“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม 2017   
เทศกาลพระคริสตสมภพ
• วันนี้เรามาอ่านความรัก เข้าใจความรักในพระคัมภีร์กันแบบยาวๆ สรุปเรียบเรียงมาให้มากที่สุดเท่าที่พ่อจะทำได้ ให้เห็นว่า ตลอดพระคัมภีร์คือความรักเพื่อสอนเราให้รักตลอดไปเพราะพระเจ้าคือความรัก ปี 2017 เข้าใจความรัก เรียนรู้ความรัก คือ เรียนรู้ที่จะรักพระเจ้าและรักพี่น้องของเราตลอดไป

• คำสอนของยอห์นอัครสาวกลึกซึ้งมากๆและการพรรณนาเรื่อง “ความรัก” ก็ต้องถือว่างดงามที่สุดเหมือนกัน อันที่จริง คงไม่แปลกถ้าธรรมประเพณีจะย้ำว่า ยอห์นอัครสาวกผู้นิพนธ์พระวรสารและนิพนธ์บทจดหมายนักบุญยอห์นนี้ คือ บุคคลที่พระวรสารโดยนักบุญยอห์นเรียกตนเองว่า “ศิษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรัก” (the Beloved Disciple) จึงไม่แปลกใจอะไรเลยที่ท่านนักบุญยอห์นสามารถเขียนถึงความรัก เขียนถึงพระเจ้าองค์ความรักได้อย่างลึกซึ้งและเต็มไปด้วยพลังแห่งพระวาจาของพระเจ้าจริงๆ พ่อได้พาพี่น้องให้อ่านมาตลอดในจดหมายฉบับนี้.. วันนี้ก่อนจบเรื่องราว “กำเนิดของความรัก” พ่อจะขอนำเสนอคำสอนการค้นคว้าของพ่อเรื่อง “ความรัก” ในพระคัมภีร์ให้อ่านโดยสรุปสักหน่อยนะครับ “ความรัก” คืออะไรในพระคัมภีร์ทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พ่อจะขอนำเสนอสักหน่อยนะครับ

เข้าใจความประวัติศาสตร์ของพันธสัญญาเดิมในฐานะที่เป็น “ประวัติศาสตร์แห่งความรัก” (ภาษาฮีบรู (hb'êh]a;) = ’ahaba) ของพระยาห์เวห์
ความรักของพระเจ้าในประวัติศาสตร์แห่งความรอด
ความหมายของ “ความรัก” ทางนิรุกติศาสตร์ที่ปรากฏในพระคัมภีร์
• ภาษาฮีบรู “ ’ahabah ” ตรงกับความหมายของคำว่า “ความรัก” หรือ “Love” ในภาษาที่เราใช้ในปัจจุบันมากที่สุด บ่อยครั้งในภาษาฮีบรูปรากฏในรูปกริยาคือ “ ’ahab ”
• อีกคำหนึ่งในภาษาฮีบรูที่ใช้น้อยกว่า แต่มีความหมายคล้ายกันคือคำว่า “hapes” ซึ่งหมายถึงความรักในความหมายที่เกี่ยวกับ “การพึงพอใจใน...(สดด 51:6)” ซึ่งความหมายนี้ใช้ในใจความที่พระเจ้าเป็นประธาน ในใจความว่าพระองค์ทรงสงสาร เช่น อพย 33:19 หรืออาจหมายถึงประชาชนมีความรักต่อพระเจ้า สดด 18:1
• “’ahab” บ่อยครั้งหมายถึงความรักตามธรรมชาติที่บิดามีต่อบุตร (ปฐก 22:2) หรือความรักฉันคู่บ่าวสาว (24:67) นอกนั้นยังสามารถหมายถึงความรักแบบมิตรภาพ (1ซมอ 18:1, 3) หรือความรักที่ทาสให้ความรักและความภักดีต่อนาย (อพย 21:5)
• ขณะเดียวกันหมายถึงความรักเพื่อนบ้าน (ลนต 19:18) หรือความรักต่อคนแปลกหน้า (19:34)
• เหนืออื่นใดหลังจากหนังสืออพย “’ahab” ใช้เพื่อหมายถึง ความรักซึ่งพระเจ้ามีต่อมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประชากรอิสราแอล (ฉธบ 4:37) “หรือเคยมีพระเจ้าองค์ใดบ้างที่กล้าไปเลือกชนชาติหนึ่งออกจากอีกชนชาติหนึ่ง ทรงใช้วิธีการต่างๆคือ เครื่องหมายอัศจรรย์ ปาฏิหาริย์และสงคราม ทรงใช้พระหัตถ์อันทรงฤทธิ์และพระอานุภาพอันยิ่งใหญ่ บันดาลให้ทุกคนหวาดกลัว ดังที่พระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่าน ทรงกระทำในประเทศอียิปต์ต่อหน้าต่อตาของท่าน”
• คำว่า “’ahab” นี้ พระคัมภีร์ฉบับภาษากรีก LXX แปลคำฮีบรูคำนี้เป็นภาษากรีกโดยใช้คำว่า “eros หรือ erasthai” จำนวนครั้งหรือสองครั้ง แม้ว่าภาษากรีกคำนี้จะใช้บ่อยๆ ในภาษากรีกคลาสสิกก็ตาม และแม้ว่าคำว่า “philia และ philein” จะใช้บ่อยๆ ด้วยก็ตาม แต่ต้องไม่หลงประเด็นว่า คำ “eros หรือ erasthai” เป็นคำแปลที่ถูกต้องเพียงคำเดียวเท่านั้น
• ในภาษากรีก คำที่ตรงกับคำภาษาฮีบรูที่ชัดกว่าคือ “agapesis หรือ agapan” เป็นคำที่ใช้กว้างขวางกว่ามาก และที่สำคัญมีความหมายมีลักษณะของอารมณ์น้อยกว่าคำภาษากรีกที่อ้างมากก่อนหน้านี้
• คำว่า “agape” นี้พบว่าแม้ใช้นอกบริบทของพระคัมภีร์ก็มีความหมายที่นุ่มนวลและละเอียดอ่อน ซึ่งหมายความว่า เป็น “ความรัก” ชนิดที่มีระดับคุณค่าสูง เช่นการที่คนๆ หนึ่งให้คุณค่ากับเพื่อนมนุษย์อีกคนหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือการรับสิ่งต่างๆว่ามีคุณค่า
• ในบริบทของพระคัมภีร์ การใช้คำนี้มีความหมายทางศาสนาอย่างชัดเจน ดังนั้นในบริบทของพระคัมภีร์เราจะพิจารณา และสืบค้นความหมายของคำว่า “ความรัก” ในใจความของ “agape” นี้ พ่อจะเน้นความหมายของ “ความรัก” ในบริบทของพันธสัญญาเดิม ทั้งนี้เพื่อจะได้เห็นว่า ตลอดประวัติศาสตร์แห่งความรอดที่เปิดเผยในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมจนมาถึงการบังเกิดของพระเยซู “พระเจ้าองค์ความรักในพันธสัญญาใหม่” นั้น เราจะเห็นว่าความรักของพระเจ้าปรากฏชัดโดยตลอด และเป็นสาระสำคัญหรือรากฐาน หรือแก่นสารของประวัติศาสตร์แห่งความรอดของพระคัมภีร์นี้ ซึ่งสามารถเรียกได้ว่า นี่คือประวัติศาสตร์แห่งความรักของพระบิดาเจ้าที่ทรงมีต่อมนุษย์และสรรพสิ่งอย่างชัดเจน

“ความรัก” ในพันธสัญญาเดิม
พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์นี้ ถ้าเราจะนิยามแนวความคิดหลักพระคัมภีร์ อาจเรียกได้ว่าเป็น พระเจ้าเป็นศูนย์กลางของเนื้อหา “Theocentrically” โดยใจความสรุปคือ พระคัมภีร์มีศูนย์กลางหรือแก่นสำคัญคือ พระเจ้าในฐานะเป็นพระผู้สร้างและเป็นเจ้านายเหนือสรรพสิ่ง และขณะเดียวกันทรงเป็นพระผู้ทรงตัดสินที่ยุติธรรมของมนุษยชาติ ด้วยเหตุผลนี้ที่เป็นพื้นฐานของพระคัมภีร์ที่เปิดเผยความหมายของพระเจ้า และความหมายที่แท้จริงของมนุษยชาติให้แก่เรา เราจึงจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความหมายของคำว่า “ความรัก” ซึ่งเป็นความรักของพระเจ้าที่เป็นศูนย์กลางของพระคัมภีร์ที่เราจะพิจารณา ศึกษา และไตร่ตรอง

ความรักของพระเจ้าต่อเรามนุษย์
ตั้งแต่เริ่มต้นพระคัมภีร์ทีเดียว เรื่องความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์นี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในพระคัมภีร์ เพราะว่าในพระคัมภีร์นั้นคำศัพท์นี้ปรากฏบ่อยๆ ครั้ง สามารถพบได้ในเรื่องราวต่างๆ ของพระคัมภีร์ตั้งแต่เริ่มแรกทั้งทางตรงและทางอ้อมที่แสดงออกให้เห็นความหมายของความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์โดยตลอด
ให้เราพิจารณาจากตัวบทของพระคัมภีร์ในพันธสัญญาเดิม และไตร่ตรองถึงรายละเอียด ทังนี้เพื่อเราจะเห็นว่า “ความรักของพระเจ้า” ตลอดประวัติศาสตร์แห่งความรอดในพระคัมภีร์ และแสดงออกแม้แต่ในตำนานธรรมที่เล่าเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกัน
• ในเรื่อง “การสร้าง” นั้นทำให้เราเห็นว่า การสร้างของพระเจ้านั้นเป็นงานแห่งความรักและความเมตตาของพระเจ้าพระผู้สร้าง (ปฐก 1:4, 10, 31 ดู สดด 136:1-9)
• ศูนย์กลางของการสร้างของพระเจ้านั้นคือ “มนุษย์” ซึ่งพระองค์ทรงสร้างตามภาพลักษณ์ของพระองค์ ให้เหมือนพระองค์ (ปฐก 1:26f; 9:6: ปชญ 2:23) มนุษย์ถูกสร้างอย่างพิเศษด้วยความรัก และทรงนำมนุษย์มาไว้ในสวนแห่งความสุข (ปฐก 2:7ff แหล่งธรรมประเพณี J หรือ E และดู ปชญ 9:2ff; บสร 17:1-14)
o แม้ว่ามนุษย์จะได้ละเมิดต่อพระเจ้า กระทำสิ่งชั่วร้าย และต้องตกต่ำอันเนื่องมาจากบาป แต่พระเจ้าไม่ได้ลงโทษโดยปราศจากพระกรุณา แต่พระองค์ทรงสัญญาจะประทานการช่วยให้รอดพ้นในอนาคต (ปฐก 3:14f)
o ในท่ามกลางความสิ้นหวัง ความผิดหวังของพระเจ้าเพราะความเลวร้ายของมนุษย์ในสมัยของโนอาห์ ซึ่งพระองค์ปรารถนาจะกวาดล้างทุกสิ่งที่ทรงสร้าง แต่ว่าโนอาห์เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า “found grace (hen ฮีบรูอ่านว่า “เค็น”) in the eyes of Yahweh” (6:8)
• หลังจากน้ำวินาศโนอาห์และครอบครัวได้เป็นคู่สัญญากับพระเจ้า พระเจ้าทรงกระทำพันธสัญญากับโนอาห์กับลูกหลาน และสรรพสิ่งบนแผ่นดินได้รับพรจากพระเจ้า เหมือนเมื่อครั้งการสร้างครั้งแรก (9:1-17)
• “อับราฮัม” พระเจ้าทรงเลือกสรรอับราฮัมโดยเฉพาะ พิเศษ และเจาะจง ทรงนำเขามาสู่การพิทักษ์รักษาของพระองค์ และทรงกระทำพันธสัญญากับเขา ซึ่งพันธสัญญานี้วางรากฐานอยู่บนความจริงที่ว่า พระยาห์เวห์ทรง “ซื่อสัตย์” (’emeth ภาษาฮีบรูอ่านว่า “เอเม็ธ” 15:6)
• พระยาห์เวห์ทรงรื้อฟื้นพันธสัญญานี้ตลอดทุกสมัยของบรรดาอัยกา กับอิสอัค 26:3-6 และกับยาโคบ 28:13ff; 35:11ff)
• “ความรักของพระเจ้าฉันบิดาต่อบุตร” ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ทรงแสดงออกต่อประชากรอิสราแอล “บุตรหัวปี” (อพย 4:22) ความรักนี้แสดงออกอย่างเด่นชัดในการช่วยปลดปล่อยประชากรของพระองค์ให้รอดพันโดยอัศจรรย์มากมาย พระองค์ทรงปลดปล่อยพวกเขาออกจากประเทศอียิปต์ จากแดนทาสที่พวกเขาถูกกดขี่อย่างสาหัส ดู ฉธบ 1:30ff
• การกอบกู้นี้เองที่ทำให้เสียงเพลงแห่งความยินดี และชัยชนะถูกเปล่งร้องจากประชากรของพระเจ้า (อพย 15:1-18) และเป็นพื้นฐานของการให้กำลังใจต่อประชากรของพระเจ้า (ฉธบ 4:32ff; 32:1-47; ยชว 24:2-13)
• “พันธสัญญาที่ภูเขาซีนาย” เป็นพันธสัญญาที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกประชากรอิสราแอลนี้เพื่อพระองค์ เพื่อให้อิสราเอลได้เป็น
- “ทรัพยสมบัติพิเศษของพระองค์” เพื่อเป็น
- “อาณาจักรแห่งสงฆ์ (a kingdom of priests)” และเพื่อเป็น
- “ประชากรศักดิ์สิทธิ์ (a holy people)
• สิ่งสำคัญที่สุดที่เราเห็นได้จากการเลือกสรรแบบพิเศษที่ภูเขาซีนายนี้ เป็นการแสดงออกซึ่งความเมตตากรุณาและความใจดีของพระเจ้า (อพย 19:4ff; 34: 9f; ฉธบ 4:31;7:7f)

ปรากฏการณ์ตรงที่แสดงออกถึงความรักของพระยาห์เวห์ในหนังสือปัญจบรรพ
• คำว่า “‘ahab” ถูกใช้เพื่อหมายถึง “ความรักของพระเจ้า” เป็นความรักด้วยพระทัยอิสระของพระเจ้าที่ทรงเลือกสรรประชากรของพระองค์ในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ (4:37; 7:7f 10:15)
• แต่ความรักของพระเจ้ายังปรากฏในรูปคำว่า “hen” (ภาษาฮีบรูออกเสียงว่า “เค็น” แปลว่า ทรงพอพระทัย โปรดปราณ ทรงประทานพระหรรษทาน ปฐก 6:8; 19:19 อพย 33:12f, 16f)
• คำว่า “hanan” (ภาษาฮีบรูเช่นกัน ออกเสียงว่า “คานัน” แปลว่าทรงโปรดปรานต่อ.. ปฐก 33:5, 11; 43:29 Ex 33:19)
• จากนั้น คำสำคัญมากๆ ที่เป็นแก่นแสดงความรักของพระเจ้าที่มีต่อประชากรของพระองค์คือ คำว่า “hesed” (อ่านว่า “เคเสด” แปลว่า ความรักมั่นคง ความโปรดปราน ความดี ปฐก 19:19; อพย 20:6; ฉธบ 5:107:9, 12; การให้อภัยความผิด กดว 14:19f)
• ในเมื่อพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้า ที่ทรงทำพันธสัญญาแห่งความจริง และความสัตย์ซื่อ “พระองค์ทรงเป็นศิลา พระราชกิจของพระองค์ก็ดีพร้อม หนทางทั้งหลายของพระองค์ล้วนเที่ยงธรรม พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ซื่อสัตย์ ไม่ทรงหลอกลวง พระองค์ทรงความเที่ยงธรรมและยุติธรรม! (ฉธบ 32:4)”
• การปกครองของพระยาห์เวห์ถูกเปิดเผยในพระคัมภีร์ ในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้า “องค์ความรัก ทรงพระเมตตา kindness และทรงเป็นความจริง truth” (hesed we’emeth อ่านว่า “เคเสด เวอะเอเม็ธ” = Kindness and truth ความเมตตาและความซื่อสัตย์) ดู ปฐก 24:27; และดู 24:12 ด้วย
• ความหมายของพระยาห์เวห์พระเจ้าองค์ความรักเมตตาและทรงความสัตย์จริงนี้ ได้พัฒนาความหมายขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมาถึงรูปแบบของการประกาศอย่างสง่าถึงลักษณะของพระเจ้า เป็นการแสดงออกซึ่งความหมายของการเป็นพระเจ้าอย่างเป็นภาษาทางการ (2ซมอ 2:6; สดด 25:10; 40:11; 57;3; 89:14, 24, 33; มีคา 7:20)
• ดังนั้น สำหรับความหมายของพระยาห์เวห์ในอิสราแอลโบราณจึงสรุปได้ว่า “พระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้าที่ทรงพระเมตตาและกรุณา (a merciful [rahum] and gracious [hannun] God) ซึ่งเห็นได้ชัดจากตัวบทต่อไปนี้ 'เราเป็นพระยาห์เวห์ พระเจ้าผู้เมตตาและกรุณา ไม่โกรธง่าย เปี่ยมด้วยความรักมั่นคง และความซื่อสัตย์ เรารักษาความรักมั่นคงของเราไว้แก่ชนหลายพันชั่วอายุคน และอภัยความผิด อภัยการล่วงเกินและอภัยบาป แต่เราไม่ละเลยที่จะลงโทษ เราจะลงโทษความผิดของบิดาในลูกหลานเหลนจนถึงสามสี่ชั่วอายุคน!' (อพย 34:6) ดู สดด 86:15; 103:8; 111:4; etc
• ดังนั้นในหนังสือพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมในช่วงแรกๆ ดูเหมือนว่า ความรักของพระเจ้า หรือความรักของพระยาห์เวห์นี้ได้เป็นที่รู้จักในใจความที่ว่า ความรักของพระเจ้าแสดงออกมาเป็นความเมตตา และการอภัยโทษความผิดนั่นเอง (ดู กดว 14:17ff)
• และเราเห็นความจริงประการดังกล่าวที่ว่า ความรักของพระเจ้าคือ ความเมตตาและการอภัยความผิด คือ แม้ว่าประชากรของพระองค์กระทำความผิด และพระองค์ทรงส่งการตีสอนลงโทษมาให้ และความจริงก็คือพระประสงค์ของพระองค์ในการตีสอนลงโทษดังกล่าวนั้นเป็นการกระทำเพื่อโน้มน้าวจิตใจ และโน้มนำพวกให้กลับใจมาหาพระองค์ โดยเลิกเดินทางผิดๆ ของตนเอง (ลนต 26:40-45; กดว 14:20-25; ฉธบ 4:25-31; 30:1-10)
• โดยธรรมชาติของความรักของพระเจ้านั้น พระองค์ย่อมสามารถรักเป็นอิสระอย่างยิ่ง และไม่ได้ต้องการอะไรเป็นการตอบแทนจากมนุษย์ (อพย 33:19) แต่ทว่าโดยธรรมชาติของพันธสัญญานั้น พระเจ้าย่อมต้องการและเรียกร้องให้มนุษย์รับใช้พระเจ้า และถือตามพระบัญญัติของพระเจ้า และที่สำคัญในเงื่อนไขของพันธสัญญานั้น มนุษย์ย่อมต้องรักพระองค์เป็นการตอบแทน
• ก่อนหน้านี้เราทราบจากตัวบทแล้วว่า ความรักของพระเจ้านั้นได้รับการประกาศอย่างสง่าว่า “เพราะเรา คือพระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่านเป็นพระเจ้าที่ไม่ยอมให้มีคู่แข่ง เป็นพระเจ้าที่ลงโทษความผิดบิดาที่เกลียดชังเรา ไปถึงลูกหลานจนถึงสามสี่ชั่วอายุคน แต่เราแสดงความรักมั่นคงต่อผู้ที่รักเราและปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา จนถึงพันชั่วอายุคน” (อพย 20:5f; ดู ฉธบ 5:9f; 7:9-15)
• “พระเจ้าที่ไม่ยอมให้มีคู่แข่ง” (Jealousy) ในที่นี้มีเป้าหมายเพื่อหมายถึงความลึกสุดหยังได้แห่งความรักของพระเจ้า เป็นความรักที่ลึกซึ้งและไม่มีความรักใดสามารถมาเป็นคู่แข่งหรือเปรียบเทียบได้
• “เป็นพระเจ้าที่ลงโทษความผิดบิดาที่เกลียดชังเรา ไปถึงลูกหลานจนถึงสามสี่ชั่วอายุคน แต่เราแสดง “ความรักมั่นคง” ต่อผู้ที่รักเราและปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา จนถึงพันชั่วอายุคน”
o แม้การลงโทษนั้นจำเป็นเพื่อแสดงความยุติธรรมของพระเจ้า
o แต่ข้อความสำคัญอย่างยิ่งที่ตามมาคือ “ความรักมั่นคง” (hesed)

ความรักของพระเจ้าในช่วงเวลาต่อมาของประวัติศาสตร์ในสมัยประกาศก
ในช่วงเวลาต่อๆ มาของประวัติศาสตร์ที่เราพบในพระคัมภีร์นั้น เราเห็นว่า ความรักของพระเจ้าปรากฏเป็นประสบการณ์ที่ทำให้ประชากรของพระเจ้ามั่นใจ และเห็นถึงความรักอันมั่นคงของพระเจ้า ความรักของพระเจ้าเปิดเผยออกเป็นแง่มุมต่างที่เราพบได้เช่น
- การเลือกสรรประชากร Election
- พระหรรษทาน Grace
- การอภัยความผิด Forgiveness

แง่มุม หรือทัศนะต่างๆ ที่กล่าวมาเกี่ยวกับความรักของพระเจ้านี้ มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ ประชากรอิสราแอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อดาวิดและบัลลังก์ของเขาต่อๆ มา ซึ่งการตอบสนองของประชากรต่อความรักของพระเจ้า คือ เพราะพวกเขาซื่อสัตย์ในการถือพระบัญญัติของพระเจ้า แม้ประชากรส่วนใหญ่ได้ละเลย และละทิ้งต่อบัญญัติของพระเจ้า ได้ทอดทิ้งพระยาห์เวห์ แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนที่เหลืออยู่แม้เล็กน้อยที่ยังคงซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญาของพระเจ้า โดยไม่ได้เอาใจออกห่างจากพระยาห์เวห์และหันเหไปหาพระเจ้าอื่นๆ (ตัวอย่าง 1 ซมอ 2:1-10; 2 ซมอ 7:14ff; 1พกษ 13:23; นหม 1:5-11; 9:17-33)
• แต่ประเด็นสำคัญที่เราพบมากเป็นพิเศษคือ ในหนังสือประกาศกทั้งหลาย “ความรักของพระเจ้า” เป็นความจำเป็นเพื่อชีวิต ซึ่งบรรดาประกาศกได้เทศน์สอน ประกาศด้วยความหนักแน่น จริงจัง และมั่นใจอย่างยิ่ง
• เช่นใน ยรม 11:12 เป็นการประณามให้เห็นความแตกต่างกับบรรดาพระเท็จเทียม ซึ่งพระเท็จเทียมเหล่านี้ไม่มีความหมายอะไร
• อสย 2:8 ยาห์เวห์เท่านั้นที่สามารถประทานความรอดพ้นได้ (อสย 38:6; ยรม 16:9; 42:11; ฮชย 1:7; อสค 13:21)
• เหตุว่าพระเมตตากรุณาของพระองค์ (hesed) ดำรงเป็นนิจ (ยรม 33:11) แม้ว่าจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องผูกพันกับเรื่องของพระยุติธรรม (sedaqah) ก็ตาม (ยรม 9:24; ดู 32:18 ด้วย)
• อีกใจความหนึ่ง “ความรักของพระเจ้า” นี้บ่อยครั้งเกี่ยวข้องกันกับเรื่องความเมตตาสงสาร “Compassion: rahamim ภาษาฮีบรู อ่านว่า (ราคามีม)” (ฮชย 2:21 [19]; อสย 54:8; 60:10; 63:7; ซคย 1:16)
o ซึ่งความรักของพระเจ้านี้แสดงออกโดยการให้อภัยความผิด (อสย 55:7; มีคา 7:19)
o ถึงแม้ว่าการให้ความรักและการอภัยนี้แสดงออกเมื่อประชากรของพระองค์ เป็นทุกข์กลับใจ (ฮชย 1:6; ยรม 18:8; 21:4-7; อสค 18:27)
• ดังนั้น ประกาศกฮาบากุกได้ผูกมัดพระพิโรธของพระเจ้าและความเมตตากรุณาเข้าด้วยกัน (3:2; ดู นฮม 1:2f) โดยเน้นหนักที่เมื่อประชากรของพระองค์ได้สบประมาท หรือไม่ถวายเกียรติต่อพระนามของพระเจ้า (ฮชย 11:9; อสค 36:22f, 32)

สรุปประเด็นสำคัญเรื่องความรักของพระเจ้าในประวัติศาสตร์นี้เราพบว่า
เรื่อง “ความรักของพระเจ้า” นี้ สำหรับมนุษย์นั้นไม่ใช่เพียงแต่จะหมายถึงความรักที่แสดงออกในการสร้าง ซึ่งหมายถึงการที่ทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นเอกและสำคัญที่สุดในสิ่งสร้างของพระองค์เท่านั้น (อสย 43:1-7, 21) แต่สิ่งที่เราเห็นได้มากกว่านั้น คือ
• “เป็นความรักฉันบิดาต่อบุตร” ซึ่งน่าจะเน้นด้วยว่า พระเจ้าทรงรักเรามนุษย์ประดุจว่าเราเป็นบุตรแต่คนเดียวคือรักมากที่สุด ความรักทั้งหมดทุ่มเทให้กับประชากรของพระองค์ (ฮชย 11:1-4; เทียบ อสย 1:4; 30:1, 9; ยรม 3:19; 31:20)
• ซึ่งอันที่จริงนั้นต้องกล่าวว่า ความรักของพระเจ้านี้ “เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่กว่ามารดารักบุตรของนาง” (อสย 49:15; เทียบ 33:13; มลค 1:6)

ความรักของพระเจ้าในหนังสือเพลงสดุดีและวรรณกรรมประเภทปรีชาญาณ
สาระสำคัญของหนังสือเพลงสดุดี และวรรณกรรมประเภทปรีชาญาณได้รับอิทธิพลความเชื่อและแรงดลใจจากความจริงของความเชื่อที่ว่า พระเจ้าพระยาห์เวห์นี้เป็นพระเจ้าที่ทรงความรักมั่นคง ทรงพระเมตตา และซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญาของพระองค์ พระองค์ซื่อสัตย์เสมอต่อประชากรของพระเจ้าในฐานะคู่สัญญาของพระองค์ ซึ่งเราได้ทราบแล้วจากหนังสือปัญจบรรพและหนังสือประกาศก นอกนั้นเราพบว่า
• ความจริงแห่งความเชื่อเหล่านี้สะท้อนในเพลงสดุดีและวรรณกรรมประเภทปรีชาญาณ (ตัวอย่าง สดด 89:4ff; 103:7f; ปชญ 12:19-22 บสร 50:19-24)
• และขณะเดียวกันความหมายของความรักของพระเจ้านี้ ยังเด่นชัดในความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์เป็นรายปัจเจกบุคคลด้วย (ดังเช่น สดด 4:125:6f; 119:76f; 143:12 146:8)
• ดังนั้นบุคคลเหล่านี้ที่ได้สัมผัสกับความรักของพระเจ้า ก็ได้มอบตนเองด้วยความวางใจเต็มเปี่ยมต่อความเอาใจใส่ดูแลของพระเจ้า และดังนั้น พวกเขาจึงเป็น
o “ลูกๆ ของพระเจ้า (Children)” (สดด 29:1; ปชญ 5:5; 16:26)
o “เพื่อนของพระเจ้า (Friends of God)” (สดด 60:7; 108:6; 127:2; ปชญ 7:27; ดู 7:14 ด้วย; บสร 4:10)

• “ความรักมั่นคงของพระองค์” (สดด 100:5; 136) ไม่เพียงแต่มีต่อมนุษย์เท่านั้น แต่ยังขยายออกไปสู่สิ่งสร้างทั้งหลายของพระเจ้าด้วย (สดด 86:5; 145:9, 16 ปชญ 11:24-6; 15:1)
• พระยุติธรรมของพระเจ้า ไม่เคยปราศจากอีกสิ่งที่ต้องมีมาคู่กันเสมอ คือ พระเมตตากรุณาที่แสดงออกโดยการให้ความช่วยเหลือมนุษย์ (hesed) พระยุติธรรมที่พร้อมเสมอที่จะแสดงพระเมตตาโดยพร้อมที่จะให้อภัย (ตัวอย่าง สดด 36:7ff; 145:7-12; ปชญ 12:8-18; บสร 17:23f; 18:1-14)

พี่น้องที่รัก สรุปว่าอ่านสิ่งที่พ่อเสนอมาอย่างยาวเรียกว่าพ่อพาสำรวจ “ความรักของพระเจ้า” ในพันธสัญญาเดิมแล้ว พี่น้องอ่านมาถึงที่นี่แล้วเราได้อะไร.... คำตอบคือ เราค่อยได้เห็นความหมายของการเปิดเผยทีละเล็กที่ละน้อย เราได้เห็นความหมายของ “ความรักของพระเจ้าตลอดประวัติศาสตร์ของพันธสัญญาเดิม” ความรักที่เผยแสดงมาโดยตลอด จนกระทั่งมาสมบูรณ์ในการบังเกิดมาของพระเจ้าองค์ความรักในพันธสัญญาใหม่

ที่สุดเรามั่นใจได้เลยครับ...ว่า พระเยซู พระกุมารน้อยจอมราชาที่เราฉลองมาจนถึงวันนี้ในเทศกาลพระคริสตสมภพ พระองค์ คือ “ความรักของพระเจ้า” ที่มนุยษชาติได้เรียนรู้การเปิดเผยอย่างต่อเนื่องสองพันปีมาจนถึงพระเยซูเจ้าทรงบังเกิดมานี้เอง ที่ท่านนักบุญยอห์นย้ำเตือนเราว่า นี่คือ “กำเนิดของความรัก” พี่น้องที่รักครับ พ่อเสนอให้อ่านเพื่อเราจะได้ศึกษา “ความรัก” อย่างลึกซึ้งที่สุดในพันธสัญญาเดิมนะครับ ขอให้เราอิ่มในความรักนะครับ...ขอพระเจ้าองค์ความรักอวยพรครับ อ่านพระคัมภีร์ด้วยนะครับ อ่านความหมายของความรักในพันธสัญญาเดิมแล้วจะละลายไปกับคำสอนของยอห์นในพันธสัญญาใหม่ของวันนี้เลยล่ะครับ อ่านต่อไปเลยสิครับ...

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2024
วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2024 วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์บทอ่านจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 52:13-53:12) องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า “ผู้รับใช้ของเราจะเจริญรุ่งเรือง เขาจะได้รับการยกย่องเทิดทูนให้สูงยิ่ง คนจำนวนมากจะตกตะลึงเมื่อเห็นเขา หน้าตาของเขาเสียโฉมจนไม่เหมือนหน้าตามนุษย์ รูปร่างของเขาก็ผิดไปจากรูปร่างของผู้คน ดังนั้น ชนหลายชาติจะตกตะลึงเมื่อเห็นเขา บรรดากษัตริย์จะทรงเงียบงันต่อหน้าเขา เพราะจะทรงเห็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยบอก และจะทรงเข้าใจสิ่งที่ไม่ทรงเคยได้ยิน” ใครเล่าได้เชื่อสิ่งที่พวกเราได้ยินมา องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงแสดงพระอานุภาพให้แก่ผู้ใดบ้าง ผู้รับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้าเติบโตเฉพาะพระพักตร์เหมือนต้นไม้อ่อน เหมือนรากไม้ในดินแห้ง เขาไม่มีความสง่าหรือความงามใดที่จะดึงดูดสายตาของเรา เขาไม่มีหน้าตาที่ชวนมองเลยทุกคนดูถูกและเหยียดหยามเขา...
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 วันพฤหัสฯ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์บทอ่านจากหนังสืออพยพ (อพย 12:1-8,11-14) องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสกับโมเสสและอาโรนในแผ่นดินอียิปต์ว่า “เดือนนี้จะเป็นเดือนแรกสำหรับท่านทั้งหลาย...
วันพุธที่ 27 มีนาคม 2024 วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์บทอ่านจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 50:4-9ก) องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าประทานให้ข้าพเจ้ามีลิ้น...
วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2024 วันอังคาร สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์บทอ่านจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 49:1-6) ดินแดนชายทะเลและเกาะทั้งหลายเอ๋ย จงฟังข้าพเจ้าเถิด...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ”
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (มก 15:40-41) 1540สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ ในจำนวนนี้มีมารีย์ชาวมักดาลา มารีย์มารดาของยากอบคนเล็กและของโยเสท และนางสะโลเม 41สตรีเหล่านี้เคยติดตามรับใช้พระองค์เมื่อพระองค์ทรงอยู่ในแคว้นกาลิลี...
“ชายคนนี้เป็นพระบุตรของพระเจ้าแน่ทีเดียว” (3)
“ชายคนนี้เป็นพระบุตรของพระเจ้าแน่ทีเดียว” 85. พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ (3) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในพระวรสารตามคำบอกเล่านักบุญลูกา ไม้กางเขนเป็นเหมือนกุญแจสำคัญที่พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพทรงเปิดดวงใจของบรรดาศิษย์ให้เข้าใจพระคัมภีร์ ในที่สุด บนไม้กางเขนพระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยว่า...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์