“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

มิติพระคัมภีร์ในการสอนคำสอน

74.      องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งเพื่อส่งเสริมงานอภิบาลของพระศาสนจักร ซึ่งถ้าใช้อย่างชาญฉลาดก็อาจช่วยให้พระคัมภีร์เป็นศูนย์กลางของชีวิตคริสตชนได้ คือการสอนคำสอนที่ต้องติดตามการดำเนินชีวิตของประชากรของพระเจ้าอยู่ตลอดเวลา ในรูปแบบและระดับต่างๆ.การสนทนาของพระเยซูเจ้ากับศิษย์ซึ่งกำลังเดินทางไปยังหมู่บ้านเอมมาอุส ตามที่ลูกาเล่าไว้ในพระวรสาร (ลก 24:13-35) เป็นตัวอย่างการสอนคำสอนที่มี "การอธิบายพระคัมภีร์" เป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งพระคริสตเจ้าเท่านั้นทรงมอบให้ได้ (เทียบ ลก 24:27-28) เมื่อทรงแสดงให้เห็นว่าพระคัมภีร์ได้เป็นจริงแล้วในพระองค์[1] จึงก่อให้เกิดความหวังขึ้นอีกครั้งหนึ่งซึ่งมีพลังมากกว่าความล้มเหลวทั้งหลาย และทำให้ศิษย์ทั้งสองคนกลายเป็นพยานที่มีความมั่นใจและน่าเชื่อถือของพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว

คำแนะนำทั่วไปเรื่องคำสอนมีข้อคิดสำคัญสำหรับการสอนคำสอนที่มีพระคัมภีร์เป็นพลังบันดาลใจ ข้าพเจ้าจึงยินดีเชิญชวนให้ใช้คำแนะนำนี้[2] ในโอกาสเดียวกันข้าพเจ้าใคร่จะเน้นว่าการสอนคำสอน "ก่อนอื่นหมดต้องซึมซาบด้วยกรอบความคิด จิตวิญญาณและมุมมองของพระคัมภีร์และพระวรสารโดยใช้ตัวบทของพระคัมภีร์อย่างสม่ำเสมอ ยังจะต้องระลึกอีกด้วยว่าการสอนคำสอนจะมีเนื้อหาสาระและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น ถ้าเราอ่านพระวาจาด้วยความคิดและใจรักเช่นเดียวกับพระศาสนจักร  ได้รับการนำทั้งในความคิดคำนึงและดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับที่พระศาสนจักรเคยปฏิบัติมาตลอดเวลาสองพันปี"[3] จำเป็นต้องพยายามส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับบุคคล  เหตุการณ์ และข้อความสำคัญในพระคัมภีร์ให้มีมากขึ้น จะเป็นประโยชน์ไม่น้อยถ้าจะส่งเสริมให้มีการท่องจำข้อความบางตอนจากพระคัมภีร์ ที่กล่าวเป็นพิเศษถึงพระธรรมล้ำลึกเรื่องพระคริสตเจ้า งานสอนคำสอนจะต้องเข้าถึงพระคัมภีร์ตามความเชื่อและธรรมประเพณีของพระศาสนจักร นั่นคือเข้าใจว่าถ้อยคำเหล่านั้นยังเป็นปัจจุบัน ประหนึ่งว่าพระคริสตเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่กับเราทุกวันนี้ทุกแห่งที่สองหรือสามคนรวมกันอยู่ในพระนามของพระองค์ (เทียบ มธ 18:20) การสอนคำสอนต้องสื่ออย่างมีชีวิตชีวาให้เรารู้จักประวัติศาสตร์ความรอดพ้นและเนื้อหาความเชื่อของพระศาสนจักร เพื่อผู้มีความเชื่อแต่ละคนจะได้รู้สึกว่าประวัติศาสตร์นี้เป็นชีวิตส่วนหนึ่งของตนด้วย

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเน้นความสัมพันธ์ระหว่างพระคัมภีร์กับคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกดังที่ "คำแนะนำทั่วไปเรื่องคำสอน" กล่าวไว้ว่า "พระคัมภีร์คือ ‘พระวาจาของพระเจ้าที่พระจิตเจ้าทรงดลใจให้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร' และคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกเป็นเอกสารสำคัญในปัจจุบันนี้ที่กล่าวถึงธรรมประเพณีของพระศาสนจักร และเป็นหลักมั่นคงเพื่อสอนความเชื่อ เอกสารทั้งสองนี้จึงได้รับเรียกมาช่วยหล่อเลี้ยงตามบทบาทและอำนาจของตน ให้การสอนคำสอนบังเกิดผลในพระศาสนจักรสมัยของเรา"[4]



[1] Cfr Propositio 23.

[2] Cfr Congregatio pro Clericis, Directorium generale pro catechesi (15 Augusti 1997), 94-96; Ench.Vat., 16, n. 875-878; Iannes Paulus II, Adhort.ap. Catechesi tradendae (16 Octobris 1979), 1298-1299.

[3] Ibid., 127: Ench.Vat. 16, n.935; cfr Iannes Paulus II, Adhort.ap. Catechesi trdendae (16 Octobris 1979), 27: AAS 71(1979), 1299.

[4] Ibid., 128: Ench.Vat. 16, n. 936.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก