ขั้นตอนหลักของ Bibliodrama
1.นำเสนอเนื้อหาพระคัมภีร์  หรือค้นหาจากตัวบท วิทยากรเลือกเนื้อหาจากพระคัมภีร์ และให้กลุ่มค้นคว้าหาเอกลักษณ์  หรือรู้สึกเกี่ยวกับตัวบท
2.การแสดง  (Staging – การค้นพบบทบาทของตน) วิทยากรช่วยผู้รับการอบรมให้เลือกบทบาทหนึ่งในพระวาจา  ไตร่ตรอง  โดยอาศัยประสบการณ์
3.บูรณาการ  (Integration) พยายามเชื่อมพระวาจา  ประสบการณ์จากกิจกรรม  และสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน       (เชื่อมการตีความพระวาจาและความรู้ในชีวิต)
4.การพบปะ  (Encounter)     การค้นพบ  พัฒนาความรู้เกี่ยวกับพระวาจาอาศัยรูปแบบหลายหลาก     จากภายในและภายนอก  การสมดุลย์ระหว่างความใกล้ชิดและความห่าง  การร่วมรู้สึกและการปกป้อง      ตนเอง  การเข้าใจความคิดของตนเองและความคิดของคนอื่น
5.เปิดพื้นที่ศาสนา  (Open Vulnerable Religiosity)  การปลุกความริเริ่มสร้างสรรค์และกิจกรรมจากใจ  เพื่อให้เรามีประสบการณ์ศาสนา   และสามารถแสดงออกเรื่องศาสนาในระดับส่วนตัวและในความสัมพันธ์กับผู้อื่น




Bibliodrama จะเกิดผลใน  4  ระดับ คือ1) ระดับความรู้   2)ระดับอารมณ์  (ความรู้สึก)3) ระดับจิตใจ  (การนมัสการ)  4) ระดับสังคม  (กิจการ)

Bibliodrama สามารถที่จะประยุกต์ใช้ได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน ผู้นำ ครูคำสอน ฆราวาสทั่วไป พระสงฆ์นักบวชหรือพระสังฆราช ไม่ว่าจะนำไปใช้ในการภาวนาส่วนตัวและในการภาวนาร่วมกัน ในการแบ่งปันพระวาจา การอบรม ในการสอนคำสอน หรือในการสัมมนา ฯลฯ โดยเพียงแต่ขอให้เราเปิดใจให้พระเจ้าทำงานโดยมีพระวาจาของพระเจ้าหรือให้พระวาจาของพระเจ้าเป็นศูนย์กลางของเราในทุกๆกิจการ



บีบลีโอดรามา (Bibliodrama) จึงไม่ใช่การแสดงละครให้คนอื่นชม  แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น  ซึ่งผู้ร่วมกิจกรรมมีประสบการณ์ด้วยตนเองกับพระวาจา ทางด้านร่างกาย  อารมณ์  จิตใจ  และสังคม” (โดย... Fr. Rudy  Pohl, SVD. Manila, Sep. 1998 แปลโดยพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ  อาภรณ์รัตน์:  22 กุมภาพันธ์ 2012)