การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 5
ของสหพันธ์พระคัมภีร์คาทอลิก (CBF) ฮ่องกง
วันที่ 2-12 กรกฎาคม 1996
        ระหว่างวันที่ 2-12 กรกฎาคม ที่ผ่านมานี้ ค ุณพ่อทัศไนย์ คมกฤส และคุณพ่อไพเราะ มนิราช ผู้แทนคณะกรรมการพระคัมภีร์คาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมสมัชชาใหญ่ของ สหพันธ์พระคัมภีร์คาทอลิก (Catholic Biblical Federation หรือ CBF) ครั้งที่ 5 ที่ฮ่องกง ซึ่งจะกลับไปอยู่กับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 1 กรกฎาคม ปีหน้านี้ การประชุมสมัชชาใหญ่ (Plenary Assembly) ของสหพันธ์ฯจัดขึ้นทุก 6 ปี โดยเปลี่ยนสถานที่ไปตามทวีปต่าง ๆ นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 1969 โดยการประชุ มสมัชชาใหญ่ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศอ๊อสเตรีย เมื่อปี 1972  ครั้งที่สองจัดที่เกาะมอลต้าในปี 1978 ครั้งที่สามที่เมือง Bangalore ประเทศอินเดียในปี 1984 ครั้งที่สี่จัดที่กรุ งโบโกต้า ประเทศโคลัมเบียในปี 1990  การประชุมสมัชชาครั้งที่ 5 ที่ฮ่องกงครั้งนี้จึงนับเป็นการมองข้ามไปยังแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ที่พระวาจาของพระเจ้าจะต้องถูกหว่านและเจริญเติบโตขึ้น บังเกิดผลเก็บเกี่ยวได้มากมาย

         ผู้เข้าร่วมประชุมสมัชชาในครั้งนี้เป็นผู้แทนจากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก จำนวนราว 150 คน รวมทั้งจากประเทศที่เคยอยู่ในค่ายคอมมิวนิ สต์มาก่อนด้วย เช่น ลิธัวเนีย ฮังการี สาธารณรัฐเช็ค โครเอเซีย โปแลนด์ รวมทั้งจากสามเณราลัยที่ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ด้วย ผู้แทนจากประเทศใ กล้เคียงกับประเทศไทย นอกจากมาเลเซีย อินโดเนเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์แล้ว ยังมีผู้แทนจากประเทศพม่าและกัมพูชาอีกด้วย

        หัวข้อการประชุมสมัชชาคราวนี้คือ “พระวาจาของพระเจ้า บ่อเกิดแห่งชีวิต ” ซึ่งเป็นความคิดต่อเนื่องมาจากหัวข้อการประชุมสมัชชาครั้งก่อนเมื่อปี 1990 ที่กรุงโบโกต้า ซึ่งพูดถึง “การประกาศข่าวดีแนวใหม่” (New Evangelization) การประชุมเริ่มด้วยพิธีถวายเกียรติแด่พระคั มภีร์ซึ่งตั้งเด่นอยู่ในห้องประชุมใหญ่ตลอดการประชุมทั้ง 10 วัน ระหว่างสิบวันของการประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการนำพระวา จามาใช้ในชีวิตคริสตชนของเหล่าสมาชิก ซึ่งมีทั้งผลสำเร็จน่าชื่นใจ รวมทั้งอุปสรรคต่าง ๆ ที่พบซึ่งจะต้องหาหนทางแก้ไขต่อไปด้วย
การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 5 ของสหพันธ์พระคัมภีร์คาทอลิก (CBF) ฮ่องกง วันที่ 2-12 กรกฎาคม 1996

         กิจกรรมยืนอย่างหนึ่งระหว่างการประชุมทั้งสิบวันนี้คือ“การนำพระวาจามาอ่านและพิจารณาร่วมกัน” เป็นกลุ่ม (Lectio Divina)ทุกวัน โด ยใช้เรื่องพระเยซูเจ้าทรงพบและสนทนากับหญิงชาวสะมาเรียในพระวรสารนักบุญยอห์น บทที่ 4  พระวาจาจากพระวรสารบทนี้ให้ข้อคิดสำหรับชี วิตและการทำงานประกาศพระวาจาได้หลายแง่หลายมุม และยังชี้ให้เห็นบทบาทสำคัญของสตรีในพระศาสนจักรและสังคมปัจจุบันนี้อีกด้วย

         ที่ประชุมยังได้รับทราบถึงสภาพของพระศาสนจักรในฮ่องกงซึ่งมีพระคาร์ดินัล ยอห์นบัปติสต์ วู เป็นประมุข นอกจากนั้น คุณพ่อยอห์น ตง ยังได้บรรยายให้ทราบถึงสภาพของพระศาสนจักรในประเทศจีนซึ่งยังคงมีชีวิตชีวาอยู่และทางการก็ยอมรับว่ามีผู้คนกลับใจมารับความเชื่อเป็นจ ำนวนไม่น้อยอยู่ตลอดเวลา สถิติทางการแจ้งว่าจำนวนคาทอลิกในประเทศจีนมีราวสี่ล้านคนเท่านั้น แต่ตามความเป็นจริงจำนวนคาทอลิกมีมา กกว่านั้นมาก จำนวนพระสงฆ์และนักบวชก็เพิ่มขึ้นไม่น้อยเช่นกัน พระคาร์ดินัลวูแห่งฮ่องกงก็ได้ไปเยี่ยมสามเณราลัยที่กรุงปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้เมื่ อไม่นานมานี้ ทำให้ทราบถึงสภาพของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศจีนได้ดีขึ้น การที่พระศาสนจักรในประเทศจีนต้องถูกรัฐบาลควบคุมนั้น ในด้านหนึ่งก็มีผลดีที่ทำให้พระศาสนจักรสามารถทำงานก้าวหน้าไปได้อย่างเปิดเผย แทนที่จะต้องคอยหลบซ่อนเป็นองค์การนอกกฎหมายอยู่ต ลอดเวลา จำนวนพระสังฆราชที่ทางรัฐบาลแต่งตั้งโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรุงโรมมีราว 70 องค์ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าพระศาสนจั กร “ใต้ดิน” ไม่มีอีกแล้ว อันที่จริง คาทอลิก “ใต้ดิน”เหล่านี้ยังคงทำงานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน พระศาสนจักรคาทอลิกในประเท ศจีนจึงเปรียบเสมือนว่า “กำลังหว่านเมล็ดพืชพร้อมกับน้ำตาด้วยความรักและความทุกข์ยาก” โดยมีความหวังว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ด้วยความยินดีในอนาคต (เทียบ สดด 126.6)

         พระวาจาใน ยน 4.35 กล่าวถึงฤดูเก็บเกี่ยวที่จะมาถึง ที่ประชุมสมัชชาจึงได้ออกแถลงการณ์แสดงความหวังและแผนงานสำหรับอนาคตไว้ดังต่อไปนี้

         1) สหพันธ์ฯจะพยายามส่งเสริมให้มีการร่วมมือกันยิ่งขึ้นในการนำพระวาจามาใช้ในชีวิตคริสตชน ช่วยให้สถาบันต่าง ๆ เช่นศูนย์อบรมพิธี กรรม คำสอนและงานอภิบาล ได้ตระหนักยิ่งขึ้นในการปลุกสำนึกเรื่องความยุติธรรม สันติ และการบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม

         2) สหพันธ์ฯจะแสวงหาแนวทางร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมาธิการพระคัมภีร์ของพระศาสนจักรที่กรุงโรม และผลักดันให้สันตะสำนัก จัดการประชุมสมัชชาของบรรดาพระสังฆราช (Synod) เพื่อหาวิธีการที่จะทำให้ข้อกำหนดในสังฆธรรมนูญ “Dei Verbum” ข้อ 6 ถูกนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

        3) สหพันธ์ฯจะร่วมมือกับสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ในพระศาสนจักรในงานเฉลิมฉลองปี 2000 ที่จะมาถึง

         4) สหพันธ์ฯจะพยายามชักชวนให้มีการยกเลิกหนี้สินระหว่างประเทศในปี 2000 เพื่อให้ปีนี้เป็นปี “Jubilee” ยิ่งใหญ่ เป็นการยกภาระหนักออกจากบ่าของผู้ถูกข่มเหงอย่างหนึ่ง

         พร้อมกันนั้น สหพันธ์ฯยังขอร้องให้สมาชิกของสหพันธ์ฯแต่ละคนช่วยทำให้แผนงานที่กล่าวไว้ในการประชุมสมัชชาใหญ่ที่กรุงโบโกต้าได้ ดำเนินต่อไป โดยช่วยค้นหาแนวทางที่จะทำให้การศึกษาค้นความในการอธิบายพระคัมภีร์และการใช้พระคัมภีร์ในงานอภิบาลได้รับการสนับสนุ นยิ่ง ๆ ขึ้น โดยจัดให้มีการอบรมทั้งฆราวาสและพระสงฆ์นักบวช ให้ตระหนักว่าจะต้องให้พระวาจาจากพระคัมภีร์มีความสำคัญเป็นอันดับแรกใน งานอภิบาล และจัดให้มีการเฉลิมฉลองพระวาจา ให้เห็นความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างพระคัมภีร์และชีวิต กับพิธีกรรมและคำสอน นอกจาก นั้นควรส่งเสริมให้การเทศน์ปลุกเร้าสัตบุรุษให้รู้จักวิธีการที่จะทำให้พระวาจาเป็นบ่อเกิดแห่งชีวิตคริสตชนของตนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดาเยาวชน เพื่อให้พระวาจาสามารถเป็นบ่อเกิดแห่งชีวิต ในความหวังและความไม่แน่ใจของเขา

         สหพันธ์ฯยังขอร้องให้บรรดาสมาชิกพยายามใช้อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ของเทคโนโลยี่ในปัจจุบันให้กว้างขวางยิ่งขึ้นในการประกาศพระวาจา เช่น การสร้างรายการโทรทัศน์ วีดีทัศน์ Database, Internet เป็นต้น

         ในวันสุดท้ายของการประชุม ยังมีการเลือกตั้งผู้แทนภาคต่าง ๆ ที่จะคอยประสานงานของบรรดาสมาชิก และยังได้แต่งตั้งประธานของสห พันธ์ฯคนใหม่ คือพระสังฆราช Wilhelm Egger พระสังฆราชแห่งเมืองบอลซาโน ประเทศอิตาลี แทนประธานคนเก่า คือพระสังฆราช Alberto Ablondi พระสังฆราชแห่งเมืองลีวอร์นโน อิตาลี

คำแถลงการณ์ของการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 5

รายงานโดย คุณพ่อทัศไนย์ คมกฤส
ศูนย์อบรม “บ้านผู้หว่าน” สามพราน
4 สิงหาคม 1996