“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

ข้อคิดจากพระวาจาประจำวัน  โดย..คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2016
สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา 

พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา
(ลก.12:13-21)

ประชาชนคนหนึ่งทูลพระเยซูเจ้าว่า “พระอาจารย์ โปรดบอกพี่ชายข้าพเจ้าให้แบ่งมรดกให้ข้าพเจ้าเถิด” พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า “มนุษย์เอ๋ย ใครตั้งเราเป็นผู้พิพากษาหรือเป็นผู้แบ่งมรดกของท่าน” แล้วพระองค์ตรัสกับคนเหล่านั้นว่า “จงระวังและรักษาตัวไว้ให้พ้นจากความโลภทุกชนิด เพราะชีวิตของคนเราไม่ขึ้นกับทรัพย์สมบัติของเขา แม้ว่าเขาจะมั่งมีมากเพียงใดก็ตาม”


พระองค์ยังตรัสอุปมาเรื่องหนึ่งให้เขาทั้งหลายฟังอีกว่า “เศรษฐีคนหนึ่งมีที่ดินที่เกิดผลดีอย่างมาก เขาจึงคิดว่า ‘ฉันจะทำอย่างไรดี ฉันไม่มีที่พอจะเก็บพืชผลของฉัน’ เขาคิดอีกว่า ‘ฉันจะทำอย่างนี้ จะรื้อยุ้งฉางเก่าแล้วสร้างใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเดิม จะได้เก็บข้าวและสมบัติทั้งหมดไว้ แล้วฉันจะพูดกับตนเองว่า ดีแล้ว เจ้ามีทรัพย์สมบัติมากมายเก็บไว้ใช้ได้หลายปี จงพักผ่อน กินดื่มและสนุกสนานเถิด’ แต่พระเจ้าตรัสกับเขาว่า ‘คนโง่เอ๋ย คืนนี้ เขาจะเรียกเอาชีวิตเจ้าไป แล้วสิ่งที่เจ้าได้เตรียมไว้จะเป็นของใครเล่า คนที่สะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตนเองแต่ไม่เป็นคนมั่งมีสำหรับพระเจ้า ก็จะเป็นเช่นนี้’

(พระวาจาของพระเจ้า)

-----------

           ในสัปดาห์นี้ อยากให้พี่น้องคิดใคร่ครวญถึงคำของ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ที่ขณะนี้กำลังร่วมงาน เยาวชนโลกที่ประเทศโปแลนด์ และได้แบ่งปันข้อคิดสำหรับ เยาวชนว่า
(- พ่ออยากแบ่งปันว่า มันเจ็บปวดมากที่ต้องพบกับ เยาวชน ที่มองหาการเกษียณอายุตั้งแต่เนิ่นๆ พ่อกังวลมาก เมื่อเห็นเยาวชนเหล่านี้โยนผ้าแล้วบอกพอแล้ว พวกเขา ยอมแพ้ตั้งแต่เกมยังไม่เริ่มแข่ง การทำแบบนี้ทำให้ชีวิต ไม่มีความหมาย ลึกลงไปกว่านั้น มันจะทำให้เยาวชนคนนั้น เบื่อชีวิต

           นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องเศร้าที่ต้องเห็นเยาวชน หลายคนเสียเวลาไปกับการดำเนินชีวิตซึ่งแสวงหาความตื่นเต้นจากทางเดินสายมืดแบบผิดๆ คนที่เลือกเส้นทางเดิน แบบนี้ ต้องจ่ายค่าเสียหายราคาแพงเมื่อถึงตอนจบ

- ดังนั้น เยาวชนต้องแสวงหาการเติมเต็มให้ชีวิต การเติมเต็มนี้ไม่ใช่การแสวงหาวัตถุสิ่งของ แต่ต้องเป็นการแสวงหาตัวบุคคลซึ่งก็คือพระเยซูคริสต์ พระองค์สามารถมอบความหมายแท้จริงในชีวิตให้กับเรา พระองค์สามารถทำให้เราก้าวไปข้างหน้า มองให้สูงและกล้า ที่จะฝันถึงแต่สิ่งดี)

           การเกษียณตัวเอง โยนผ้ายอมแพ้ เป็นปรากฎจริงใน สังคม และ เป็นปรากฎการณ์ที่คนอยากจะมีชีวิตที่ดี อิสระ ไม่ผูกมัด ไม่ต้องรับผิดชอบ ใคร เรื่องใด เงื่อนไขใดๆ

คนยุคนี้ แบบนี้ “ดาษดื่น เป็นกันมาก” หรือ ถ้าคำคนปัจจุบัน คือคำว่า “มีความเป็นส่วนตัว” “มีความเป็นตัวเอง” มีความเป็นตัวเอง ที่ไม่อยากอยู่กับใคร อยู่ภายใต้ใคร อยู่ภายใต้เงื่อนไขอะไร อยู่ภายใต้ข้อตกลงอะไร ที่เป็นปรากฎการณ์ของคนในยุคสมัยนี้

          คำว่า เกษียณตัวเอง ในความหมายนี้ ไม่ใช่ แก่แล้วออกจากการทำงาน แต่เป็นการออกจากงาน ออกจากความรับผิดชอบเร็วกว่าที่ควร ออกจากเงื่อนไขข้อตกลง อยากเป็นไท ไม่เกี่ยวข้อง
ทำให้เราเห็นถึง พระวาจาที่ถูกใจ ในหนังสือปัญญาจารย์ที่ว่า “ไม่เที่ยงแท้ที่สุด ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยงแท้”
ก็เข้าทางตรงที่ เมื่อไม่เที่ยงแท้ ก็ไม่เอาไว้ ปล่อยให้หลุดมือไป เหลือแต่ตัวเอง และความต้องการของตัวเอง  
ความรับผิดชอบ ก็เป็นเรื่องไม่ต้องลงแรงอีกแล้ว เพราะว่า เมื่อไม่เที่ยงแท้ ก็ไม่เอาไว้กับมือ

การบากบั่นสู้ทน ไม่ต้องทำ ไม่ต้องไปจุดฝัน เพราะว่า ทำไปทำไม? ทำไปเพื่อใคร เมื่อไม่มีใคร ในเมื่อมีคนเหลือน้อย ที่จะอยู่ข้างๆ มีคนไม่มากที่จะภาคภูมิใจ มีแต่ตัวเราที่จะภาคภูมิใจในตัวเอง
คนสมัยนี้ จึงคิดจะตัดออก ปลีกตัวเอง แยกประเภท มีพื้นที่สงวน มีแต่เรื่องส่วนตัว ที่เป็นแรงจูงใจ ที่จะ “เกษียณตัวเองก่อน ที่เรียกว่า Early Retries” ทำงานไปสักพัก ก็ออกไปหาอาชีพอิสระ ไม่อยู่เป็นลูกจ้างจนแก่ อยู่ไปสักพักพอเบื่อก็จาก
ต่อจากความคิดแบบนี้ นักบุญเปาโลในจดหมาย นักบุญเปาโลอัครสาวกถึงชาวโคโลสี ได้บอกว่า “ท่านทั้งหลายได้ปลดเปลื้องวิสัยมนุษย์เก่า และการกระทำตามวิสัยมนุษย์เก่าและสวมใส่มนุษย์ใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่เพื่อมุ่งไปหาความรู้ตามภาพลักษณ์ขององค์พระผู้สร้าง”
“นิสัยมนุษย์เก่า ก็คือ นิสัยดั้งเดิม ที่ทำให้มนุษย์ เห็นแก่ตัวมากไป เห็นแก่ได้มากเกิน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนจนหันเหแต่ตัวเอง”
ที่นักประดิษฐ์คิดคำ อาจใช้คำว่า “สันดานดิบ” “คิดเอาแต่ได้” “รากเหง้าความเห็นแก่ตัว”
ดังนั้น เมื่อมนุษย์ใช้วิธี “มนุษย์เก่า” เหมือนครั้งที่อาดัมรับผลไม้กลางสวนมากิน และปรารถนาจะเสมอพระเจ้า ที่สุด คำตอบที่ตามมาก็คือ อัครเทวดามีคาแอล เป็นสัญญลักษณ์ที่อยู่เหนือความ เห็นแก่ตัว ตามชื่อ มีคาเอล (Michael) แปลว่า "ผู้เหมือนพระเจ้า" (mi ผู้ใด, ke คือ/เป็น, El-พระเจ้า) ซึ่งมาจากสำนวนคำถามในคัมภีร์ทาลมุดที่ว่า “ผู้ใดจะเหมือนพระเจ้า?” (ตัวคำถามสื่อคำตอบในทางปฏิเสธว่าไม่มี) เพื่อที่จะบอกว่าไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระเจ้า มีคาเอลจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของความถ่อมตนต่อพระเจ้า
“มนุษย์ใหม่” จึงไม่ใช่ “มนุษย์สมัยใหม่”
แต่เป็นมนุษย์ที่ปลดเปลื้องความอยากได้ใคร่มีให้น้อยลง แต่ไม่ใช่ เป็นการลดตัดทอนบางอย่าง เพื่อเพิ่มบางอย่าง เช่น มนุษย์ที่ลาออกจากงานประจำ เพื่อเพิ่มเวลาตามใจตัวเอง ทิ้งความรับผิดชอบต่อคนอื่น

           มนุษย์ที่ทิ้งความตั้งใจที่จะบรรลุความสมบูรณ์จากความรับผิดชอบในหน้าที่ แต่เลือกที่เล็กๆ ที่จะปรนนิบัติตนเอง เลือกพื้นที่สงวนที่จะตอบโจทย์แค่ตามต้องการของตัวเอง เลือกพื้นที่ปรนนิบัติพัดวีตัวเอง แทนความรับผิดชอบ ต่อสังคม

           นี่เป็น “กระแสของคนยุคใหม่”
ที่ทิ้งความฝัน วางความตั้งใจ หนีหายจากความรับผิดชอบ ไม่ชอบการบุกบั่นฝ่าฟัน กลัวการเผชิญความจริง เกษียณตัวเองไปอยู่ในพื้นที่ส่วนตัว

การเล่าเรื่อง “เศรษฐีคนหนึ่งที่มีที่ดินที่เกิดผลดี อย่างมาก” ในพระวรสารนักบุญลูกา พระวาจาต้องการบอก ความจริงกับคนยุคของเรา ที่อาจถอดแบบ
คำพูดของ ลุงเบน ปาร์คเกอร์ที่พร่ำสอน หนุ่มน้อย ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ ที่บอกว่า
“พลังอันยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง"
เป็นการเตือนสติให้รู้ว่า ความสามารถเกินมนุษย์ที่เขามี อยู่นั้น มันไม่ได้มีไว้เพื่ออวด เพื่อโอ่โชว์อำนาจสิ่งที่ได้เลือก เขามา และเขาถูกกำหนดให้เป็น ก็เพื่อจะให้มีไว้ใช้ต่อกร กับความเห็นแก่ตัวที่อยู่. ภายในใจลึกๆของเขา มากไป กว่าอื่นใด”

          เมื่อเราไม่เลือกรับผิดชอบ เมื่อเราอยากหนีหายห่างไป เมื่อเราอยากหลีกตัวเองออก เกษียณตัวเองก่อน เรากำลัง เลือก “สมบัติมากมายที่ใช้ได้อีกหลายปี” ที่เศรษฐีที่มี ที่ดินมากมายเลือกแบบนี้

           เกษียณตัวเอง ห่างไปจากความรับผิดชอบ ไม่ต้องการเอามือมายุ่งเอาตนเองมาเกี่ยวข้อง เพราะเรามีของเรา มีพื้นที่ของเรา มีโอกาสของเรา มีเวลาเหลือเฟือของเรา แล้วก็บอกตัวเองว่า “พอแล้ว”
และชีวิตแบบนี้ ไม่สามารถเป็น “บุคคลเพื่อคนอื่น” เพราะ เรื่องของตัวเองได้ทำเสร็จ ไม่ต้องรับผิดชอบ อะไรได้อีก ไม่มีใครต้องทำอะไรให้อีก หมดหน้าที่ เกษียณตัวเองได้แล้ว
พระวาจาตอนสรุปจึงบอกว่า “คนที่สะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตนเองแต่ไม่เป็นคนมั่งมีสำหรับพระเจ้า ก็จะเป็นเช่นนี้”

          ขอให้เราไม่ต้องการเป็นคนเพื่อตัวเอง ไม่เกษียณตัวเอง จากชีวิตกับพี่น้อง ไม่สร้างอาณาจักรส่วนตัว และขาดความ ห่วงใยสังคม ที่เป็นเรื่องที่พระวาจาวันนี้ มีข้อพิจารณา สำหรับวิถีชีวิตอันยาวไกลสำหรับเรา
ขอพระเจ้าองค์ความรัก และรักมนุษย์โดยไม่มีวันเกษียณ อวยพรพี่น้อง

(Credit จาก Facebook คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์)

 

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก