“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

พระวาจาของพระเจ้า การคืนดี และการเจิมคนไข้

61.      ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพิธีบูชาขอบพระคุณคือศูนย์กลางความสัมพันธ์ระหว่างพระวาจาของพระเจ้ากับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เราจึงต้องเน้นถึงความสำคัญของพระคัมภีร์ในศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆอีกด้วย โดยเฉพาะศีลศักดิ์สิทธิ์ที่ให้การเยียวยารักษา นั่นคือศีลแห่งการคืนดี (ศีลอภัยบาป) และศีลเจิมคนไข้ เรามักจะมองข้ามบทบาทของพระคัมภีร์ในศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองนี้บ่อยๆ ถึงกระนั้นจำเป็นต้องอนุญาตให้พระคัมภีร์มีที่อยู่ของตนด้วย เราต้องไม่ลืมว่า "พระวาจาของพระเจ้าคือพระวาจาแห่งการคืนดี เพราะอาศัยพระวาจา พระเจ้าทรงนำทุกสิ่งให้กลับมาคืนดีกับพระองค์ (เทียบ 2 คร 5:18-20; อฟ 1:10) คนบาปลุกขึ้นมาได้อีกเพราะพระทัยกรุณาของพระเจ้าซึ่งรับธรรมชาติมนุษย์ในองค์พระเยซูเจ้า"[1] "อาศัยพระวาจาของพระเจ้าผู้มีความเชื่อได้รับแสงสว่างเพื่อรู้จักบาปของตน ได้รับเรียกให้กลับใจและวางใจในพระกรุณาของพระเจ้า"[2] ยิ่งเราพิจารณาพลังการคืนดีของพระวาจาของพระเจ้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น  เราก็เตือนให้ผู้ต้องการแก้บาปแต่ละคนเตรียมตัวสารภาพบาปโดยรำพึงข้อความที่เหมาะสมจากพระคัมภีร์ และอาจเริ่มการสารภาพบาปโดยอ่านหรือฟังคำตักเตือนจากพระคัมภีร์ ดังที่จัดไว้ล่วงหน้าแล้วในจารีตพิธี ยังเห็นได้ชัดด้วยว่าเป็นการเหมาะที่ผู้ต้องการแก้บาปจะใช้ "บทภาวนาที่แต่งขึ้นมาจากถ้อยคำของพระคัมภีร์"[3] ดังที่เสนอแนะไว้ในจารีตพิธี เมื่อทำได้ ย่อมเป็นการดีถ้าในช่วงเวลาพิเศษของปีหรือถ้ามีโอกาส การสารภาพแต่ละคนสำหรับผู้ต้องการแก้บาปหลายคนอาจมีขึ้นในพิธีกรรมศีลอภัยบาปดังที่มีอยู่ในหนังสือจารีตพิธี โดยเคารพต่อธรรมประเพณีต่างๆด้านพิธีกรรม ในพิธีเช่นนี้จะต้องให้เวลามากขึ้นสำหรับวจนพิธีกรรมโดยใช้บทอ่านต่างๆที่เหมาะสม

ในกรณีของศีลเจิมคนไข้ด้วย ก็ไม่ควรจะลืมว่า "พลังรักษาโรคที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพระวาจาของพระเจ้าเป็นการเรียกร้องอย่างจริงจังอยู่ตลอดเวลาให้ผู้ฟังได้กลับใจ"[4] พระคัมภีร์มีข้อความอยู่หลายหน้าทีเดียวที่กล่าวถึงการให้กำลังใจ การช่วยพยุงและเยียวยารักษาจิตใจที่พระเจ้าทรงนำมาให้ โดยเฉพาะเรายังต้องระลึกว่าพระเยซูเจ้าทรงอยู่ใกล้ชิดกับผู้รับทรมาน และพระองค์ผู้ทรงเป็นพระวจนาตถ์ซึ่งรับธรรมชาติมนุษย์ ก็ทรงแบกความเจ็บปวดของเรา และทรงรับทรมานเพราะความรักต่อมนุษย์ และดังนี้จึงทรงทำให้ความเจ็บป่วยและความตายมีความหมาย. ภายในเขตวัดและโดยเฉพาะตามโรงพยาบาล ควรต้องมีการประกอบพิธีศีลเจิมคนไข้เป็นส่วนรวมด้วยตามความเหมาะสม ในโอกาสเช่นนี้ควรจัดให้มีเวลามากขึ้นสำหรับวจนพิธีกรรมและควรช่วยเหลือผู้ป่วยให้ยอมรับความเจ็บปวดด้วยความเชื่อ เป็นการร่วมการทรมานเพื่อไถ่กู้พร้อมกับพระคริสตเจ้าผู้ทรงช่วยเราให้พ้นจากความชั่วร้าย



[1] Ptopsitio 8.

[2] Ritus Paenitentiae, 17.

[3] Ibid. 19.

[4] Propositio 8.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก