"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“จะไม่มีก้อนหินเหลือซ้อนกันอยู่เลย”

67. คำปราศรัยเรื่องอันตวิทยา บทนำ (2)
b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          1. บทที่ 13 นี้ เป็นคำปราศรัยกว้างขวางมากที่สุดในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก ได้ชื่อว่า “คำปราศรัยเรื่องอันตวิทยา” คือคำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องวาระสุดท้ายหรืออวสานกาลของโลก ซึ่งเริ่มต้นโดยกล่าวถึงความงดงามและความพินาศของพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม คำปราศรัยนี้ไม่มีเจตนาทำนายภัยพิบัติร้ายแรงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ต้องการช่วยเราให้อ่านเหตุการณ์ปัจจุบันในแสงสว่างพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า เพื่อดำเนินชีวิตด้วยความรับผิดชอบ และด้วยวิธีนี้กำหนดอนาคตของเรา ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในปัจจุบัน


          2. คำปราศรัยเรื่องอันตวิทยากล่าวถึง “เหตุการณ์ทั้งหมดที่กำลังจะเกิดขึ้น” (ข้อ 4) ซึ่งจะนำไปสู่การเสด็จมาของบุตรแห่งมนุษย์ในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ (ข้อ 26) โดยแท้จริงแล้ว คำปราศรัยนี้เปิดเผยความหมายของสิ่งที่จะเกิดขึ้นมากกว่าที่จะบอกให้เรารู้เหตุการณ์สุดท้ายที่จะเกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะพูดถึงสงคราม การกันดารอาหาร และแผ่นดินไหว ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายที่จะรอคอยด้วยความตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นจริง โดยละเลยการปฏิบัติหน้าที่ประจำวันด้วยความรับผิดชอบ การโหยหาเป้าหมายที่เร่งเร้ามีแนวโน้มที่จะกลั้นลมหายใจและเดินต่อไปไม่ไหว

        3. ดังนั้น ความคลั่งไคล้ที่ละเลยหน้าที่ประจำวันอาจเข้ามาแทนการติดตามพระคริสตเจ้าในชีวิตจริง แต่สิ่งสำคัญคือเวลาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่แสดงซื่อสัตย์ต่อพระคริสตเจ้า เราต้องกลับมารับข่าวดีของพระเยซูเจ้าด้วยพลังใหม่ เพื่อชีวิตที่ขาดอากาศหายใจจะมีลมหายใจแห่งความหวังอีกครั้งหนึ่ง มิฉะนั้นแล้ว เราสร้างความหวังเหลวไหล ถ้าไม่มีจุดมุ่งหมายเราเดินหน้าต่อไปไม่ได้ พระเยซูเจ้าผู้ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนให้ความหมายใหม่แก่เราในแง่บวก แต่ความหมายนี้ซ่อนอยู่ในพระเจ้าเสมอ

           4. บทที่ 13 นี้เสนอด้วยความหมายลึกซึ้งของความจริงสุดท้ายและถาวร ที่มนุษย์ก้าวเดินไปและความจริงเรื่องการสิ้นพระชนมและการกลับคืนชีพพระชนมชีพของพระเยซูคริสตเจ้าจะเปิดเผยให้เรารู้ (เทียบบทที่ 14-16) บางคนคิดว่าคำปราศรัยนี้ใช้ภาษารุนแรงเกินไป แต่ความจริงดูเหมือนมีลักษณะที่ขัดแย้งกันเสมอไป

            5. เราควรอธิษฐานภาวนาต่อพระเยซูเจ้า ขอพระองค์ประทานความสามารถที่จะมองกิจการและบุคคลในปัจจุบันด้วยสายตาแห่งความเชื่อ เพื่อค้นพบความหมายลึกซึ้ง และไม่ไว้วางใจหรือประทับใจในความยิ่งใหญ่ภายนอกของเหตุการณ์และบุคคล ซึ่งบางครั้งไม่ได้รับการบันดาลใจจากพระจิตเจ้า ในทำนองเดียวกัน เราควรอธิษฐานภาวนาขอพระองค์โปรดให้เราเข้าใจจุดมุ่งหมายสุดท้ายของทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งความหมายความตายของเรา โดยอาศัยแสงสว่างจากธรรมล้ำลึกการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพของพระองค์

            6. เราจงขอบพระคุณพระเยซูเจ้าผู้พอพระทัยอย่างอิสระและด้วยความรักที่ทรงยอมให้มนุษย์ “ทำลาย” พระวิหารของพระวรกาย เพื่อ "ทรงสร้าง" ขึ้นใหม่โดยทรงกลับคืนพระชนมชีพ เพื่อทรงช่วยเราให้รอดพ้นและทรงชี้แจงหนทางแห่งชีวิต