รำพึงประจำวัน โดย ภราดาอำนวย  ยุ่นประยงค์
1.อย่ายึดความดีไว้จากผู้ที่สมควรจะได้รับ
ในเมื่อสิ่งนี้อยู่ในอำนาจมือของเจ้าที่จะกระทำได้
(สุภาษิต 3:27)
                ต้นฉบับฮีบรูแปลว่า “จากผู้เป็นเจ้าของ” ฝ่ายฉบับเจ็ดสิบแปลว่า “จากคนจน” เงินที่คนจนควรได้แล้วถูกเก็บไว้ถือว่าเป็นทรัพย์อธรรม (ลก 16.9) พวกเขาเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น คนรวยคือข้ารับใช้พระเจ้า มีหน้าที่แจกจ่ายทรัพย์สินให้แก่คนยากจน และโดยเฉพาะแก่คริสตชนด้วยกัน (กท 6.10 รม 12.13 ฮบ 13.2 ตต 1.8 ยก 2.15-16/ 5.4 1ปต 4.9 มธ 25.40 ลก 10.29-37/ 14.12-14)  เพราะความร่ำรวยของเขามาจากพระพรของพระเป็นเจ้าด้วย (สดด 75.6-7/ 1 คร 4.7) แต่ทั้งนี้ย่อมหมายความว่าเรามีพอช่วยคนอื่นได้ กฏโมเสสที่ว่าอย่าเก็บเกี่ยวข้าวที่มุมนา และอย่าหวนไปเก็บฟ่อนข้าวที่ลืม ย่อมสนับสนุนให้เห็นใจคนยากจน (ลนต 19.9-10/ ฉธบ 24.19)

                  หนี้สินที่ต้องจ่ายเช่น ค่าเช่า ค่าแรง คืนเงินที่ยืมมา ฯลฯ จำเป็นต้องทำอยู่แล้ว (รม 13.7-8 ลนต 19.13 ฉธบ 24.14-15) แต่มีหนี้อีกประเภทหนึ่งที่จะพระเป็นเจ้านำมาในชีวิตของเรา เช่นความช่วยเหลือต่อเด็กกำพร้าและแม่หม้าย (โยบ 29.12-13 อสย 1.17 ยก 1.27) พระสัญญาใหม่เอ่ยถึงบุคคลใจกว้างเหล่านี้ เช่นเงินบริจาคของชาวฟิลิปปี (ฟป 4.10-19) ความใจกว้างของชาวมาเซโดเนียและอาคายา (รม 15.26) และโยแซฟแห่งไซปรัส (กจ 4.36-37) ไม่มีใครชอบคนรวยที่ตระหนี่ ปิดตาปิดใจต่อความต้องการของคนขัดสนในเมื่อมีความพร้อมที่ช่วยได้ อันที่จริงคนจนที่มีน้อยก็ต้องช่วยคนอื่นที่ขัดสนกว่าเช่นกัน เราดูแบบอย่างที่ดีของชาวยิวได้ ที่ต้องบริจาคเศษหนึ่งส่วนสิบของรายได้ทุกๆ สามปี