“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

ข้อคิดจากพระวาจาประจำวัน  โดย..คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2016

วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา ลก.14:1,7-14

วันสับบาโตวันหนึ่ง พระเยซูเจ้าเสด็จไปเสวยพระ กายาหาร ที่บ้านของหัวหน้าชาวฟาริสีผู้หนึ่ง ผู้ที่อยู่ที่นั่น ต่างจ้องมองพระองค์
พระเยซูเจ้าทรงสังเกตเห็นผู้รับเชิญต่างเลือกที่นั่งที่มีเกียรติ จึงตรัสเป็นอุปมากับเขาว่า “เมื่อมีใครเชิญท่านไปในงานมงคลสมรส อย่าไปนั่งในที่ที่มีเกียรติ เพราะถ้ามีคนสำคัญกว่าท่านได้รับเชิญมาด้วย เจ้าภาพที่เชิญท่านและเชิญเขาจะมาบอกท่านว่า ‘จงให้ที่นั่งแก่ผู้นี้เถิด’ แล้วท่านจะต้องอับอายไปนั่งที่สุดท้าย แต่เมื่อท่านได้รับเชิญ จงไปนั่งในที่สุดท้ายเถิด

เพื่อเจ้าภาพที่เชิญท่านจะมาบอกท่านว่า ‘เพื่อนเอ๋ย จงไปนั่งในที่ที่ดีกว่านี้เถิด’ แล้วท่านจะได้รับเกียรติต่อหน้าผู้ร่วมโต๊ะทั้งหลาย เพราะทุกคนที่ยกตนขึ้นจะถูกกดให้ต่ำลง แต่ทุกคนที่ถ่อมตนลงจะได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น”

  พระองค์ตรัสกับผู้ที่เชิญพระองค์ว่า “เมื่อท่านจัดเลี้ยงอาหารกลางวันหรืออาหารค่ำ อย่าเชิญมิตรสหาย พี่น้องหรือเพื่อนบ้านที่มั่งมี เพราะเขาจะเชิญท่านและท่านจะได้รับการตอบแทน แต่เมื่อท่านจัดงานเลี้ยง จงเชิญคนยากจน คนพิการ คนง่อย คนตาบอด แล้วท่านจะเป็นสุข เพราะคนเหล่านั้นไม่มีสิ่งใดตอบแทนท่านได้ ท่านจะได้รับการตอบแทนจากพระเจ้าเมื่อผู้ชอบธรรมกลับคืนชีวิต”

 (พระวาจาของพระเจ้า)

-------------------

 การเลือกแขก เลือกคน ในความหมาย ของพระวาจาวันนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องการแบ่งชั้นวรรณะ หรือ เลือกที่รักมักที่ชัง แต่เป็น “การสะท้อนภาพ” การกีดกันไม่ให้รู้ การกะเกณฑ์ไม่ให้เข้าถึงข้อมูล ที่วิธีการของ “คน” ที่ไม่นับใครเป็นพี่น้อง ไม่มองใคร เป็นเพื่อนบ้าน ไม่ยอมยกย่องใครเป็นเกี่ยวดองเกี่ยวข้อง ที่เป็น เรื่อง “การไม่รักพี่น้อง”นั่นเอง
 การไม่รักพี่น้อง เป็นเรื่องใหญ่ สำหรับแนวทางคำสอนของพระเยซูคริสตเจ้า บ่อยๆ ครั้ง ที่พูดถึง ใครเรียกพี่น้องว่า “ไอ้บ้า” “ไอ้โง่บัดซบ”  (มัทธิว 5/21) ("ไอ้โง่บัดซบ" เป็นความหมายทั่วไปของคำกรีก "moros" แต่ชาวยิวมักใช้คำนี้เป็นคำด่าผู้ที่ทรยศ)

จากความหมายนี้ ทำให้เราเข้าใจได้ว่า การไม่รักพี่น้อง เริ่มต้นด้วยการ “ดูถูกพี่น้อง” ทำให้พี่น้องเหล่านั้น เข้าไม่ถึง หนทางแห่งปัญญา หนทางแห่งความรอดพ้น หนทางแห่งความสัมพันธ์กับพระเจ้า ที่แสดงออกมาด้วย แบ่งชั้น กีดกัน วัดระดับ ตัดสิน แบ่งกลุ่มชั้นวรรณะ ที่เป็นความไม่น่ารัก
ภาพงานเลี้ยงที่ “ จงเชิญคนยากจน คนพิการ คนง่อย คนตาบอด” ในพระวรสาร บอกกับเราว่า ชุมชนคริสตชน ยุคก่อนได้ปฎิบัติดังนี้ จึงทำให้ภาพคนยากจน คนพิการ คนง่อย เข้าไม่ถึง “ความรอดพ้น” ที่เป็นภาพการเล่าเรื่อง ของงานเลี้ยงแห่ง พระอาณาจักรสวรรค์
(คุมรานคือชุมชนชาวยิวในศตวรรษที่ 1 ที่แยกตัวออกมาจากอิทธิพลของโลกภายนอกเพื่อเตรียม รับการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ พวกเขาเอาจริงเอาจัง กับการภาวนา การชำระตัว และเคร่งครัดในกฎบัญญัติ

 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เหลืออยู่ทำให้เรารู้ว่า พวกเขาไม่อนุญาตให้คนพิการ คนตาบอด หรือคนง่อย เข้ามาในชุมชน เพราะพวกเขาเชื่อว่าใครก็ตามที่มี  “ตำหนิ”  ทางด้านร่างกายถือเป็นคนไม่สะอาด เมื่อใดที่พวกเขามีการรับประทานอาหารร่วมกัน จะไม่มีคนพิการอยู่ในรายชื่อแขกเด็ดขาด

  ประวัติ กุมราน (Qumran) ใน ค.ศ.1947 คนเลี้ยงแพะคนหนึ่งได้ออกตามหาแพะที่หายไปทางทิศ ตะวันตกใกล้กับชายฝั่งทะเลตาย ได้ค้นพบม้วนหนังสือ อันลือชื่อของทะเลตาย เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ของศตวรรษ เขาได้ขว้างก้อนหินเข้าไปใน รูที่นำเข้าไปในถ้ำ และได้ยินเสียงของบางสิ่งบางอย่างแตก เขาวิ่งหนีโดยเร็วเพราะคิดว่ามีผีร้าย

วันรุ่งขึ้นเขาเข้าไปในถ้ำพร้อมกับลูกพี่ลูกน้อง และได้พบไหจำนวน 8 ใบ บางใบมีฝาปิดอยู่ เขานำนั้นออกมาจากถ้ำและตรวจดู คิดว่าจะพบทองคำ แต่เขาต้องผิดหวังเพราะเห็นว่ามีแต่ม้วนหนังสือ 7 ม้วน ที่มีแต่ตัวอักษร ซึ่งเขาอ่านไม่ออก วันต่อมาคนเลี้ยงแพะ ก็นำสิ่งแปลก ที่พบนี้ไปหาคริสตชนนิกายซีเรียน ที่มีชื่อว่า คาลิล กันโด และขายม้วนหนังสือทั้งหมดนี้ให้ กันโดนำ ม้วนหนังสือ 4 ม้วนไปแสดงต่อพระสังฆราช ที่อยู่ใน กรุงเยรูซาเล็ม พระสังฆราชรู้ทันทีว่า เป็นม้วนหนังสือ ที่เก่าแก่โบราณเขียนด้วยภาษาฮีบรู )

 “ข้อมูล” ความรอดพ้น พระเจ้าเล่าผ่านทางพระคัมภีร์ และ มีคนกลุ่มเล็ก “ถือหนังสือพระคัมภีร์ไว้เป็น “อาวุธ” ประจำตัว ที่ ผลักดัน กีดกัน ความรู้ถึงพระเจ้าองค์ความ รอดพ้น ด้วย “ดาบแห่งความเห็นแก่ตัว” และ “หอกแหลมแห่งการขาดความรัก ยอมรับ นับถือ”

 ในหนังสือบุตรสิรา พูดถึง การกระทำด้วยความอ่อนโยน “ไม่ว่าท่านจะทำสิ่งใด จงทำด้วยความอ่อนโยนเถิด แล้วท่านจะเป็นที่รักมากกว่าคนให้ของกำนัล”

 การรักพี่น้องทำให้ปล่อยหนังสือพระคัมภีร์ลง และนั่งลง พร้อมกับ การยอมรับ อธิบาย เข้าใจ กับบุคคล ที่อ่านไม่เห็น ฟังไม่ได้ยิน หรือ ตีความไม่ได้ตรงใจ เพราะ การตัดสินเพราะเรื่องรู้น้อย การตีตนว่าคนนั้นเข้าใจไม่ได้ ไม่ใช่ เพราะ พระเจ้าไม่ได้อยู่กับเขา แต่เป็นเพราะว่า ประสบการณ์ความเชื่อที่ยังไม่สุกงอม ประสบการณ์ชีวิตที่ยังไม่ได้ตกตะกอนต่างหาก ที่ทำให้เขาเข้าใจ “ความเชื่อ” ไม่เป็นรูปเป็นร่าง จนกระทั่งวันหนึ่ง “พี่น้อง” ในกลุ่มคริสตชน ที่มีประสบการณ์ความรักที่ไม่เห็นแก่ตัว บุคคลที่อ่านพระคัมภีร์และกลายเป็นชีวิตจิตใจไม่ใช่แค่ตัวอักษร คนเหล่านี้แหละ จะเป็น “พระคัมภีร์ที่มีชีวิต” เป็น “พระวาจาของพระเจ้าที่เป็นตัวตนที่ไม่ใช่แค่ตัวอักษร” สำหรับพี่น้อง และเวลานั้นเอง เรากำลังวาดภาพพระอาณาจักรสวรรค์ ที่ลบภาพ การเห็นแก่ตัวถือเอาแต่บัญญัติ การเคร่งครัดตีความเอา แต่ตัวอักษร ที่อยู่ในมือ “ผู้ถือหนังสือพระคัมภีร์” ลงไปได้

 ความยากจน พิการ ยากไร้ ในงานเลี้ยงแห่ง พระอาณาจักร ไม่ใช่ ความโง่บัดซบ ในความคิดของผู้ที่ดำเนินชีวิตเพื่ออาณาจักรสวรรค์ แต่การ “เปิดทาง” “เปิดโอกาส” “เปิดช่องทางพิเศษ” ที่ไม่มีข้อจำกัด เรื่องกีดกัน บทกดดันใดๆ กระทำต่อพี่น้อง ที่จะรู้จักพระเจ้าองค์ความรัก ในกิจการที่ให้โอกาส เปิดโอกาส มีโอกาส สำหรับพี่น้องที่เป็น แขกสำหรับ งานเลี้ยง

 ในจดหมายถึงชาวฮีบรู พูดถึง “นครเยรูซาเล็ม ในสวรรค์” ที่มีฑูตสวรรค์เหลือคณานับ ท่านเข้ามาถึงที่ชุมนุมฉลองชัยและมาถึงชุมนุมของบุตร คนแรกที่ได้รับการลงชื่อไว้ในสวรรค์แล้ว”

 ภาพของ “พระอาณาจักรสวรรค์” จึงไม่ใช่ภาพของความหรูหรา เฉพาะบุคคลวีไอพี หรือ งานกาลาดินเนอร์ ที่มีชุดจัดเต็มจากห้องเสื้อ หรือ งานมีระดับเฉพาะบัตรอภิสิทธิ์ แต่เป็น “ชุมนุม” การชุมนุมจึงมีความหลากหลาย แต่มีความคิด การดำรงชีวิตเป็นเป้าหมาย อุดมการณ์เดียวกัน

 ภาพของพระอาณาจักรสวรรค์ จึงเป็นเรื่องที่เราเข้าถึงได้ ด้วยความหลากหลาย โดยไม่ต้องถูกกีดกัน ด้วยเหตุผลใดๆ ของคน

 ดังนั้น “งานเลี้ยงในสวรรค์” จึงไม่ต้องการข้อจำกัดของการไปงานเลี้ยง แต่ “ข้อจำกัด” ที่สำคัญสำหรับงานเลี้ยงในสวรรค์ ก็คือ “การไม่มีพี่น้อง” นั่นเอง การไม่มีพี่น้อง ก็คือ การไม่มีความรัก การไม่มีการทุ่มเทจริงใจกับผู้คน การไม่มีความสัมพันธ์ อันพัฒนาเปลี่ยนแปลง ก้าวผ่าน ยอมรับ และปรับตัว กับพีน้องนั่นเอง
 สุดท้าย ความสัมพันธ์ของบุคคลที่กำลังดำเนินชีวิต เพื่อพระอาณาจักรของพระเจ้า ก็คือ “บุคคลที่กำลัง ดำเนินชีวิตเพื่อบรรลุถึงพระอาณาจักรสวรรค์” เหมือนนิทานเรื่องหนึ่ง ที่เล่าว่า
 (มีการจัดการนำเสนอนิทรรศการท่องเที่ยวให้ได้ไปดูสวรรค์ และนรก ก่อนล่วงหน้า

 ทุกคนก็วาดภาพสำเร็จรูปว่า สวรรค์และนรก ต้องแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ปรากฎว่าในนิทรรศการนั้น ในสถานที่สวรรค์และนรก ใช้ที่เดียวกัน ประกอบด้วย โต๊ะอาหารโต๊ะใหญ่ มีอาหารคาวหวานมากมาย และนิทรรศการเปิดไฟจัดแสดงทันที
 ภาพของนรก ก็มีคนหลายคน ท่าทางผอมแห้ง หมองหม่น มาที่โต๊ะอาหาร พร้อมช้อนส้อมยาว ประมาณหนึ่งเมตร พอเริ่มมื้ออาหาร พวกเขาก็พยายาม ตักอาหารใส่ปากตัวเอง ที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก และล้มเหลว เขาไม่สามารถตักอาหารใส่ปากตัวเองได้ ภาพของการแย่งชิง ไม่เคารพกติกา ไม่มองหน้ากัน เป็นเพื่อนช่วยกัน ทำให้หมดเวลารับประทานอาหาร และก็ไม่ได้รับประทานอะไรสักอย่างจากอาหารมื้อหรูนั้น

 ที่สุดนักแสดงนิทรรศการเป็น “ชาวสวรรค์” ก็เข้ามา พร้อมกับช้อนส้อมยาวเป็นเมตร เช่นกัน แต่พวกเขาเข้ามาพร้อมกับ ความเอื้ออาทร การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกัน ตักอาหารที่คนตรงหน้าชอบ ใส่ปากให้จากช้อนส้อมยาวเกือบเมตรของตัวเอง ทุกคนก็ถ้อยทีถ้อยอาศัยแบ่งปัน ยิ้มแย้มกันไป จนทุกคนอิ่มหนำพอใจ เวลาการรับประทานอาหารก็หมด)
 งานเลี้ยงในพระอาณาจักรของพระเจ้า ก็บอกเล่า กล่าวขาน เป็นอย่างนี้เอง เราจึงมีโอกาส มีส่วนร่วม มีทางบรรลุได้ ด้วย “การรักพี่น้อง” นั่นเอง

 งานเลี้ยงในพระอาณาจักรสวรรค์ ก็เป็น เรื่องของการรักพี่น้อง ที่เราจะสามารถเป็น “บุคคลที่ถูกเชิญ” สำหรับพระอาณาจักรของพระเจ้า ที่เราทำเป็นจริงได้ ตั้งแต่ในเวลานี้

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้อง

(Credit จาก Facebook คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์)

 

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก