“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

อารัมภบท

1.       "พระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้าดำรงอยู่ตลอดนิรันดร พระวาจานี้คือข่าวดีที่ได้ประกาศให้ท่านทั้งหลายรู้แล้ว" (1 ปต 1:25; เทียบ อสย 40:8)   จากถ้อยคำของจดหมายฉบับแรกของเปโตรนี้ ซึ่งสะท้อนคำพูดของประกาศกอิสยาห์ เรามาอยู่ต่อหน้าธรรมล้ำลึกของพระเจ้าซึ่งทรงใช้พระวาจาเปิดเผยพระองค์ พระวจนาตถ์*** (หรือ "พระวาจา")นี้ซึ่งดำรงอยู่ตลอดนิรันดร ได้ทรงเข้ามาในกาลเวลา พระเจ้าทรงประกาศพระวาจานิรันดรนี้ด้วยวิธีการของมนุษย์ พระวจนาตถ์ของพระองค์ "ทรงรับธรรมชาติมนุษย์" (ยน 1:14) นี่คือข่าวดี นี่คือข่าวที่ได้รับการประกาศตลอดมาทุกสมัยจนมาถึงเราในปัจจุบัน สมัชชาพระสังฆราชครั้งที่ 12 ซึ่งประชุมกันที่นครวาติกันระหว่างวันที่ 5 ถึง 26 เดือนตุลาคม ค.ศ. 2008  มีหัวข้อว่า "พระวาจาของพระเจ้าในชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร" จึงนับเป็นโอกาสดีที่เราจะพบกับพระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็น "พระวจนาตถ์ของพระบิดา" พระวจนาตถ์นี้ประทับอยู่ในที่ที่มีสองหรือสามคนชุมนุมกันในพระนามของพระองค์ (เทียบ มธ 18:20) ในพระสมณลิขิตเตือนหลังสมัชชาฉบับนี้ ข้าพเจ้ายินดีตอบสนองคำขอร้องของบรรดาพระสังฆราชแห่งสมัชชาที่จะให้ประชากรทุกคนของพระเจ้าได้รับรู้ผลดีมากมายที่เกิดขึ้นจากการประชุมที่นครวาติกันครั้งนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะที่เกิดจากความเห็นร่วมกัน[1] ข้าพเจ้ายังปรารถนาจะพิจารณาผลงานของสมัชชา โดยคำนึงถึงเอกสารต่างๆเพื่อเตรียมสมัชชานี้ด้วย ได้แก่ Lineamenta ( = แนวความคิด), และ Instrumentum laboris ( = อุปกรณ์ช่วยปฏิบัติงาน), รายงานก่อนและหลังการอภิปราย รวมทั้งเอกสารแถลงการณ์ทั้งที่ได้อ่านในห้องประชุม และที่พิมพ์ออกเผยแพร่, รายงานการประชุมและการอภิปรายในการประชุมย่อยต่างๆ คำประกาศสุดท้ายถึงประชากรของพระเจ้า และโดยเฉพาะข้อเสนอแนะบางข้อที่บรรดาพระสังฆราชแห่งสมัชชาเห็นว่ามีความสำคัญ โดยวิธีนี้ ข้าพเจ้าอยากจะชี้ให้เห็นหลักการบางประการเพื่อค้นพบพระวาจาของพระเจ้าในชีวิตของพระศาสนจักรอีกครั้งหนึ่ง พระวาจานี้ก่อให้เกิดการปรับปรุงชีวิตอยู่เสมอ ข้าพเจ้ายังหวังด้วยว่าพระวาจาจะเป็นหัวใจของกิจกรรมต่างๆในพระศาสนจักรมากยิ่งๆขึ้น



*** คำว่า "พระวาจา" ("Verbum" ในภาษาละติน - "Logos" ในภาษากรีก - และ "Word" ในภาษาอังกฤษ) ในเอกสารนี้ นอกจากจะใช้หมายถึง "คำพูด" โดยทั่วไปแล้ว ยังใช้ในความหมายที่เป็น "บุคคล" (personified) ด้วย โดยเฉพาะในความหมายของ "พระบุคคล" ในองค์พระเจ้า (พระบุคคลที่สองในพระตรีเอกภาพ) ซึ่งในกรณีนี้ชาวคาทอลิกมักจะแปลว่า "พระวจนาตถ์" ที่ทรงรับธรรมชาติมนุษย์มาบังเกิดเป็น "พระเยซูคริสตเจ้า"  - ผู้อ่านเอกสารจึงควรคำนึงถึงความหมายนี้ด้วย   นอกเหนือจากความหมายของ "พระวาจา" ที่พระเจ้าตรัสกับมนุษย์และมีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ - ผู้แปล

[1] Cfr Propositio 1.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก