“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“จงรับเถิด นี่เป็นกายของเรา นี่เป็นโลหิตของเรา โลหิตแห่งพันธสัญญา”

74. พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท (3)
 b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
            1. นักบุญมาระโกเล่าเรื่องอาหารค่ำมื้อสุดท้าย เพื่อเสนอความหมายลึกซึ้งของศีลมหาสนิทให้แก่คริสตชนผู้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณเพื่อระลึกพระคริสตเจ้า บริบทของเรื่องเล่าตอนนี้อยู่ระหว่างเรื่องพระคริสตเจ้าทรงประกาศการทรยศของยูดาส กับเรื่องการทำนายคำปฏิเสธของนักบุญเปโตร เพื่อแสดงความรักสมบูรณ์และความเมตตากรุณาของพระเยซูเจ้า ผู้ทรงมอบพระองค์เองแก่ผู้ที่ทรยศและปฏิเสธพระองค์

            2. ความหมายของศีลมหาสนิทหรือพิธีบูชาขอบพระคุณมี 5 ประการดังนี้ ประการแรกมีความหมายตามชื่อคือ เป็นการขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับพระราชกิจยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงกระทำทั้งในโลกและในชีวิตของเราทุกคน การขอบพระคุณหมายถึงการรับรู้และยอมรับพระพรจากพระเจ้า รวมทั้งสำนึกว่าพระเจ้าทรงเป็นของประทานสำหรับเรา

            3. ประการที่สอง พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นงานเลี้ยงฉลอง เป็นการรับประทานอาหารมื้อเย็นร่วมกัน ซึ่งพระเจ้าผู้ทรงเมตตากรุณาทรงจัดไว้เพื่อเลี้ยงประชากรของพระองค์ เป็นอาหารที่ให้พละกำลังแก่ผู้ดำเนินชีวิตในโลก ดังที่เราอ่านในพันธสัญญาเดิมว่า เมื่อประกาศกเอลียาห์ได้กินขนมปังแล้ว ก็เดินได้อย่างกระฉับกระเฉงเป็นเวลาสี่สิบวันสี่สิบคืน จนไปถึงภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า (เทียบ 1 พกษ 19:1-8)

            4. ประการที่สาม พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า น่าสังเกตว่าคำ “อนุสรณ์” ในที่นี้ไม่หมายถึงเพียงการระลึกถึงอดีตเท่านั้น แต่ยังหมายถึงผลการไถ่กู้ของพระคริสตเจ้าที่เป็นปัจจุบันสำหรับเราผู้ร่วมพิธีกรรม การบิขนมปังและการดื่มเหล้าองุ่นที่เปลี่ยนพระโลหิต เป็นสัญลักษณ์ของพระคริสตเจ้าผู้ทรงมอบชีวิตทั้งหมดของพระองค์แก่เรา

           5. ประการที่สี่ พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นเครื่องบูชาที่พระองค์ทรงถวายอย่างแท้จริง การหลั่งพระโลหิตทำให้พันธสัญญาใหม่ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์สำเร็จไปอย่างถาวร พระโลหิตของพระเยซูเจ้าชวนให้คิดถึงเลือดแห่งพันธสัญญาบนภูเขาซีนาย เวลานั้น สมณะชาวยิวเก็บเลือดสัตว์ แล้วเผาร่างสัตว์ถวายแด่พระเจ้า สำหรับชาวยิวเลือดสัตว์เป็นของพระเจ้าอยู่แล้วเพราะหมายถึงชีวิต เขาจึงใช้เลือดสัตว์ปะพรมประชากรเพื่อแสดงว่า ประชากรคืนดีกับพระเจ้าเพราะมีสายโลหิตเดียวกันคือพระจิตเจ้า ดังนั้น พระโลหิตที่พระเยซูเจ้าทรงหลั่งบนไม้กางเขน ไม่เป็นเพียงของประทานจากพระเจ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นพระเจ้าผู้ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา พระโลหิตของพระเจ้าซึ่งเป็นพลังแห่งชีวิตก็กลับเป็นเลือดของเรา

           6. ประการที่ห้า พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นการประกาศล่วงหน้าถึงงานเลี้ยงมงคลสมรสนิรันดร เป็นการมาถึงของพระอาณาจักรอย่างถาวร เมื่อพระเจ้ากับมนุษย์มีความสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ เหล้าองุ่นที่เสกเป็นพระโลหิตซึ่งพระเยซูเจ้าทรงหลั่งบนไม้กางเขน ชวนเราให้คิดถึงและเป็นการสัญญาถึงเหล้าองุ่นแห่งชีวิตของงานเลี้ยงฉลองในสวรรค์

           7. พระเยซูเจ้าทรงเชิญชวนผู้มีความเชื่อทุกคนให้รับ กินและดื่ม นี่คือการเชิญชวนทุกคนให้เข้ามีความสัมพันธ์ทางกายกับการถวายบูชาของพระคริสตเจ้า เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตอย่างอิสระและมีส่วนร่วมในพระพรแห่งพันธสัญญาของพระองค์ ด้วยวิธีนี้ เราจึงมีชีวิตใหม่และสามารถมอบชีวิตของตนแก่ผู้อื่นตามพระฉบับของพระองค์ เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” พระองค์ทรงเชิญชวนเราให้มอบตนเองแก่ผู้อื่นตามพระฉบับของพระองค์ ดังนั้น พิธีบูชาขอบพระคุณจึงเป็นเครื่องหมายและการเริ่มต้นของความสมานฉันท์ของมนุษยชาติ เพราะเหตุนี้ ชุมชนผู้มีความเชื่อก็มาชุมนุมพร้อมกันเพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกัน

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก