“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“อย่าห้ามเขาเลย”

48.การใช้พระนามของพระเยซูเจ้า(2)
(b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
1.    มนุษย์จะแสดงความเห็นแก่ตัวก็ต่อเมื่อความดีของผู้อื่นมารบกวนจิตใจ ทำให้อิจฉาเขา และรู้สึกว่าความดีของเขาปิดบังความดีของตนดังนั้นจึงพยายามขโมยความดีนั้นจากเขาหรือทำลายเขา ความเห็นแก่ตัวของแต่ละคนเช่นนี้อยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน ขัดขวางมิให้ฟังพระวาจาที่ทำให้เราเป็นบุตรของพระเจ้าและเป็นพี่น้องกัน รวมทั้งขัดขวางมิให้เข้าใจความรักและความหมายของชีวิต เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ชีวิตทั้งหมดก็จะกลายเป็นการต่อสู้กันเพื่อพิสูจน์ว่า ผู้ใดอยู่เหนือกว่ากัน


2.    นอกจากความเห็นแก่ตัวของแต่ละคนแล้ว ยังมีความเห็นแก่ตัวส่วนรวมซึ่งเลวร้ายมากกว่า เพราะต่างคิดว่ากำลังปกป้องกลุ่มคือ "พวกเรา" ซึ่งดูเหมือนเป็นสิ่งที่ดีแต่ไม่ทันรู้ตัวว่ากำลังทำความผิด บรรดาอัครสาวกเคยทะเลาะเบาะแว้งกัน บัดนี้ เขารวมตัวกันเพื่อขับไล่คู่แข่งที่อยู่นอกกลุ่ม ยอมเสียสละความหยิ่งจองหองของตนเพราะเป็นแก่ผลประโยชน์ของกลุ่ม ยอมถ่อมตนเพื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ของกลุ่ม ซึ่งทำให้รู้สึกว่ามีอำนาจสามารถทำลายผู้อื่นในนามของ “พวกเรา” ความดีที่ผู้อื่นกระทำนั้นไม่เป็นความดีสำหรับเราเพราะทำให้รู้สึกรำคาญ

3.    เมื่อพ่อของเด็กผู้มีโรคลมบ้าหมูพาเด็กไปให้บรรดาศิษย์ขับไล่ปีศาจที่สิงอยู่ในตัวเด็กเขาเหล่านั้นกระทำไม่สำเร็จ ต่อมา บรรดาศิษย์เห็นคนหนึ่งขับไล่ปีศาจได้สำเร็จ แม้อยู่คนเดียวก็ยังทำสิ่งที่เขาร่วมกันทำไม่ได้ และยิ่งกว่านั้นทำเดชะพระนามของพระเยซูเจ้า บรรดาศิษย์เกิดความอิจฉา จึงมองกิจการดีของผู้นั้นว่าเป็นสิ่งไม่ดี เพราะพอใจเพียงในความดีที่เขาทำแต่ไม่พอใจในความดีที่ผู้อื่นทำ ความอิจฉาเป็นอุปสรรคในการสร้างความเป็นพี่น้องกัน เพราะทำให้มองผู้อื่นเป็นคู่แข่ง นี่คือทัศนคติที่แบ่งแยก ”พวกเรา” ออกจากผู้อื่น และชวนให้คิดว่า ถ้าผู้อื่นทำความดีแม้ในนามของพระเยซูเจ้าก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่พระเยซูเจ้าทรงสอนตรงกันข้ามว่า เราต้องมองชีวิตของผู้อื่นในแง่บวก และถ้าเขาสามารถทำสิ่งที่เราทำไม่สำเร็จก็ควรพูดว่า “ขอถวายพระพรแด่พระเจ้าที่ทรงบันดาลให้บุคคลนี้ทำความดีที่ลูกทำไม่สำเร็จ” 

4.    นักบุญยอห์นทูลพระเยซูเจ้าว่า “เราได้เห็นคนคนหนึ่งขับไล่ปีศาจเดชะพระนามของพระองค์ เราจึงพยายามห้ามปรามไว้ เพราะเขาไม่ใช่พวกเดียวกับเรา” ถ้าแปลวลีสุดท้ายนี้จากต้นฉบับภาษากรีกตามตัวอักษรได้ว่า “เพราะเขาไม่ติดตามพวกเรา” บรรดาศิษย์ถูกประจญให้คิดว่า กลุ่มของตนเป็นศูนย์กลางแทนที่จะเป็นกลุ่มเชื่อมโยงบุคคลกับพระเยซูเจ้า เขากลับตั้งตนเป็นเหมือนแผงกั้นระหว่างบุคคลกับพระองค์ เขาไม่เพียงละเลยที่จะช่วยเหลือผู้อื่นให้พบกับพระคริสตเจ้า แต่ยังขัดขวางอีกด้วย เหมือนกับว่า "พวกเรา" เป็นกลุ่มปิดไม่ต้อนรับผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฉันก็ไม่เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าอีกแล้ว เพราะกีดกันพระองค์ผู้ทรงถ่อมองค์ลงเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน เดชะพระนามของพระเยซูเจ้าผู้เป็นพระบุตรของพระเจ้า เราทุกคนจึงเป็นบุตรและพี่น้องกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานของความเสมอภาคภราดรภาพเสรีภาพความแตกต่างและความเคารพกัน นี่คือค่านิยมพื้นฐานสำหรับการอยู่ด้วยกันแบบใหม่ ซึ่งเริ่มต้นในวันที่พระจิตเจ้าเสด็จมา

5.    เหตุผลที่เราไม่รับรู้ความดีที่ผู้อื่นทำก็เพราะขาดความเชื่อว่า พระเจ้าทรงทำงานในบุคคลนั้น สมเด็จพระสันตะปาปานักบุญยอห์นที่ 23ทรงเป็นบุคคลที่ทุกคนยอมรับเพราะพระองค์ทรงชื่นชมความดีของผู้อื่นแต่มนุษย์ทั่วไปวิพากษ์วิจารณ์โลก โดยลืมไปว่าพระเจ้าทรงสร้างโลก และมนุษย์ทุกคนเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์ เราควรมองทุกสิ่งที่งดงามว่าเป็นของประทานจากพระเจ้า

6.    เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสตอบนักบุญยอห์นว่า “อย่าห้ามเขาเลย”ทรงต้องการสอนบรรดาศิษย์ว่า ถ้าท่านทำความดีไม่ได้ อย่างน้อยก็อย่าห้ามผู้อื่นเลย ถ้าท่านขับปีศาจไม่ได้ดังที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ อย่างน้อยอย่างห้ามผู้อื่นให้ทำความดีเพื่อช่วยเพื่อนพี่น้อง ถ้าท่านเป็นศิษย์ของเราอย่างห้ามผู้อื่นทำความดีและส่งเสริมชีวิต

7.    พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ผู้ใดไม่ต่อต้านเรา ก็เป็นฝ่ายเรา” พระองค์ทรงเชิญชวนเราให้เปลี่ยนแนวความคิดและกลับใจเราต้องมองผู้อื่นว่าเป็นเพื่อนพี่น้องไม่ใช่เป็นคู่แข่งหรือเป็นภัยคุกคามต่อเรา แล้วจะเป็นอย่างไรถ้าเขาต่อต้านเรา เราได้รับเรียกให้รักเขาอีกด้วย พระเยซูเจ้าตรัสว่า “จงรักศัตรู” เราต้องเป็นคาทอลิกอย่างแท้จริง คือเป็นคนสากล รวมทุกฝ่ายเข้าด้วยกันไม่กีดกั้นผู้ใด

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก