“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

พระคัมภีร์ การดลใจ และความจริง

19.      ไม่ต้องสงสัยว่า การดลใจ คือความคิดหลักเพื่อเข้าใจว่าข้อความในพระคัมภีร์เป็นพระวาจาของพระเจ้าในคำพูดของมนุษย์ ที่ตรงนี้เราอาจใช้การอุปมานได้ด้วย พระวจนาตถ์ของพระเจ้าทรงรับธรรมชาติมนุษย์ในพระครรภ์ของพระนางพรหมจารีมารีย์เดชะพระจิตเจ้าฉันใด พระคัมภีร์ก็เกิดจากครรภ์ของพระศาสนจักรเดชะพระจิตเจ้าด้วยฉันนั้น "พระคัมภีร์คือพระวาจาของพระเจ้า ที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยการดลใจของพระจิตเจ้า"[1] ด้วยวิธีนี้เราจึงยอมรับบทบาทสำคัญของมนุษย์ผู้เขียนข้อความที่ได้รับการดลใจ และในเวลาเดียวกันพระเจ้าเองก็ทรงเป็นผู้นิพนธ์แท้จริงของพระคัมภีร์ด้วย

ตามที่บรรดาพระสังฆราชแห่งสมัชชาได้กล่าวไว้ การพิจารณาเรื่องการดลใจเป็นหัวข้อสำคัญเพื่อเข้าถึงพระคัมภีร์ได้อย่างถูกต้องและอธิบายความหมายได้อย่างเหมาะสม[2] การนี้จะต้องอาศัยความช่วยเหลือของพระจิตเจ้าองค์เดียวกันกับที่ทรงดลใจให้เขียน[3] ถ้าเรามีสำนึกถึงการดลใจนี้ลดน้อยลงก็น่ากลัวว่า เราจะอ่านพระคัมภีร์เหมือนเป็นเพียงเอกสารฉบับหนึ่งเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เป็นผลงานของพระจิตเจ้าที่เราอาจได้ยินพระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้า และยอมรับว่าพระองค์ประทับอยู่ในประวัติศาสตร์นี้ได้

บรรดาพระสังฆราชแห่งสมัชชายังย้ำด้วย ถึงความสัมพันธ์เรื่องการดลใจกับเรื่องความจริงของพระคัมภีร์[4] การศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงขั้นตอนของการดลใจย่อมจะนำเราให้เข้าใจความจริงที่อยู่ในหนังสือต่างๆของพระคัมภีร์ได้ดีขึ้น ตามคำสอนของสภาสังคายนา หนังสือที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้าย่อมสอนความจริง "เนื่องจากว่าทุกสิ่งที่ผู้นิพนธ์ได้รับการดลใจเขียนไว้ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่พระจิตเจ้าทรงกล่าวไว้เช่นเดียวกัน เราจึงต้องยอมรับว่าหนังสือต่างๆของพระคัมภีร์สอนความจริงอย่างหนักแน่น ซื่อสัตย์ และถูกต้องไม่ผิดหลง ความจริงนี้พระเจ้าทรงให้เขียนไว้ในพระคัมภีร์เพื่อความรอดพ้นของเรา ดังนั้น "พระคัมภีร์ทั้งหมดซึ่งได้รับการดลใจจากพระเจ้าจึงเป็นประโยชน์สำหรับสั่งสอนตักเตือน แก้ความผิดหลง และอบรมให้บรรลุถึงความชอบธรรม เพื่อให้คนของพระเจ้าเป็นผู้ครบครัน พร้อมที่จะประกอบกิจการอันดีงามทุกอย่าง" (2 ทธ 3:16-17)"[5]

ไม่ต้องสงสัยว่า การค้นคว้าทางเทววิทยาได้คิดคำนึงอยู่เสมอว่าการดลใจและความจริงเป็นความคิดสองประการ ที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายความหมายของพระคัมภีร์ในพระศาสนจักร. ถึงกระนั้น เราก็ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้จำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าเรื่องเหล่านี้อย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการอธิบายตัวบทพระคัมภีร์ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงได้ ข้าพเจ้าจึงปรารถนาอย่างยิ่งให้มีการศึกษาค้นคว้าก้าวหน้ามากขึ้นในด้านนี้ จะได้บังเกิดผลทั้งในด้านการศึกษาพระคัมภีร์ทางวิชาการและด้านชีวิตจิตของบรรดาผู้มีความเชื่อ



[1] Ibid.,9.

[2] Cfr Propositiones 5. 12.

[3] Cfr Conc.Oecum.Vat.II, Const.dogm.de divina Revelatione Dei Verbum, 12.

[4] Cfr Propositio 12.

[5] Con.Oecum.Vat.II, Const.dogm. de divina Revelatione Dei Verbum, 11.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก