“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

ข้อคิดจากพระวาจาประจำวัน  โดย..คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2017
สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา
มธ6:24-34
       เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาอัครสาวกว่า

     “ไม่มีใครเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนายได้เขาจะชังนายคนหนึ่งและจะรักนายอีกคนหนึ่งเขาจะจงรักภักดีต่อนายคนหนึ่งและจะดูหมิ่นนายอีกคนหนึ่งท่านทั้งหลายจะปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าและเงินทองพร้อมกันไม่ได้

       ฉะนั้นเราบอกท่านทั้งหลายว่าอย่ากังวลถึงชีวิตของท่านว่าจะกินอะไรอย่ากังวลถึงร่างกายของท่านว่าจะนุ่งห่มอะไรชีวิตย่อมสำคัญกว่าอาหารและร่างกายย่อมสำคัญกว่าเครื่องนุ่งห่มมิใช่หรือจงมองดูนกในอากาศเถิดมันมิได้หว่านมิได้เก็บเกี่ยวมิได้สะสมไว้ในยุ้งฉางแต่พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ทรงเลี้ยงมันท่านทั้งหลายมิได้มีค่ามากกว่านกหรือท่านใดบ้างที่กังวลแล้วต่ออายุของตนให้ยาวออกไปอีกสักหนึ่งวันได้ท่านจะกังวลถึงเครื่องนุ่งห่มทำไมจงสังเกตดูดอกไม้ในทุ่งนาเถิดมันเจริญงอกงามขึ้นได้อย่างไรมันไม่ทำงานมันไม่ปั่นด้ายแต่เราบอกท่านทั้งหลายว่ากษัตริย์ซาโลมอนเมื่อทรงเครื่องอย่างหรูหราก็ยังไม่งดงามเท่าดอกไม้นี้ดอกหนึ่งแม้แต่หญ้าในทุ่งนาซึ่งมีชีวิตอยู่วันนี้รุ่งขึ้นจะถูกโยนทิ้งในเตาไฟพระเจ้ายังทรงตกแต่งให้งดงามเช่นนี้พระองค์จะไม่สนพระทัยท่านมากกว่านั้นหรือท่านช่างมีความเชื่อน้อยจริงดังนั้นอย่ากังวลและกล่าวว่า ‘เราจะกินอะไรหรือจะดื่มอะไรหรือเราจะนุ่งห่มอะไร’ เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้คนต่างศาสนาแสวงหาพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ทรงทราบแล้วว่าท่านต้องการทุกสิ่งเหล่านี้จงแสวงหาพระอาณาจักรของพระเจ้าและความชอบธรรมของพระองค์ก่อนแล้วพระองค์จะทรงเพิ่มทุกสิ่งเหล่านี้ให้

       ดังนั้นท่านทั้งหลายอย่ากังวลถึงวันพรุ่งนี้เพราะวันพรุ่งนี้จะกังวลสำหรับตนเองแต่ละวันมีทุกข์พออยู่แล้ว”

(พระวาจาของพระเจ้า)

-----------

​พี่น้องที่รัก
โรควิตกกังวล (ภาษาอังกฤษ: Anxiety disorders)
เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว
ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear)
เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
​ทำให้เรานึกถึงเรื่องหนึ่งที่ พระสงฆ์ท่านหนึ่งได้พบกันเด็กๆ แก๊งค์จักรยาน
มีขับขี่กันหน้าวัดเป็นประจำ คุณพ่อท่านั้นก็เลยคุยกับเด็กๆ ว่า
​“ถ้าเธอจอดจักรยานเอาไว้ ฝากไว้กับพระบิดา หมายความว่า เธอฝากความห่วงไว้กับพระ
เข้าไปสวดกับพ่อสักครู่ แล้วพระบิดาจะประทานสิ่งของที่จำเป็นแก่ลูก”​

​เด็กๆ ก็จอดจักรยานไว้ แล้วตามคุณพ่อเข้าไปข้างในวัด แล้วคุณพ่อก็เริ่มสวด
​เดชะพระนาม....
​ข้าแต่พระบิดา...

​เด็กก็หันว่า จุ๊ๆปาก บอกคุณพ่อว่า “อย่าเรียกพระบิดา”
​“เพราะอะไร?” คุณพ่อถามอย่างสงสัย

​“เพราะพระบิดาเฝ้าจักรยานอยู่
เราฝากจักรยานไว้หน้าวัดกับพระบิดา”

​ความกังวลในชีวิต เป็นเรื่อง “บั่นทอน” ความเชื่อ
​เพราะเราจะขาดความวางใจ เชื่อใจ รอได้ ทำความเข้าใจให้เป็น ที่เป็นคุณสมบัติของความเชื่อ ที่ไม่ใช่ เรื่องด่วน วันสต๊อปเซอร์วิส
(One Stop Service)

​เมื่อพิจารณาบทอ่านที่หนึ่ง จากหนังสือประกาศกอิสยาห์ ที่ว่า
ศิโยนพูดว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงละทิ้งข้าพเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทรงลืมข้าพเจ้าแล้ว”
เวลาที่ยาวนาน วันเวลาที่เลื่อนเปลี่ยน กำลังสอนปรีชาญาณฝ่ายจิต ที่ก่อร่างสร้างความอดทน ความเข้าใจ ที่เป็นคุณสมบัติของความเชื่อ ดังชาวอิสราเอล ที่ต้อง “ใช้เวลา” “ผ่านกระบวนชีวิต” “พิสูจน์ตัวเอง” ก่อนจะพบความหมายของความเชื่อที่ไม่ใช่เรื่องการตอบแทน
แน่นอน ระหว่างทาง ในช่วงเวลารอคอยแบบนี้
“มีความกังวล” และความวิตกกังวลถ้าพิจารณาในทางบวก ก็คือ การรู้จักความบากบั่น รู้จักกลั่นเวลาที่รอคอยให้เป็นน้ำอดน้ำทนและความเข้าใจเชิงลึก แต่ถ้าพิจารณาในเชิงลบ กลับเป็นเรื่อง ความกังวล ความวิตก การคาดคอย ความหวังที่วางบนอากาศธาตุ
ท่าทีที่สำคัญ ที่เราที่มีความเชื่อ พึงมีต่อ “ความหวัง”
ความหวังที่มีความเชื่อ ไม่มีความวิตกกังวล
แต่ความหวังที่ไม่มีความเชื่อ เต็มไปด้วยความวิตกกังวล เพราะเราจัดการกับเรื่องความหวังไม่ถูกต้อ
เราให้ ความหวัง เป็น การคาดคอรอคอย
เราให้ ความหวัง เป็น การสร้างวิมาน ทำอาณาเขต ในอากาศ
เราให้ความหวัง เป็น การเติมใส่ สิ่งที่ขาดหาย มากกว่าค่อยๆ เรียนรู้ เรียนลึก เรียนรู้ต่อเนื่อง
เราทำ ความหวัง ให้เป็น “กรอบ ขอบ” ที่ขีดเส้นความต้องการของเรา ให้พระเจ้าจัดใส่

แต่ความหวังที่มีความเชื่อถูกตอบในจดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวโครินทร์ ฉ.1 ว่า

​“องค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมาพระองค์จะทรงฉายแสงให้ความลับที่ซ่อนอยู่ในความมืดจะปรากฏชัดและจะทรงเปิดเผยความในใจของทุกคนให้ปรากฏเมื่อนั้นทุกคนจะได้รับคำชมเชยจากพระเจ้าตามสมควร”

​ความหวังที่จะไม่ใช่ ความวิตกกังวลใจเลย คือ ความหวังที่ ไว้วางใจ
​ไม่คิดไปก่อน
ไม่คิดมากเกิน ไม่คิดห่วงคิดหวงคิดเอาแต่ได้
ไม่คิดหลงสลวน(สา-ละ-วน)
เข้าข้างตัวเอง ซึ่งเป็น “ท่าทีอ่อนๆ ของคนวิตกกังวล ถ้าเป็นอย่างนี้อย่างถาวรหรือมากไป ก็จะเข้าข่าย “วิกลจริต” ที่เป็นมากกว่า “วิตกกังวล”

​ความเชื่อ จึงสอนเราเรื่อง “การรอคอยหรือความหวัง” ให้เราเป็นคนสุภาพ
ไม่เรียกร้องเอาแต่ใจ
ไม่คาดหวังตีโพยตีพาย
เพื่อเราจะได้มี “ช่องความเข้าใจ” ที่เรียกว่า “พระหรรษทานแห่งความหวัง” นั่นคือ ดำรงอยู่ได้แม้จะยังไม่ได้รับการตอบแทนอย่างทันท่วงที ยืนหยัดอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับตอบสนองตามวิธีขีดเส้นของตนเอง

​ดังนั้น จึงอยากทบทวนพระวรสารที่อธิบายเรื่องความหวัง โดยเทียบเคียงกับวิถีชีวิตตามธรรมชาติที่บอกว่า

“ฉะนั้นเราบอกท่านทั้งหลายว่าอย่ากังวลถึงชีวิตของท่านว่าจะกินอะไรอย่ากังวลถึงร่างกายของท่านว่าจะนุ่งห่มอะไร
ชีวิตย่อมสำคัญกว่าอาหารและร่างกายย่อมสำคัญกว่าเครื่องนุ่งห่มมิใช่หรือ
จงมองดูนกในอากาศเถิดมันมิได้หว่านมิได้เก็บเกี่ยวมิได้สะสมไว้ในยุ้งฉาง
แต่พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ทรงเลี้ยงมันท่านทั้งหลายมิได้มีค่ามากกว่านก
หรือท่านใดบ้างที่กังวลแล้วต่ออายุของตนให้ยาวออกไปอีกสักหนึ่งวันได้”

ความหวัง ทำให้ความเชื่อของเรามีชีวิต
ความวิตกกังวล ทำให้ความเชื่อของเราเฉาตาย
ความหวังจึงเป็นคุณธรรมทางความเชื่อที่ให้เราออกจากตัวเอง
มุ่งหน้ามีชีวิตในพระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นเป้าหมาย
ออกเดินทางบากบั่นในชีวิตอย่างมีชีวิตชีวา
ทำให้เป้าหมายข้างหน้าเป็นเป้าหมายปลายทางบ้านแท้นิรันดรที่เราดำเนินชีวิตไปเพื่อชีวิตนิรันดร

ขอพระเจ้าองค์แห่งความรอดพ้น
บันดาลให้เราดำเนินชีวิตเพื่อชีวิตนิรันดร ที่เป็นความหวังของเรา

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 9:1-20) ขณะนั้น เซาโลยังคงเคียดแค้นคุกคามจะฆ่าบรรดาศิษย์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จึงเข้าไปพบมหาสมณะ ขอหนังสือมอบอำนาจไปยังศาลาธรรมต่างๆ ในเมืองดามัสกัส เพื่อจะได้จับกุมทุกคนที่พบ ไม่ว่าชายหรือหญิงที่ดำเนินชีวิตตามวิถีทางของพระคริสตเจ้า แล้วนำไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ขณะที่เขาเดินทางใกล้ถึงเมืองดามัสกัส ทันใดนั้น มีแสงสว่างจากท้องฟ้าล้อมรอบตัวเขาไว้ เขาล้มลงที่พื้นดินและได้ยินเสียงกล่าวว่า “เซาโล เซาโล ท่านเบียดเบียนเราทำไม”...
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 8:26-40)...
วันพุธที่ 17 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 7:51-8:1ก)...
วันอังคารที่ 16 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 7:51-8:1ก)...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์