“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2017
สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา
มก 7:31-37…
31พระองค์เสด็จออกจากเขตเมืองไทระผ่านเมืองไซดอน ไปยังทะเลสาบกาลิลีกลางดินแดนทศบุรี 32มีผู้นำคนใบ้หูหนวกคนหนึ่งมาเฝ้าพระองค์ ทูลขอร้องให้พระองค์ทรงปกพระหัตถ์ 33พระองค์ทรงแยกคนใบ้หูหนวกคนนั้นไปจากกลุ่มชน ทรงใช้นิ้วพระหัตถ์ยอนหูของเขา ทรงใช้พระเขฬะแตะลิ้นของเขา

34ทรงเงยพระพักตร์ขึ้นเบื้องบน ถอนพระทัย แล้วตรัสว่า “เอฟฟาธา” แปลว่า “จงเปิดเถิด” 35ทันใดนั้นหูของเขากลับได้ยิน สิ่งที่ขัดลิ้นอยู่ก็หลุด เขาพูดได้ชัดเจน 36พระเยซูเจ้าทรงห้ามประชาชนเหล่านั้นมิให้พูดเรื่องนี้กับผู้ใด แต่ยิ่งห้าม ก็ยิ่งเล่าลือกันมากขึ้น 37ต่างก็ประหลาดใจมาก กล่าวว่า “คนคนนี้ทำสิ่งใดดีทั้งนั้น เขาทำให้คนหูหนวกกลับได้ยิน และคนใบ้กลับพูดได้”

อรรถาธิบายและไตร่ตรอง
• ก่อนอื่นใด มีข้อสังเกตนิดหน่อยจากพระสารนักบุญมาระโก เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จไปนอกเขตของชาวยิว และเข้าไปเขตแดนคนต่างชาติ การทำอัศจรรย์ของพระองค์จะเป็นการประทำแบบผู้วิเศษคล้ายๆบรรดาคนมีความสามารถพิเศษ เช่นพวกมีอำนาจพิเศษ
o ถ้าในแผ่นดินชาวยิว พระองค์ส่วนใหญ่ใช้อำนาจแห่งพระวาจาสั่งให้หายจากโรคร้ายต่างๆ อาศัยเพียงพระวาจาก็พอ ไม่ต้องการอะไรมากกว่า “พระวาจา”
o นอกแผ่นดินชาวยิว พระองค์จะกระทำด้วยกิจการเช่นที่เราอ่านวันนี้ เอานิ้วยอนที่หูของเขา และเอาพระเขฬะแตะที่ลิ้นของเขา

• นี่เป็นข้อสังเกตครับ..
o สำหรับศิษย์พระเยซู สำหรับพระศาสนจักร พระเยซูเจ้าคือบุคคลแห่งพระวาจา และอำนาจของพระองค์อยู่ที่พระวาจาของพระองค์เท่านั้นเพียงพอ เหมือนที่ชาวยิวเชื่อในพระวาจาขอพระเจ้า คือ คำสั่งของพระเจ้า
o แต่เพราะวันนี้พระองค์อยู่กลางแดนทศบุรี คือ เขตเมือบสิบเมืองที่แบ่งโดยชาวโรมัน และเป็นดินแดนของคนต่างชาติ ไม่ใช่ชาวยิว การกระทำของพระองค์จึงเป็นอัศจรรย์ แต่มีลักษณะการกระทำแบบผู้วิเศษแบบคนต่างชาติเขาทำกัน

• ทรงเงยพระพักตร์ขึ้นเบื้องบน ถอนพระทัย แล้วตรัสว่า “เอฟฟาธา” แปลว่า “จงเปิดเถิด” วันนี้พ่ออยากกล่าวถึงลักษณะของพระเยซูเจ้าสองประการในพระวาจาประโยคนี้

• “ทรงถอนพระทัย”...
o พ่อมีความรู้สึกว่า พระวรสารทำให้เราได้เห็นถึงความรู้สึกของพระเยซูเจ้า ต่อความหนวกใบ้ของคนๆนั้น
o หนวกกับใบ้เป็นสองอาการที่ไปด้วยกันเสมอ ถ้าไม่สามารถได้ยินหรือเสียความสามารถในการฟัง คนๆนั้นก็จะพูดไม่ได้เพราะเขาไม่ได้ยินเสียงที่ตนเองเปล่งออกมา...
o พี่น้องเคยสังเกตไหมว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นศัตรูกับความหนวกใบ้เสมอ คือ ทรงพบและทรงรักษาความหนวกใบ้บ่อยมากๆ

• ในพระวรสารนั้นพ่อได้ศึกษาและได้พบประเด็นสำคัญว่าพระเยซูคือ “พระวาจา” หรือ “พระวจนาตถ์” (“dabar” ในภาษาฮีบรู “Logos” ในภาษากรีก หรือ “The Word” ในภาษาอังกฤษ) พระวาจาของพระเจ้าที่ประชาชนต้องฟังเสมอ ได้รับอากายมาบังเกิดเป็นมนุษย์ พระเยซูเจ้านั่นเอง พระองค์คือพระวาจาของพระเจ้าที่มีไว้เพื่อมนุษย์จะได้ฟัง ได้ยินพระประสงค์ของพระเจ้าและปฏิบัติตาม ดังนั้น พระองค์เสด็จมาเพื่อมนุษย์จะได้ยินพระสุระเสียงของพระเจ้า ได้ยิน ได้ฟัง และได้รับความรอด... พระองค์คือพระวาจาของพระเจ้าที่มนุษย์ต้องฟังเพื่อรับความรอด จึงเห็นได้ชัดเจนว่า “อาการหนวก (ฟังไม่ได้ มีอุปสรรค์) และอาการใบ้ ประกาศต่อไม่ได้” คือ อุปสรรคหรือเรียกว่าเป็นคู่อริกับพระเยซูเจ้าจริงๆ
o พ่อจึงสรุปว่า... การที่พระองค์ทรง “ถอนพระทัยเพื่อได้พบคนที่หนวกและเป็นใบ้นั้น คำแปลภาษาอังกฤษใช้คำว่า “and looking up to heaven, he sighed, and said to him, "Ephphatha," that is, "Be opened."” (Mar 7:34 RSV) จึงเป็นอาการที่เราน่าไตร่ตรองมากๆ
o ประหนึ่งว่า พระเยซูเจ้าไม่ทรงพอพระทัย ทรงเบื่อหน่าย กับการไม่ยอมรับ การไม่ฟัง การไม่ได้ยิน และการเป็นหนวกเป็นใบ้กับพระวาจาของพระเจ้า คือ การฟังพระองค์นั่นเองเพราะทรงเป็น “พระวาจา” และเราเห็นมาตลอดกับพวกฟาริสีว่าพวกเขารู้แต่ทำหูทวนลมและไม่ยอมฟังพระองค์จริงๆ คือ ไม่เชื่อฟังพระองค์จริงๆ

• “เอฟฟาธา” (จงเปิดเถิด)
o ดูคำแปลภาษาอังกฤษอีกทีครับ “Ephphatha," that is, "Be opened.” สังเกตได้ว่า ผู้แปลในภาษาอังกฤษนั้นได้เน้นการแปลให้ตรงกับต้นฉบับที่บันทึกเป็นภาษากรีก โดยใช้ “ตัวอักษรตัวใหญ่” (Capital letter) กับคำว่า “เอฟฟาธา” น่าเสียดายที่ภาษาไทยเราไม่มีตัวอักษรใหญ่แบบภาษาอังกฤษจึงไม่เห็นพลังของคำพูดของพระเยซูเจ้าที่ผู้นิพนธ์พระคัมภีร์บันทึกโดยเจตนาด้วยภาษากรีก ดูภาษากรีกสิครับ (Ἐφφαθά, ὅ ἐστιν, Διανοίχθητι. (Mar 7:34)) สามารถเห็น ตัวอักษรใหญ่ คือ ตัว Ἐ (eta) และตัว Δ (delta)
o พ่อสรุปได้เลยว่า เจ๋งจริงกับต้นฉบับภาษากรีกที่พระจิตเจ้าดลใจให้มาระโกบันทึก และภาษาอังกฤษก็พยายามแปลด้วยตัวอักษรใหญ่ได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นกัน
o ความหมาย คือ เหมือนกับเสียงพระเยซูเจ้าตรัส “เอฟฟาธา ที่แปลว่า จงเปิดเถิด” นั้นกล่าวได้ว่าพระองค์ตรัสแบบมีอาการกระแทกเสียงอย่างแรงๆ (การเขียนใช้ตัวอักษรใหญ่บันทึก) จุดประสงค์เพื่อจะบอกว่า พระองค์ถอนพระทัย ไม่พอพระทัยกับความหนวก ความใบ้ ต่อพระองค์จริงๆ ทรงออกเสียงเป็นคำสั่งแบบดุดันต่อความหนวกใบ้ของเขา... ชัดเจน พระองค์กำชัดสั่งให้ต้อง “เปิดออก” (เอฟฟาธา) เลิกหนวก หายใบ้ได้แล้วต่อพระองค์

• ใครก็ตามที่ได้พบพระเยซู ได้พบพระวาจาของพระเจ้า เขาต้องฟังพระองค์ และประกาศถึงพระองค์สุดกำลัง... ดังนั้น เราจึงเห็นผลจากพระวาจาชัดเจนเช่นกันว่า “พระเยซูเจ้าทรงห้ามประชาชนเหล่านั้นมิให้พูดเรื่องนี้กับผู้ใด แต่ยิ่งห้าม ก็ยิ่งเล่าลือกันมากขึ้น”

• ภาษาตรงนี้เป็นภาษาแบบ “irony” คือ “ประชดประชันทางภาษาวรรณกรรม” เพื่อจะบอกว่า ยิ่งห้ามยิ่งยุละทีนี้ ห้ามไม่ให้พูดถึงพระองค์ ห้ามไม่ให้ประกาศไม่ได้แล้ว ไม่หนวก ไม่ใบ้ อีกต่อไปเลย...
o สรุป การได้พบพระคริสตเจ้า ได้พบพระวาจาของพระเจ้า ประชาชนต้องฟัง และประกาศถึงพระองค์อย่างไม่มีวันหยุดยั้งได้เลย...
o การประกาศข่าวดี การประกาศพระวาจา เป็นธรรมชาติของศิษย์ของพระเยซู เป็นคุณภาพของศิษย์ของพระเยซูเสมอไปครับ

• พี่น้องที่รัก ลูกๆที่รักของพระเจ้าครับ “พระเยซูคือพระวาจาของพระเจ้า คือ พระวจนาตถ์” เราทราบ เราเชื่อมิใช่หรือครับ... เราเชื่อว่าพระองค์พระวจนาตถ์ผู้ทรงรับเอากายมาประทับท่ามกลางเรา...

• บัดนี้พ่อขอเชิญชวนเราให้เป็นศิษย์พระคริสต์จริงๆ
1. ขอทรงช่วยเราให้ทำตามพระบัญชาคือไปประกาศความรัก
2. ให้เราประกาศพระวาจาของพระองค์
3. ให้เราฟัพระวาจาจริงจังเพื่อรู้จัก เพื่อรักมากขึ้น และเพื่อกล้าออกไปบอกเล่าถึงพระองค์ให้โลกรู้ครับ
4. พ่อขอให้เราอย่าได้หนวก อย่าได้ใบ้ และอย่าได้บอด ต่อพระองค์เลยนะครับ
5. ให้เราช่วยกันสั่งใจตนเองดังๆ “เอฟฟาธา” (จงเปิดหัวใจเดี๋ยวนี้ ใจเปิดใจ เปิดหูฟังและเปิดปาก เปิดประสบการณ์ ประกาศพระเยซูเจ้าด้วยกันนะครับ)

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 9:1-20) ขณะนั้น เซาโลยังคงเคียดแค้นคุกคามจะฆ่าบรรดาศิษย์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จึงเข้าไปพบมหาสมณะ ขอหนังสือมอบอำนาจไปยังศาลาธรรมต่างๆ ในเมืองดามัสกัส เพื่อจะได้จับกุมทุกคนที่พบ ไม่ว่าชายหรือหญิงที่ดำเนินชีวิตตามวิถีทางของพระคริสตเจ้า แล้วนำไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ขณะที่เขาเดินทางใกล้ถึงเมืองดามัสกัส ทันใดนั้น มีแสงสว่างจากท้องฟ้าล้อมรอบตัวเขาไว้ เขาล้มลงที่พื้นดินและได้ยินเสียงกล่าวว่า “เซาโล เซาโล ท่านเบียดเบียนเราทำไม”...
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 8:26-40)...
วันพุธที่ 17 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 7:51-8:1ก)...
วันอังคารที่ 16 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 7:51-8:1ก)...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์