“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

จากธรรมนูญ "Dei Verbum" ถึงสมัชชาเรื่องพระวาจาของพระเจ้า

3.       ข้าพเจ้ารู้สึกว่าสมัชชาพระสังฆราชครั้งที่ 12 เกี่ยวกับพระวาจาของพระเจ้านี้กล่าวถึงเนื้อหาที่เป็นหัวใจของชีวิตคริสตชนทีเดียว เรื่องนี้เป็นผลต่อเนื่องกับสมัชชาครั้งก่อนหน้านี้เรื่องศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นบ่อเกิดและจุดยอดของชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร พระศาสนจักรตั้งอยู่บนพระวาจา เกิดขึ้นจากพระวาจา และมีชีวิตด้วยพระวาจา[1] ตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ประชากรของพระเจ้าได้รับพลังจากพระวาจาจนถึงบัดนี้ และในปัจจุบันชุมชนทุกเขตวัดก็ยังเติบโตขึ้นโดยฟัง เฉลิมฉลอง และศึกษาพระวาจาของพระเจ้า ต้องยอมรับว่าในช่วงเวลา 10 - 20 ปีที่เพิ่งผ่านมานี้ ชีวิตของชุมชนตามวัดได้ตระหนักมากยิ่งขึ้นถึงความหมายของการเปิดเผยความจริงของคริสตศาสนาโดยคำนึงถึงธรรมประเพณีและพระคัมภีร์ อาจกล่าวได้ว่า เริ่มตั้งแต่สมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 13 ได้มีความตระหนักมากขึ้นถึงความสำคัญของพระวาจาของพระเจ้าและการศึกษาค้นคว้าพระคัมภีร์[2]Dei Verbum เรื่องการเผยความจริงของพระเจ้า เอกสารฉบับนี้นับว่าสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร "บรรดาพระสังฆราชแห่งสมัชชา........ ยอมรับด้วยความกตัญญูว่าเอกสารฉบับนี้ได้นำผลดีอย่างมากมายแก่ชีวิตพระศาสนจักร ในด้านการตีความพระคัมภีร์ ด้านเทววิทยา ด้านชีวิตจิต รวมทั้งงานอภิบาลและคริสตศาสนสัมพันธ์"[3] ในช่วงเวลาที่เพิ่งผ่านมานี้ได้มีความตระหนักมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในการเปิดเผย "เรื่องพระตรีเอกภาพและประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น"[4] ซึ่งในมุมมองนี้เป็นที่ยอมรับว่าพระเยซูคริสตเจ้าคือ "คนกลาง(ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์)และทรงเป็นผู้เผยความจริงที่สมบูรณ์ที่สุด"[5] ตลอดมาทุกชั่วอายุคน พระศาสนจักรประกาศโดยไม่หยุดหย่อนว่าพระคริสตเจ้า "ทรงใช้การประทับอยู่และแสดงพระองค์ให้ปรากฏในทุกแบบ ได้แก่พระวาจาและกิจการ เครื่องหมายและการอัศจรรย์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพอย่างรุ่งโรจน์ และในที่สุด โดยการส่งพระจิตเจ้าลงมา ทรงทำให้การเผยความจริงของพระเจ้าสำเร็จสมบูรณ์"[6] ในชีวิตของพระศาสนจักร และมาถึงจุดยอดในสภาสังคายนาสากลวาติกันที่ 2 โดยเฉพาะที่ได้ประกาศธรรมนูญ

ทุกคนทราบดีว่าธรรมนูญ Dei Verbum นี้ได้ช่วยผลักดันให้ปลุกความสนใจขึ้นอย่างมากในชีวิตของพระศาสนจักรเกี่ยวกับพระวาจาของพระเจ้า เพื่อพิจารณาเรื่องการเผยความจริงในด้านเทววิทยาและศึกษาค้นคว้าพระคัมภีร์ ในช่วงเวลาสี่สิบปีที่ผ่านมา พระศาสนจักรผู้มีอำนาจสั่งสอนได้ออกเอกสารหลายฉบับเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว[7] ในการประชุมสมัชชาครั้งนี้ พระศาสนจักรซึ่งกำลังเดินทางโดยมีพระจิตเจ้าทรงนำ ก็ตระหนักดีว่าตนได้รับเรียกให้มาศึกษาค้นคว้าเรื่องพระวาจาของพระเจ้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อสำรวจดูว่าตนได้ปฏิบัติอย่างไรตามคำแนะนำของสภาสังคายนา และเพื่อรับมือกับการท้าทายใหม่ๆที่โลกปัจจุบันนำมาให้ผู้มีความเชื่อในพระคริสตเจ้า



[1] Cfr XII Coetus Generalis Ordinarius Synodi Episcoporum, Instrumentum laboris, 27.

[2] Cfr Leo XIII, Litt.enc. Providentissimus Deus (18 Novembris 1893): ASS 26 (1893-94), 269-292; Benedictus XV, Litt.enc. Spiritus Paraclitus (15 Septembris 1920); ASS 12 (1920), 384-422; Pius XII, Litt.enc. Divino afflante Spiritu (30 Septembris 1943):AAS 35 (1943), 297-325.

[3] Propositio 2.

[4] Ibid.

[5] Conc.Oecum.Vat.II. Const.dogm.de divina Revelatione Dei Verbum, 2.

[6] Ibid. 4.

[7] ในบรรดาเอกสารต่างๆเหล่านี้ ที่น่าสังเกตคือ: Paulus VI. Ep.ap. Summi Dei Verbum (4 Novembris 1963): AAS 55 (1963), 979-995; Ed. Motu Proprio Sedula cura (27 Junii 1971): AAS 63 (1971), 665-669; Joannes Paulus II, Audientia Generalis (1 Maii 1985): L'Osservatore Romano, 2-3 Maii 1985, p.6; Id. Allocutio de interpretatione Bibliorum in Ecclesia (23 Aprilis 1993): AAS 86 (1994), 232-243; Benedictus XVI, Allocutio ad Congressum Internationalem XL elapsis annis a Const.dogm. Dei Verbum edita (16 Sept. 2005), AAS 97 (2005), 957; Id. Angelus (6 Novembris 2005): Insegnamenti I (2005), 759-760. ยังต้องคำนึงถึงเอกสารของ Pont.Commissio Biblica: De sacra Scriptura et christologia (1984): Ench.Vat. 9, n.1208-1339: Unità e diversità nella Chiesa (11 Aprilis 1993): Ench.Vat.11, n. 544-643: L'interpretazione della Bibbia nella Chiesa (15 Aprilis 1993): Ench.Vat.13, n. 2846-3150; Il popolo ebraico e le sue sacre Scritture nella Bibbia cristiana (24 Maii 2001); Ench.Vat. 20, n.733-1150; Bibbia e morale, Rdici bibliche dell'agire cristiano (11 Maii 2008), Città del Vaticao 2008 อีกด้วย.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก