“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2015
สัปดาห์ที่หก เทศกาลปัสกา
ยน 16:20-23…

20“เราบอกความจริงกับท่านทั้งหลายว่า
ท่านจะร้องไห้ คร่ำครวญ แต่โลกจะยินดี
ท่านจะเศร้าโศก แต่ความเศร้าโศกของท่านจะเปลี่ยนเป็นความยินดี
21หญิงที่กำลังจะคลอดบุตรย่อมมีความทุกข์
เพราะถึงเวลาของนางแล้ว
แต่เมื่อคลอดบุตรแล้ว นางก็จำความทุกข์ไม่ได้อีกต่อไป
เพราะความยินดีที่มนุษย์คนหนึ่งเกิดมาในโลก
22ท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน
บัดนี้ท่านมีความทุกข์
แต่เราจะเห็นท่านอีก และใจของท่านจะยินดี
ไม่มีใครนำความยินดีไปจากท่านได้
23วันนั้น ท่านทั้งหลายจะไม่ถามอะไรจากเราอีก
เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า
ท่านจะขอสิ่งใดจากพระบิดา
พระองค์จะประทานให้ท่านในนามของเรา


อรรถาธิบายและไตร่ตรอง
• ความเจ็บปวดที่มีความยินดีลึกๆแฝงอยู่ภายใน ความเจ็บปวดที่สมเหตุผลและยอมได้อย่างมีความสุขจริงๆ เปี่ยมด้วยความหวังและความสุขจริงๆ พระเยซุเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ของพระองค์ “ท่านจะร้องไห้ คร่ำครวญ แต่โลกจะยินดี ท่านจะเศร้าโศก แต่ความเศร้าโศกของท่านจะเปลี่ยนเป็นความยินดี” ประโยคนี้ดูเป็นพาราด๊อกซ์คือขัดแย้งกัน ความเศร้าโศกแท้จริงคืออะไร ความมเจ็บปวดที่ยินดีคืออะไร พระองค์ได้ประทานตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดในประสบการณ์ของโลกนี้...

• “หญิงที่กำลังจะคลอดบุตรย่อมมีความทุกข์ เพราะถึงเวลาของนางแล้ว แต่เมื่อคลอดบุตรแล้ว นางก็จำความทุกข์ไม่ได้อีกต่อไป เพราะความยินดีที่มนุษย์คนหนึ่งเกิดมาในโลก” พ่อไม่อาจเข้าใจได้ด้วยประสบการณ์โดยตรงเพราะพ่อไม่เคยคลอดบุตรแน่ๆ แต่พระคัมภีร์โดยตลอดชอบใช้ภาพลักษณ์ของการตั้งครรภ์ การร้องเจ็บครรภ์ด้วยความปวดร้าวแทบจะสิ้นใจ และบ่อยครั้ง มารดาคลอดบุตรก็ขาดใจจริงๆเสียด้วยในอดีตกาลที่การแพทย์ไม่เจริญนัก ถ้าเกิดความผิดพลาด เด็กไม่กลับหัวลงมา นั่นหมายถึงความตายของมารดาเลยทีเดียว และประสบการณ์นั้นๆ ก็น่าหวาดหวั่นและน่าหวาดกลัวจริงๆ แต่ แต่ แต่ ... ประสบการณ์ก็บอกเสมอมาว่า ความเจ็บปวดนั้นๆยอมได้ มีความรักเป็นรากฐานและปลายทาง อ่านดีๆนะครับ พ่อสรุปว่า “ความรักเป็นรากฐานและปลายทางหรือเรียกว่าเป็นบ่อเกิดและจุดหมายของ ประสบการณ์ความเจ็บปวดนั้นๆ”

• ความเจ็บปวด การถูกเบียดเบียน น่ากลัวเสมอ แต่.. “ความรัก” คือ “รากฐานและเป้าหมาย” ทำให้ความเจ็บปวดทั้งหลายมีค่าต่อไปได้เสมอเช่นกัน...


• พ่อมีประสบการณ์จะเล่านิดหน่อยครับ 

o พ่อได้คุยกับคุณน้าผู้เป็นทั้งมารดา คุณยายคุณย่าของหลานๆ ท่านเป็นคริสตชน และมีประสบการณ์ความยากแสนลำบากในการรัก ในการกอบกู้ เลี้ยงดูและช่วยเหลือครอบครัวให้รอด ต้องเดินทางข้ามน้ำข้ามทำเลทำมาหากินด้วยความลำบากยากยิ่ง ท่านอายุมากพอควร แต่ความเป็นคริสตชนของท่านก็แสนสุดยอด

o ท่านเคยเล่าให้พ่อฟัง ในยามที่พ่อกำลังเผชิญความเจ็บป่วยของจาพ่อ... พ่อรู้ว่าความลำบาก ความเจ็บปวดและเจ็บป่วยจำนำมาซึ่งความพลักพรากและจากกันในที่สุด... คุณน้าท่านนั้น ติดตามเรื่องราว และท่านเล่าให้พ่อฟังว่า..

o “คุณน้าเองก็เคยผ่านประสบการณ์การสูญเสียคนรักที่สุดคือสามี... เขาจากไปหลายปีแล้วด้วยความเจ็บป่วยและโรคร้าย ที่คุณน้าต้องดูแลแรมปีในต่างแดน.. และที่สุดก็จากไป... คุณน้าบอกพ่อว่า “ท่านเข้าใจพ่อและรู้ว่าการจากกัน การสูญเสียยังคงอยู่ในใจและเป็นความเจ็บปวด คิดถึง และเสียใจจนทุกวันนี้”

o ในบัดดลนั้น พ่อได้อ่านสิ่งที่ท่านเขียนเล่ามาทงเฟสบุค... พ่อก็เขียนตอบทันที “คุณน้าคับ สิ่งที่ยังคงอยู่ในหัวใจ ที่เรียกว่าความเศร้าโศก หรือความเจ็บปวดนั้น.. อันที่จริง มันคือ “ความรัก” ครับ แสดงว่า คุณน้ายังคงรักอยู่เสมอ คิดถึงเสมอ และเหตุผลที่ทำให้คิดถึง ยังคงเศร้า ระลึกถึงและคิดถึง เหตุผลนั้นคือ “ความรัก” จริงๆครับ”

o พ่อเขียนแล้วพ่อก็ทวนจริงๆว่า ใช่ “ความรัก” ทำให้เราคนเราอเศร้าโศก คิดถึงและอาลัย ความรักที่ดำรงอยู่ในใจ ความรักต่อกันตลอดไป คือ จุดเริ่มต้นและปลายทางของความคิดถึงและความเศร้าโศกหรือเจ็บปวด เป็นความรักที่ทำให้ความเจ็บปวดนั้นมีเหตุผลและยังคงเป็นเหตุผลและความทรงจำ ที่แสนดีตลอดไป...

o พ่อไม่แปลกใจเลยที่ความตายของพระเยซูเจ้าบนกางเขน เป็นความทรงจำที่เราต้องระลึกถึงตลอดไป เป็นความทรงจำที่พระองค์ตรัส “จงทำการนี้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเรา” คือ การบิปัง และมอบกาลิกส์ ซึ่งหมายถึงการมอบชีวิต... ความรักคือการมอบชีวิตเช่นนี้นี่เองครับ พ่อหมดความสงสัย และหายจากกังวลจริง พระเยซูเจ้าตรัสถูกต้องที่สุด... “ความทุกข์ของท่านจะเปลี่ยนเป็นความยินดี” เพราะมันเป็นความทุกข์ที่มาจากความรักจริงๆ บนไม้กางเขน คือ “ความรัก”


• นี่จึงเป็นหลักการและคำสอนของเราตลอดไป.... 

o “ท่านจะเศร้าโศก แต่ความเศร้าโศกของท่านจะเปลี่ยนเป็นความยินดี”

o “บัดนี้ท่านมีความทุกข์ แต่เราจะเห็นท่านอีก และใจของท่านจะยินดี ไม่มีใครนำความยินดีไปจากท่านได้”

• พ่อเคยคิดเสมอว่า ศาสนาของเราอะไรๆก็กล่าวถึงความทุกข์ การยอมเพราะรัก การอุทิศตนเอง การเสียสละ การร่วมทุกข์ การที่เร้าต้องยอเป็นฝ่ายแพ้ หรือเรียกว่าถูกตบแก้มขวาก็ต้องยื่นแก้ซ้ายให้อีก แก้แค้นก็ไม่ได้ ยอมเขาเรื่อยไป ถูกกดขี่ก็ต้องยอม... พ่อเคยคิดว่า “ศาสนาของเราเป็นศาสนาของคนขี้แพ้กระนั้นหรือ....” นอกนั้นเคยมีเด็กถามพ่อว่า “ทำไมเราต้องสวดให้เราไม่แพ้การประจญทดลอง ทำไม่เราไม่ขอให้เราชนะและทำลายการประจญให้มันแหลกไปเลย” เราต้องยอมเสมอกระนั้นหรือ....

o หลังจากที่ได้ไตร่ตรองพระวาจา หลังจากที่พ่อได้ตระหนักในคำสอนของพระเยซู และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แบบอย่างบนไม้กางเขน พระธรรมล้ำลึกแห่งความรัก” 

o หลังจากได้ยินประสบการณ์มากมายของคนรัก คู่รักคู่ชีวิต นักบวชที่เป็นเหมือนนักบุญ ยอมได้เสมอง..

o พ่อได้คำตอบที่พ่อเองรู้ว่า นี่คือทางของเรา คือ หนทางของพระเยซู คือ “หนทางแห่งความรัก” สิ่งที่เราระทมรับนั้นไม่ไดจำนน แต่เป็นความรักลึกซึ้งจากภายในที่ทำให้เราอ่อนโยนและยอมเปลี่ยนความทุกข์ นั้นให้เป็นคุณค่าของความรักแท้ต่างหาก เราไม่ได้แพ้ แต่เราน้อมรับด้วยความรักต่างหากครับ....

o “ท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน บัดนี้ท่านมีความทุกข์ แต่เราจะเห็นท่านอีก และใจของท่านจะยินดีไม่มีใครนำความยินดีไปจากท่านได้”

• พี่น้องที่รัก... พ่อเชื่อในคำตอบของพระวาจา และคำตอบของพระเยซูเจ้าครับ... การได้มีพระเยซู พระเจ้าองค์ความรัก เป็นคำตอบที่สุดของที่สุด... คือ คำตอบที่เพียงพอจริงๆ มีพระองค์ เรไม่ขาดสิ่งใด... พระองค์คือคำตอบ การสิ้นพระชนม์บนกางเขนคือคำตอบของความรักที่สุดครับ พ่อจึงขอให้เรามั่นคงในความรักของพระเจ้าที่สุดนะครับ...

• ขอพระเจ้าอวยพรเสมอ จงเปลี่ยนความทุกข์ทุกวันที่เป็นธรรมชาติให้เป็นความรักตลอดไปครับ

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 9:1-20) ขณะนั้น เซาโลยังคงเคียดแค้นคุกคามจะฆ่าบรรดาศิษย์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จึงเข้าไปพบมหาสมณะ ขอหนังสือมอบอำนาจไปยังศาลาธรรมต่างๆ ในเมืองดามัสกัส เพื่อจะได้จับกุมทุกคนที่พบ ไม่ว่าชายหรือหญิงที่ดำเนินชีวิตตามวิถีทางของพระคริสตเจ้า แล้วนำไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ขณะที่เขาเดินทางใกล้ถึงเมืองดามัสกัส ทันใดนั้น มีแสงสว่างจากท้องฟ้าล้อมรอบตัวเขาไว้ เขาล้มลงที่พื้นดินและได้ยินเสียงกล่าวว่า “เซาโล เซาโล ท่านเบียดเบียนเราทำไม”...
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 8:26-40)...
วันพุธที่ 17 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 7:51-8:1ก)...
วันอังคารที่ 16 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 7:51-8:1ก)...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์