิดแค่พวกตัวเองเท่านั้น แต่ถ้าขยายวง เปิดกว้างสำหรับคนอื่น  ดุจดังพี่น้องท้องเดียวกัน เป็นการยกความเมตตาธรรมสามัญ ความกรุณาธรรมดาๆ ให้เป็น “ความเมตตาที่สะท้อนพระเมตตา ธรรมของ พระเจ้าองค์ความเมตตา ดุจดังบิดาผู้ทรงเมตตา” ได้
และเรื่องนี้ ก็ถูกเล่าในพระวาจาในวันอาทิตย์นี้
ในหนังสืออพยพ โมเสสอ้อนวอนองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของตนว่า “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า ทำไมพระองค์ ทรงปล่อย ให้พระพิโรธเผาผลาญประชากรของพระองค์ ที่พระองค์ได้ทรงนำออกมาจากแผ่นดินอียิปต์ด้วยอานุภาพยิ่งใหญ่และด้วยพระหัตถ์ทรงฤทธิ์”
ถ้าพูดแค่นี้ เล่าแค่นี้ พระเจ้าจะเป็นผู้ใจร้าย เจ้านายอารมณ์บูดเป็นแน่

แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ความเมตตา การให้อภัย ไม่ใช่การทนดูดาย มองเมินข้ามไป ไม่สนใจในความผิดซ้ำซาก
ความเมตตา เป็นการกระตุ้นด้วยความรัก
ไม่ใช่ เป็นการให้แบบไม่ยั้งคิด
ความเมตตา เป็นการท้าทายให้เปลี่ยนแปลงมาสู่ ทางที่ควร
ไม่ใช่ ปล่อยเลยเถิด ตามใจจนกู่ไม่กลับ
และพระเมตตาของพระเจ้า “ตีสอน” ชาวอิสราเอล เพื่อให้ “จิตใจที่บอบช้ำ” เหมือน “กระท้อนที่ต้องทุบ จึงจะเนื้อฟู” จิตใจที่ชอกช้ำ จะมีเวลาหยุด รินน้ำตา เพื่อจะสำนึกมากกว่าดึงดันต่อไป จะหลงหนักกว่าเดิม จนเดินจนหายนะ

ดังนั้น พระเมตตาและการตีสอน ไม่ได้ขัดแย้งกันเลย อย่างไรก็ตาม “ตีด้วยรัก ชักนำให้ถูกทาง เหมือนรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี เป็นแนวทางของความเมตตา ไม่ใช่ วิธีระบายอารมณ์เหมือนบางหนบางทีที่ตีลูก

จดหมายนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงทิโมธี ฉ.1 ก็บอกไว้ว่า
“ข้าพเจ้าเป็นคนแรกในบรรดาคนบาปเหล่านี้ ด้วยเหตุ นี้ พระองค์จึงทรงแสดงพระเมตตากรุณาต่อข้าพเจ้า”  
ก็เล่าถึงพระเมตตาของพระเจ้า ในประสบการณ์ของเปาโล ที่ถูกขังคุก เรือที่โดยสารไปก็ล่ม ติดเกาะ ถูกเนรเทศ ถูกขังคุก
ประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต ในมุมพิจารณาของการ “ตีสอน” ของพระเจ้า กลับทำให้เราเห็นพระเมตตาขององค์ ที่ไม่ได้มาในรูปแบบหลักคิด ที่เอาแต่ตามใจ ตามมาเอาใจ ปกป้องทำแทนอุ้มชูเหมือนไข่ในหิน
แต่ประสบการณ์ที่ต้องฟันฝ่า บากบั่น พากเพียร ทำให้เกิดภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิคุ้มกัน

ดังคำของพระท่านหนึ่ง นักเทศน์ได้บอกสอนไว้ว่า

​ถ้าเราทำงานจนเมื่อยมือเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีมือให้เมื่อย
ถ้าเราเดินไปเดินมาจนปวดขาเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีขาให้ปวด
​ถ้าเราเห็นหัวหน้า แล้วเซ็งเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีหัวหน้าให้เซ็ง
​ถ้าเราเห็นงานแล้วเราเบื่องานเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีงานให้เบื่อ
​เราต้องไม่เหนื่อยเบื่อ กับความบากบั่น
​เราต้องไม่เหนื่อยหน่าย กับความพากเพียร
​เราต้องไม่ระอาเหนื่อยล้า กับความพยายาม

​พระเมตตาของพระเจ้า “ปรากฎอย่างมีค่า” “มีพลังต่อการเปลี่ยนแปลง” ในชีวิตจิตใจคนที่มีความพยายาม มีความบากบั่นสู้ มีเวลาไตร่ตรองภาวนามองย้อนหลังในกองทุกข์
ไม่ใฝ่หา “ติดแต่สุข” ที่เป็นที่ขัดขวาง การ ช่วงเวลา การมองพิจารณาชีวิต การไตร่ตรองครุ่นคิด ที่เป็น “ปัจจัย” สำคัญในการ
​“พิจารณาถึงพระเมตตาของพระเจ้าใน ชีวิตของเราแต่ละคน”
​ดังเรื่องเล่าเปรียบเทียบ
​“แกะหนึ่งร้อยตัว ตัวหนึ่งหายไป“เงินเหรียญที่หายไป”
​สาระสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่ “ให้น้ำหนักสำคัญ” กับ ปริมาณหนึ่งตัวหรือหนึ่งเหรียญ
​แต่ภาพสะท้อนพระเมตตาของพระเจ้า แบบที่บอกได้ว่า “ถึงที่สุด”
ถ้าคนคนหนึ่งจะเสียไป ตกในบาปเพราะหันเข็มทิศเข้าหาตัว หันเหตุผลเข้าข้างตน
กระบวน การตีสอน การขัดเกลา การตีสอน จะเริ่ม
ความรัก จะไม่ตีกัน เพราะ “เกลียดชัง”
​แต่จะตีให้จำ ทำให้กลับตัว เพื่อ ความบอบช้ำจะทำให้ใจอ่อนลงจะได้ไม่ดึงดันแข็งเข้าใส่ จะได้ไม่หลงไปกู่ไม่กลับ จะได้มีน้ำตาที่สำนึกได้ จะได้ไม่ตามใจตัวจนแตะต้องโลกส่วนตัวไม่ได้
​แนวทางการดึงกลับ ห่วงใยสุดตัว ต้องใช้ความรักสุดกำลัง แม้จะต้องตีสอนก็ต้องทำ เพื่อให้คนกลับมา จะเสียข้าวของ เสียอดีตที่รุ่งเรือง เสียความภูมิใจที่หลงโง่ไป ถ้าจะได้ “คนหนึ่งกลับมา” ก็สะท้อนถึงพระเมตตาของพระ ที่อาศัย
“มือที่ไม่ยอมปล่อยมือ” “มือที่จับกันของเพื่อนมนุษย์ นับญาตินับพี่นับน้อง ก็คุ้มสำหรับ การแสดงพระเมตตาของพระ ผ่านทางความเมตตาของเพื่อนพี่น้อง
​และ เมื่อตีจนหลาบจำ ทำจนได้ดี เราจะไตร่ตรองมองย้อนกลับไป พบว่า “นี่คือพระเมตตาของพระเจ้า ที่ไม่ยอมปล่อยมือ เราจริงๆ ดัง แกะหนึ่งตัวที่หลงไป เหรียญหนึ่งที่หายไป และได้กลับมา

​ขอพระเจ้าองค์ความเมตตาอวยพรพี่น้องทุกคน

 

(Credit จาก Facebook คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์)

 

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก