“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันพุธที่ 15 มีนาคม 2017
สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต
มธ 20:17-28…
17พระเยซูเจ้ากำลังเสด็จขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม พระองค์ทรงพาเฉพาะอัครสาวกสิบสองคนออกไป แล้วตรัสแก่เขาขณะเดินทางว่า 18“บัดนี้ พวกเรากำลังขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม บุตรแห่งมนุษย์จะถูกมอบแก่บรรดาหัวหน้าสมณะและบรรดาธรรมาจารย์ เขาจะถูกตัดสินประหารชีวิต

19และจะถูกมอบให้คนต่างชาติสบประมาทเยาะเย้ย โบยตีและนำไปตรึงกางเขน แต่วันที่สามบุตรแห่งมนุษย์จะกลับคืนชีพ”
20มารดาของบุตรเศเบดีเข้ามาเฝ้าพระองค์พร้อมกับบุตร นางกราบลงทูลขอสิ่งหนึ่งจากพระองค์ 21พระองค์จึงตรัสถามนางว่า “ท่านต้องการอะไร” นางทูลว่า “ขอพระองค์ทรงอนุญาตให้บุตรทั้งสองคนของข้าพเจ้า นั่งข้างขวาคนหนึ่ง นั่งข้างซ้ายคนหนึ่งในพระอาณาจักรของพระองค์” 22พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านไม่รู้ว่ากำลังขออะไร ท่านดื่มถ้วยซึ่งเราจะดื่มได้หรือไม่” เขาทั้งสองทูลตอบว่า “ได้ พระเจ้าข้า” 23พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านจะดื่มถ้วยของเรา แต่การที่จะนั่งข้างขวาหรือข้างซ้ายของเรานั้นไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะให้ แต่สงวนไว้สำหรับผู้ที่พระบิดาของเราทรงจัดเตรียมไว้”

24เมื่อได้ยินดังนั้น อัครสาวกอีกสิบคนรู้สึกโกรธพี่น้องสองคนนั้น 25พระเยซูเจ้าจึงทรงเรียกทุกคนมาพบ ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายย่อมรู้ว่าคนต่างชาติที่เป็นหัวหน้า ย่อมเป็นเจ้านายเหนือผู้อื่น และผู้ใหญ่ย่อมใช้อำนาจบังคับ 26แต่ท่านทั้งหลายไม่ควรเป็นเช่นนั้น ผู้ที่ปรารถนาจะเป็นใหญ่ จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น 27และผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นคนที่หนึ่งในบรรดาท่านทั้งหลาย ก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ 28เหมือนกับที่บุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่ เพื่อมวลมนุษย์”

อรรถาธิบายและไตร่ตรอง
• พระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็ม กำลังขึ้นไป... ความหมายคืออะไรจริงๆ สำหรับพระเยซู และสำหรับบรรดาศิษย์ มีความเข้าใจแตกต่างกันแบบที่เราน่าจะเข้าใจและจับตามองดูสักนิด พ่ออยากชี้สองประเด็นที่แตกต่างทางเจตนาและเป้าหมายครับ

• “บรรดาศิษย์กำลังเดินทาง....พระเยซูเจ้าเสด็จนำเขาไป” สังเกตความชัดเจน และความเข้มข้นของการติดตามพระเยซูเจ้า บรรดาศิษย์ติดตาม และมาระโกเน้นว่า พระองค์เสด็จนำเขาไป

• “ขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม”
o สังเกตว่า พระองค์เสด็จมาจากทางเหนือ จากกาลิลีไปเยรูซาเล็ม ถ้าอ่านตามภูมิศาสตร์ คงบันทึมัทธิวเข้าใจผิดหรือ หรือว่าท่านไม่รู้จักปาเลสไตน์ดีเท่าที่ควร แต่ความจริง คำว่า “เสด็จขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็ม” ที่นี่แสดงให้เห็นไม่ใช่ความหมายทางภูมิศาสตร์
o แต่เป็นเทววิทยาเกี่ยวกับเยรูซาแล็ม เพราะที่ตั้งพระวิหาร ดังนั้นเป็นที่ประทับของพระเจ้า “ภูเขาศิโยน” บริบทที่ใช้จึงแสดงออกซึ่งความเคารพเสมอและยกให้เป็นที่สูงเสมอ
• ความต่างกันของเจตนาอย่างที่พ่อบอก พระเยซูเจ้าขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่ออะไร และบรรดาศิษย์เข้าใจอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ อาจมีความเข้าใจแตกต่างกันสองระดับ
o พระเยซูเจ้า มุ่งไปสู่หนทางแห่งกางเขน พระคริสตเจ้าที่ต้องรับทรมาน พระองค์มุ่งไปเพื่อรับความตาย และรู้ว่า บุตรแห่งมนุษย์จะต้องรับทรมาน...
o บรรดาศิษย์ พวกเขาคิดต่างๆ พวกเขาคิดว่าพระองค์และพวกเขากำลังมุ่งไปเพื่อปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เป็นพระแมสซียาห์ พระวรสารนักบุญมาระโกก็บันทึกเรื่องนี้ และมาระโกเน้นถึงความหวาดกลัวของประชาชน..และบรรดาศิษย์ก็ประหลาดใจด้วย... เราคิดไตร่ตรองต่อ...มีเหตุผลที่จะประหลาดใจและกลัว เพราะการเดินขึ้นไปเยรูซาเล็มเป็นกลุ่มชนเช่นนี้ย่อมหมายถึงการกบฏต่อจักรวรรดิโรมัน แต่ที่แน่ๆ พระเยซูเจ้าขึ้นไปเพื่อสิ้นพระชนม์ บรรดาศิษย์ขึ้นไปเพื่อเชื่อและหวังว่า พวกเขาจะได้เป็นใหญ่เป็นโตพร้อมกับพระเยซูเจ้า พวกเขาเชื่อว่า พระองค์จะเป็นกษัตริย์แน่นอน

• พระเยซูเจ้าทรงยืนยันคำสอนเรื่องลักษณะแท้ ๆ ของพระคริสตเจ้า พระคริสต์ที่ต้องรับทรมานนั้นเป็นคำสอนที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ และเป็นเจตนาของพระเยซูเจ้าในพระวรสาร ที่จะอบรมศิษย์ของพระองค์ ให้รับสัจธรรมแห่งความรอดประการนี้ เพื่อ “ผ่านกางเขนสู่แสงสว่าง” (แปร์ ครูแชม อัด ลูแชม) “Per Crucem ad Lucem”
o “สบประมาท เยาะเย้ย ถ่มน้ำลายรด โบยตี และฆ่าเสีย แต่หลังจากนั้นสามวัน พระองค์จะทรงกลับคืนชีพ”
o รายละเอียดเรื่องพระทรมานชัดมากๆ มากที่สุด เป็นการทำนายถึงสิ่งที่จะเกิดกับพระองค์ในวาระสุดท้ายที่เยรูซาเล็ม ซึ่งสิ่งที่ระบุมานี้ล้วนเป็นวิธีปฏิบัติต่อผู้ที่เป็นกบฏต่อจักรวรรดิทั้งสิ้น แต่ข้อสังเกตคือ การทำนายถึงพระทรมานนั้น พระองค์จะทำนายถึงการกลับคืนพระชนมชีพเสมอ ซึ่งนั่นคือมิติที่สูงกว่า แต่บรรดาศิษย์ของพระองค์ไม่เข้าใจ หรือไม่ยอมเข้าใจ แต่ที่แปลกคือทำไมไม่ถามพระองค์ในเรื่องนี้สักที

• ข้อสังเกตที่สำคัญที่สุด การที่มารดาของบุตรเศเบดีสองคนนี้ ยากอบและยอห์นเข้ามาขออภิสิทธิ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะทันที หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงทำนายถึงพระทรมานครั้งที่สาม ซึ่งพระองค์ทรงเน้นว่า “เรากำลังขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็ม”
o นั่นหมายความว่า ศิษย์ของพระเยซูเจ้าเข้าใจการเข้าเยรูซาเล็มของพระองค์นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับที่พระเยซูเจ้าทรงเข้าใจ
o การเข้ามาขอของของมารดา (มาระโกบันทึกว่าเขาทั้งสองเข้ามาขอด้วยตนเอง เทียบ มก 10:35-40) เขาแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น และเลือกที่จะเข้าใจเฉพาะความรุ่งโรจน์ของพระองค์ แม้พระองค์ทรงสอนรหัสธรรมของพระองค์อย่างเปิดเผย แต่บรรดาศิษย์ดูเหมือนไม่เข้าใจเอาเสียเลย
o โดยตลอดดูเหมือนพวกเขายังคงไม่เห็น ไม่รู้ ไม่เข้าใจ พระธรรมล้ำลึกปัสกาของพระองค์ บรรดาศิษย์ของพระองค์ยังคงบอดมืดในความเข้าใจถึงพระองค์นั่นเอง
o กุญแจสำคัญเริ่มชัดเจนว่า ทำไมทั้งสองช่วงของพระวรสารของนักบุญมัทธิวจบเรื่องการเดินทางเข้าเยรูซาเล็มด้วยเรื่องคนตาบอดสองคน... บางทีหมายถึงศิษย์สองคนพี่น้องและคนอื่นๆ ยังบอดมืดในความหมายแห่งการรับทรมานของพระเยซูเจ้า พวกเขาคิดถึงแต่อำนาจบารมีและความคิดจะได้เป็นใหญ่พร้อมกับพระเยซูเจ้า จนได้ลืมความหมายของการเป็นผู้ช่วยให้รอดแท้จริงของพระเยซูเจ้าที่จะต้องผ่านไม้กางเขนและความตาย

• “ยากอบและยอห์น บุตรของเศเบดี” ทั้งสองคนอยู่ในลำดับแรกของลำดับรายชื่อของอัครสาวกทั้ง 12 ของพระเยซูเจ้า (มก 1:16-20) และทั้งสองนี้จะอยู่ร่วมกับเปโตร (รวมเป็นสามคน)บ่อยๆ ในเหตุการณ์สำคัญ (มก 5:37; 9:2; 14:33)

• “ขอคนหนึ่งนั่งข้างขวา อีกคนหนึ่งนั่งข้างซ้ายของพระองค์ในพระอาณาจักรของพระองค์”
o คำขอนี้ทำให้เห็นความเข้าใจของทั้งสองต่อการเสด็จเข้าเยรูซาแล็มของพระเยซูเจ้า และแสดงให้เห็นความโง่เขลา หรือความไม่รู้อย่างแท้จริงถึงความเป็นพระคริสต์ของพระเยซูเจ้า
o พระองค์เสด็จไปเพื่อรับความตายบนไม้กางเขน... แต่พวกเขาคิดว่าพระองค์จะครองบัลลังก์ของกษัตริย์แห่งอิสราเอล และปรารถนาจะได้เป็นใหญ่กับพระองค์

• “ท่านดื่มถ้วยซึ่งเราจะดื่มได้ไหม”
o พระเยซูเจ้าทรงตอบสนองต่อคำขอเพราะความไม่รู้ของเขาทั้งสอง พระองค์ทรงเสนอ “ถ้วย” คนที่นั่งข้างขวาและข้างซ้ายของกษัตริย์ต้องดื่มถ้วยที่กษัตริย์จะดื่ม เพราะถ้ามีการวางยาพิษซึ่งกษัตริย์ในอดีตต้องระวังตลอด นั่นหมายถึงพร้อมตายแทนพระองค์ ยินดีนั่งข้างๆ เป็นใหญ่กับพระองค์... แต่ในพระคัมภีร์เราทราบไม่ใช่หรือว่า “ถ้วย.. หมายถึงพระทรมาน” (พระบิดาเจ้าข้าถ้าเป็นไปได้ โปรดให้กาลิกส์นี้พ้นไปเถิด) เทียบ มก 14)
o ที่สุดพระเยซูเจ้าสัญญาว่า เขาทั้งสองจะได้ดื่มถ้วย “ถ้วยที่เราจะดื่มนั้น ท่านจะได้ดื่ม และการล้างที่เราจะรับนั้น ท่านก็จะได้รับ” ทำนายถึงการที่พวกเขาจะได้มีส่วนในรหัสธรรมของพระเยซูเจ้า และแม้ว่าบนไม้กางเขน (กางเขนคือบัลลังก์ของพระเยซูเจ้า พวกเขาจะหนีไปหมด...จนพระคัมภีร์ต้องใช้ภาษาประชดประชันว่า สองคนที่อยู่บนกางเขนข้างซ้ายข้างขวาพระองค์กลายเป็นโจรไปแทนที่จะเป็นเจ้าศิษย์สองคนนี้)

• พระเยซูเจ้าเข้าใจพวกเขา เข้าใจว่าพวกเขาคิดถึงความเป็นใหญ่ตามประสามนุษย์ อยากเป็นใหญ่และแย่งที่นั่งข้างซ้ายและข้างขวา จนพวกเขาก็ทะเลาะขุ่นเคืองต่อกัน.. พระองค์จึงสอนหลักการสำคัญ “เป็นใหญ่ต้องรับใช้” พระวรสารเล่าชัดเจนว่า
o พระเยซูเจ้าจึงทรงเรียกทุกคนมาพบ ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายย่อมรู้ว่าคนต่างชาติที่เป็นหัวหน้า ย่อมเป็นเจ้านายเหนือผู้อื่น และผู้ใหญ่ย่อมใช้อำนาจบังคับ
o แต่ท่านทั้งหลายไม่ควรเป็นเช่นนั้น
o ผู้ที่ปรารถนาจะเป็นใหญ่ จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น
o และผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นคนที่หนึ่งในบรรดาท่านทั้งหลาย ก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้
o เหมือนกับที่บุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่ เพื่อมวลมนุษย์”

• ข้อสังเกตสำคัญ คำแปลใน ภาษาไทยแปล “รับใช้” เหมือนกันทั้งสองกรณี เป็นใหญ่ก็ต้องรับใช้ เป็นที่หนึ่งก็ต้องรับใช้... แต่น่าสังเกตว่าภาษากรีกต้นฉบับคำกริยาที่ใช้ทั้งสองแห่งไม่เหมือนกัน

• ดูคำแปลภาษาอังกฤษ ฉบับ Revised Standard Version กันครับ
o but whoever would be great among you must be your servant,
o and whoever would be first among you must be your slave;

• ความหมายของคำทั้งสองชัดในตัวเอง แต่น่าเสียดายที่ภาษาไทยฉบับคาทอลิกเรายังแปลด้วยคำที่เหมือนกัน เพราะในภาษาต้นฉบับนั้นคำทั้งสองมีเฉดทางภาษาที่แตกต่างกันอย่างมากทีเดียว ซึ่งในฉบับ RSV ยังเก็บความแตกต่างไว้ชัดเจน
o ภาษากรีก “diakonos” (Servant) คือ การรับใช้แบบผู้รับใช้ที่โต๊ะ การบริการ เอาใจใส่ช่วยเหลือ การรับใช้แบบนี้เป็นลักษณะของความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับโดยสภาพที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เป็นการรับใช้ด้วยหัวใจอิสระ
o ภาษากรีก “doulos” (Slave) การรับใช้แบบทาสที่ขาดอิสระภาพ และเป็นการรับใช้ที่ไม่ใช่เพื่อค่าตอบแทน แต่เป็นการรับใช้ที่ติดมากับสภาพที่ไม่สามารถแยกออกจากสภาพของตนได้ ไม่สามารถทำตนเองให้เป็นอิสระจากหน้าที่นี้ คำตีความที่น่าจะดีที่สุดคือ
o ดังนั้น... “ศิษย์ของพระเยซูเจ้าที่ปรารถนาจะเป็นที่หนึ่งนั้นไม่สามารถเป็นที่หนึ่งได้โดยขาดซึ่งการเป็นทาสรับใช้ทุกคน และนี่เป็นพันธะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”

• พี่น้องที่รักครับ... เราได้คำตอบชัดเจน มากมายจริงๆ ถึงการเป็นศิษย์พระเยซูเจ้า สำหรับการไตร่ตรองพระทรมานของพระเยซูเจ้า การขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็มเพื่อรับทรมานเพราะความรักต่อเรามนุษย์ ทรงสอนเราให้เป็นผู้รับใช้จริงๆ เป็นทาสรับใช้ถ้าเป็นที่หนึ่งในหมู่ศิษย์ของพระองค์ และพระองค์ก็สอนเราด้วยแบบอย่างจริงๆ ทรง “ล้างเท้า” บรรดาศิษย์ของพระองค์ การล้างเท้า ณ งานเลี้ยง เป็นงานของทาสในบ้าน... และพระเยซูเจ้าทรงทำเช่นนั้น...

• ทรงครองบัลลังก์เป็นกษัตริย์ที่แสนแตกต่างจากบรรดากษัตริย์ทั้งหลาย
o บัลลังก์ของพระองค์คือไม้กางเขน
o มงกุฎของพระองค์ คือ มงกุฎหนาม
o คทาของพระองค์คือไม้อ้อที่ทหารใส่ในพระหัตถ์และฟาดลงบนพระเศียร
o และทรงครองบัลลังก์กางเขนจนสิ้นพระชนม์เพราะ “ทรงรักเรา”

• พี่น้องที่รัก.. นี่คือ “หนทาง ความจริง และชีวิต” แท้จริงของเราคริสตชนครับ ไม่มีทางอื่นดีกว่านี้ รัก รับใช้ และเป็นทาสแห่งความรักแบบพระเยซูเจ้า...ครับ ขอพระเจ้าอวยพรนะครับ... จงรักครับ

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2024
วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2024 วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์บทอ่านจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 52:13-53:12) องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า “ผู้รับใช้ของเราจะเจริญรุ่งเรือง เขาจะได้รับการยกย่องเทิดทูนให้สูงยิ่ง คนจำนวนมากจะตกตะลึงเมื่อเห็นเขา หน้าตาของเขาเสียโฉมจนไม่เหมือนหน้าตามนุษย์ รูปร่างของเขาก็ผิดไปจากรูปร่างของผู้คน ดังนั้น ชนหลายชาติจะตกตะลึงเมื่อเห็นเขา บรรดากษัตริย์จะทรงเงียบงันต่อหน้าเขา เพราะจะทรงเห็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยบอก และจะทรงเข้าใจสิ่งที่ไม่ทรงเคยได้ยิน” ใครเล่าได้เชื่อสิ่งที่พวกเราได้ยินมา องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงแสดงพระอานุภาพให้แก่ผู้ใดบ้าง ผู้รับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้าเติบโตเฉพาะพระพักตร์เหมือนต้นไม้อ่อน เหมือนรากไม้ในดินแห้ง เขาไม่มีความสง่าหรือความงามใดที่จะดึงดูดสายตาของเรา เขาไม่มีหน้าตาที่ชวนมองเลยทุกคนดูถูกและเหยียดหยามเขา...
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 วันพฤหัสฯ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์บทอ่านจากหนังสืออพยพ (อพย 12:1-8,11-14) องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสกับโมเสสและอาโรนในแผ่นดินอียิปต์ว่า “เดือนนี้จะเป็นเดือนแรกสำหรับท่านทั้งหลาย...
วันพุธที่ 27 มีนาคม 2024 วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์บทอ่านจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 50:4-9ก) องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าประทานให้ข้าพเจ้ามีลิ้น...
วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2024 วันอังคาร สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์บทอ่านจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 49:1-6) ดินแดนชายทะเลและเกาะทั้งหลายเอ๋ย จงฟังข้าพเจ้าเถิด...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ”
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (มก 15:40-41) 1540สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ ในจำนวนนี้มีมารีย์ชาวมักดาลา มารีย์มารดาของยากอบคนเล็กและของโยเสท และนางสะโลเม 41สตรีเหล่านี้เคยติดตามรับใช้พระองค์เมื่อพระองค์ทรงอยู่ในแคว้นกาลิลี...
“ชายคนนี้เป็นพระบุตรของพระเจ้าแน่ทีเดียว” (3)
“ชายคนนี้เป็นพระบุตรของพระเจ้าแน่ทีเดียว” 85. พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ (3) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในพระวรสารตามคำบอกเล่านักบุญลูกา ไม้กางเขนเป็นเหมือนกุญแจสำคัญที่พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพทรงเปิดดวงใจของบรรดาศิษย์ให้เข้าใจพระคัมภีร์ ในที่สุด บนไม้กางเขนพระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยว่า...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์