“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

การประกาศพระวาจาของพระเจ้าและผู้เจ็บป่วย

106.    ในที่ประชุมสมัชชา บรรดาพระสังฆราชยังพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่ผู้ที่กำลังทนทุกข์ทั้งทางร่างกาย ทางจิต หรือทางจิตวิญญาณ. เมื่อมีความทุกข์ มักจะเกิดคำถามลึกๆขึ้นในจิตใจถึงความหมายสุดท้ายของชีวิตมนุษย์. เมื่อต้องเผชิญกับความลึกลับของความชั่วและความเจ็บปวด ถ้าดูเหมือนว่าถ้อยคำของมนุษย์ไม่อาจให้คำตอบได้ และถ้าสังคมของเราดูเหมือนจะคิดว่า คุณค่าของชีวิตก็คือสมรรถภาพในผลงานและความสะดวกสบายเท่านั้น พระวาจาของพระเจ้ายังเปิดเผยให้เรารู้ว่าสภาพความเป็นอยู่เช่นนี้ก็ยัง "รวม" ความรักของพระเจ้าไว้อย่างลึกลับด้วย ความเชื่อซึ่งเกิดจากการพบกับพระวาจาของพระเจ้าช่วยเราให้เราเข้าใจว่าเราต้องดำเนินชีวิตมนุษย์อย่างสมบูรณ์ให้สมกับศักดิ์ศรี แม้ชีวิตนั้นจะอ่อนแอเพราะถูกโรคภัยเบียดเบียน พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างมนุษย์มาเพื่อความสุขและชีวิต แต่ความเจ็บป่วยและความตายเข้ามาในโลกเพราะบาป (เทียบ ปชญ 2:23-24) ถึงกระนั้น พระบิดาแห่งชีวิตทรงเป็นแพทย์วิเศษสุดของมนุษยชาติ และไม่ทรงเลิกที่จะโน้มองค์ด้วยความรักลงมาหามนุษยชาติที่มีความทุกข์ เราแลเห็นความใกล้ชิดสุดยอดที่พระเจ้าทรงมีต่อมนุษย์ในองค์พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็น "พระวจนาตถ์ผู้ทรงรับสภาพมนุษย์ ทรงรับทุกข์ทรมานและสิ้นพระชนม์พร้อมกับเรา โดยพระทรมานและการสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงรับความอ่อนแอของเรา และทรงเปลี่ยนแปลงความอ่อนแอนั้นทั้งหมด"[1]

ความใกล้ชิดของพระเยซูเจ้ากับผู้ทนทุกข์คงอยู่ตลอดไปไม่สิ้นสุด ยังคงอยู่ต่อไปพร้อมกับกาลเวลาอาศัยความช่วยเหลือของพระจิตเจ้าในพันธกิจของพระศาสนจักร ในพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ ในมนุษย์ผู้มีน้ำใจดี ในงานอนุเคราะห์ที่ชุมชนต่างๆปฏิบัติด้วยความรักต่อพี่น้อง จึงเป็นการแสดงให้เห็นพระพักตร์แท้จริงของพระเจ้าและความรักของพระองค์ สมัชชาขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับการเป็นพยานยืนยันอย่างน่าชม แต่บ่อยๆไม่ปรากฏภายนอก ของคริสตชนมากมาย - ทั้งพระสงฆ์ นักบวชและฆราวาส - ซึ่งเคยให้และยังคงให้พระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นแพทย์แท้จริงที่รักษาร่างกายและจิตใจ ทรงยืมดวงตาและหัวใจของตน สมัชชายังเตือนทุกคนให้เอาใจใส่ดูแลผู้เจ็บป่วยต่อไป โดยเฉพาะเพื่อนำการประทับอยู่ที่บันดาลชีวิตขององค์พระเยซูเจ้าในพระวาจาและศีลมหาสนิทมาให้เขา ขอให้ผู้เจ็บป่วยได้รับความช่วยเหลือให้อ่านพระคัมภีร์และพบว่า ในสภาพเช่นนี้เขาอาจมีส่วนร่วมความทุกข์ของพระคริสตเจ้าพระผู้ไถ่เพื่อความรอดพ้นของโลกได้ (เทียบ 2 คร 4:8-11,14)[2]



[1] Benedictus XVI, Homilia habita occasione XVII Diei Mundialis aegroti (11 Februarii 2009): Insegnamenti V,1 (2009), 232.

[2] Cfr Propositio 35.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก