“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

พระวาจามีลักษณะเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์

56.      การพิจารณาเห็นว่าพระวาจาของพระเจ้าในพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์มีลักษณะการแสดง และการเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงความสัมพันธ์ของพระวาจากับพิธีบูชาขอบพระคุณ นำเราให้ตระหนักถึงความคิดหลักสำคัญอีกประการหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในการประชุมสมัชชา นั่นคือความคิดว่าพระวาจาของพระเจ้ามีลักษณะเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์[1] เพราะเหตุนี้จึงควรระลึกว่าสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 เคยตรัสไว้ว่า "การเปิดเผยความจริงมีลักษณะเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ และทรงกล่าวโดยเฉพาะถึงศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่การรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของสิ่งหนึ่งกับความหมายของสิ่งนั้นทำให้เราเข้าใจความลึกซึ้งของธรรมล้ำลึกได้"[2] เราจึงเข้าใจว่าพระธรรมล้ำลึกการรับสภาพมนุษย์อยู่ที่จุดเริ่มต้นของเอกลักษณ์ ที่พระวาจาของพระเจ้าเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์โดยแท้จริง "พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์" (ยน 1:14) พระเจ้าทรงเปิดเผยความเป็นจริงของธรรมล้ำลึกนี้ให้เรารู้ใน "เนื้อหนังร่างกาย" ของพระบุตร เราจึงเข้าใจพระวาจาของพระเจ้าได้ด้วยความเชื่อ อาศัยคำพูดและการกระทำแบบมนุษย์ ซึ่งเป็น "เครื่องหมาย". ความเชื่อทำให้เรารู้จักพระวาจา (หรือ "พระวจนาตถ์") ของพระเจ้า ขณะที่พระวาจา (หรือ "พระวจนาตถ์") นั้นรับเอาคำพูดและการกระทำเพื่อแสดงองค์ให้เรารู้จัก ลักษณะเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ของการเผยแสดงนี้ชี้ให้เราเห็นวิธีการที่ทรงช่วยมนุษยชาติให้รอดพ้นในประวัติศาสตร์ โดยที่พระวาจา (หรือ "พระวจนาตถ์") ของพระเจ้าทรงเข้ามาในกาลเวลาและสถานที่เพื่อทรงสนทนากับมนุษย์ซึ่งได้รับเรียกให้มารับของประทานด้วยความเชื่อ

ลักษณะเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ของพระวาจาจึงอาจเข้าใจได้ โดยอุปมาเปรียบเทียบกับการประทับอยู่จริงของพระคริสตเจ้าในรูปปรากฏของขนมปังและเหล้าองุ่นที่เสกแล้ว[3] เมื่อเข้ามายังพระแท่นบูชาและร่วมงานเลี้ยงพิธีขอบพระคุณ เราก็มีส่วนร่วมในพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริง การประกาศพระวาจาของพระเจ้าในการประกอบพิธีเรียกร้องให้เรารับรู้ว่าพระคริสตเจ้าเองประทับอยู่ที่นั่นและตรัสกับเรา[4] เพื่อให้เราฟังพระองค์ นักบุญเยโรมกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติต่อศีลมหาสนิทและต่อพระวาจาไว้ดังนี้ "เราอ่านพระคัมภีร์ ข้าพเจ้าคิดว่าพระวรสารคือพระกายของพระคริสตเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าพระคัมภีร์คือคำสอนของพระองค์ เมื่อพระองค์ตรัสว่า ผู้ที่ไม่กินเนื้อของเราและไม่ดื่มโลหิตของเรา (ยน 6:53) แม้ถ้อยคำเหล่านี้อาจเข้าใจถึงพระธรรมล้ำลึก(เรื่องศีลมหาสนิท)ได้ด้วย ถึงกระนั้นโดยแท้จริงแล้วพระกายและพระโลหิตของพระองค์คือถ้อยคำของพระคัมภีร์ เป็นคำสอนของพระเจ้า ถ้าเมื่อเราเข้ามาหาพระธรรมล้ำลึก(เรื่องศีลมหาสนิท) แล้วเศษปังชิ้นหนึ่งตกลงมา เราย่อมรู้สึกไม่สบายใจ แล้วเมื่อเราฟังพระวาจาของพระเจ้า และพระวาจานั้น ซึ่งเป็นประหนึ่งพระกายและพระโลหิต เข้ามาในหูของเรา แต่เรากลับไปคิดถึงเรื่องอื่น เราน่าจะรู้สึกไม่สบายใจมากด้วยมิใช่หรือ"[5] พระคริสตเจ้าซึ่งประทับอยู่แท้จริงใต้รูปปรากฏของขนมปังและเหล้าองุ่น ประทับอยู่เช่นเดียวกันในพระวาจาที่ประกาศในพิธีกรรม การเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงความหมายของลักษณะศีลศักดิ์สิทธิ์ของพระวาจาของพระเจ้าจึงอาจช่วยให้เรามีความเข้าใจเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น เข้าใจถึงธรรมล้ำลึกเรื่องการเปิดเผยว่า "กิจการและพระวาจามีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างลึกซึ้ง"[6] ความเข้าใจเช่นนี้ย่อมส่งเสริมชีวิตจิตและงานอภิบาลของพระศาสนจักรด้วย



[1] Cfr Propositio 7.

[2] Litt.enc. Fides et ratio (14 Septembris 1998), 13: AAS 91 (1999), 16.

[3] Cfr Catechismus Catholicae Ecclesiae, 1373-1374.

[4] Cfr Conc.Oecum.Vat.II, Const.de sacra Liturgia Sacrosanctum Concilium, 7.

[5] In Psalmum 147: CCL 78,337-338.

[6] Con.Oecum.Vat.II, Const.dogm. de divina Revelatione Dei Verbum, 2.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก