“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันพุธที่ 29 ตุลาคม 2014
สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา
อฟ 6:1-9
1บุตรทั้งหลาย จงเชื่อฟังบิดามารดา ในองค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะการกระทำเช่นนี้ถูกต้อง 2“พระบัญญัติที่ว่า จงให้เกียรติบิดามารดา” เป็นพระบัญญัติแรกซึ่งมีพระสัญญาควบคู่อยู่ด้วยว่า 3“แล้วท่านจะอยู่บนแผ่นดินอย่างเป็นสุข และมีอายุยืน”
4บิดา อย่าย้ำสอนจนบุตรขุ่นเคือง แต่จงอบรมสั่งสอนและตักเตือนเขาตามหลักธรรมขององค์พระผู้เป็นเจ้า
5ทาส จงเชื่อฟังผู้ที่เป็นนายในโลกนี้ด้วยความเคารพยำเกรงจากใจจริง ประหนึ่งเชื่อฟังองค์พระคริสตเจ้า 6อย่าทำดีรับใช้ต่อหน้าเหมือนจะให้มนุษย์พอใจเท่านั้น แต่จงเป็นเสมือนทาสรับใช้พระคริสตเจ้า กระทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าจากใจจริง 7จงรับใช้ด้วยความเต็มใจเหมือนกับรับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้า มิใช่รับใช้มนุษย์ 8ท่านรู้อยู่แล้วว่าถ้าแต่ละคนทำดีไว้อย่างไร ก็จะได้รับค่าตอบแทนจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าเขาจะเป็นทาสหรือเป็นอิสระก็ตาม
9เจ้านาย จงปฏิบัติต่อทาสเช่นเดียวกัน จงละเว้นการข่มขู่ต่าง ๆ ท่านย่อมรู้อยู่ว่า พระองค์ผู้ทรงเป็นนายทั้งของท่านและของเขานั้นสถิตอยู่ในสวรรค์และไม่ทรง ลำเอียง


อรรถาธิบายและไตร่ตรอง

• “ความอ่อนโยน ให้เกียรติ อ่อนน้อมเชื่อฟัง” นิสัยถาวรของคริสตชน.. 


• “คริสตชนผู้อ่อนโยนอาจจะกล่าวได้ว่า เขามีเพียง “ความคิดเล็กๆ แต่มีจิตใจ หัวใจที่ยิ่งใหญ่..”

o ในชีวิตของพระศาสนจักรเรามีต้นแบบสำคัญที่สุดแบบเดียว ต้นแบบนั้น คือชีวิตของเรา คือต้นแบบแท้ๆของเราเสมอไปนั่นคือ “พระเยซู” 

o พ่ออยากให้เราได้เห็นลักษณะของพระเยซูเป็นพิเศษในวันนี้หน่อยนะครับ “ความอ่อนโยน” เนื่องจากว่า พ่อคิดว่าสังคมปัจจุบันนั้นคนที่เป็นใหญ่เป็นโต คนที่มีอำนาจหรือที่เรียกว่าเป็นผู้จัดการ เป็นผู้บริหาร หรือเป็นคนที่มีอำนาจมักจะใช้อำนาจบังคับ มักจะใช้ความเป็นใหญ่ในการจัดการกับคนอื่น 

o เราลองมาอ่านคำสอนของพระเยซูเจ้าบางประการ จะบันดาลใจเราให้เกิดพลังของการปฏิรูปชีวิตอย่างมากทีเดียว และพ่อขอเสนอให้อ่านบทวิเคราะห์ของพ่อในคำสอนของนักบุญเปาโลเรื่องความอ่อน โยนด้วย อ่อนโยนมาก ถ้าอ่านแล้วจะอ่อนโยนมากๆเลย ไม่เชื่อลองอ่านดูสิครับ ระยังอย่างเดียว อ่านจบแล้วจะอ่อนโยน ถ่อมตน น่ารัก โดยไม่รู้ตัวทีเดียว เพราะพระวาจาจะเปลี่ยนแปลงเรา....
คำสอนของพระเยซู

• คำสอนของพระองค์เรื่องความเป็นใหญ่... “พระเยซูเจ้าจึงทรงเรียกเขาทั้งหมดมาพบ ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายย่อมรู้ว่า คนต่างชาติที่คิดว่าตนเป็นหัวหน้าย่อมเป็นเจ้านายเหนือผู้อื่น และผู้เป็นใหญ่ย่อมใช้อำนาจบังคับ แต่ท่านทั้งหลายไม่ควรเป็นเช่นนั้น ผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นใหญ่จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น และผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นคนที่หนึ่งในหมู่ท่าน ก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ทุกคน เพราะบุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่เพื่อมวลมนุษย์” (มก 10:42-45) 

o พ่อชอบประโยคนี้มากๆ “แต่ในพวกท่านไม่ควรเป็นเช่นนั้น...”

o วิถีทางของคริสตชนในการเป็นหัวหน้าต้อง “รักและรับใช้”


• คำสอนของพระเยซูเจ้าเรื่องความอ่อนโยนและถ่อมตน....พระเยซูเจ้าเองเน้นว่า พระองค์คือผู้มีใจอ่อนโยน ทั้งจากพระวาจาของพระองค์เองหรือเมื่อพระองค์ทรงอ้างถึงพันธสัญญาเดิมที่ กล่าวถึงพระองค์

o มธ 11:29 จงรับแอกของเราแบกไว้ และมาเป็นศิษย์ของเรา เพราะเรามีใจสุภาพอ่อนโยนและถ่อมตน จิตใจของท่านจะได้รับการพักผ่อน

o มธ 21:5 จงบอกธิดาแห่งศิโยนว่า ดูซิ กษัตริย์ของท่านเสด็จมาพบท่าน มีพระทัยอ่อนโยน ประทับบนแม่ลา บนลูกลา สัตว์ใช้งาน
คำสอนของนักบุญเปาโลในจดหมายของท่านหลายแห่ง... ท่านซึ่งเคยเป็นคนร้ายกาจ เรียกว่าแข็งกร้าว.. แต่เมื่อได้พบพระคริสตเจ้า ท่านได้กลับใจและสอนให้เดินตามพระเยซู


• อฟ 4:1ff “1ข้าพเจ้าผู้ถูกจองจำเพราะองค์พระผู้เป็นเจ้า วอนขอท่านทั้งหลายให้ดำเนินชีวิตสมกับการที่ท่านได้รับเรียก 2จงถ่อมตนอยู่เสมอ จงมีความอ่อนโยน พากเพียรอดทนต่อกันด้วยความรัก 3พยายามรักษาเอกภาพแห่งพระจิตเจ้าด้วยสายสัมพันธ์แห่งสันติ 4มีกายเดียวและจิตเดียว ดังที่พระเจ้าทรงเรียกท่านให้มีความหวังประการเดียว 5มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อหนึ่งเดียว ศีลล้างบาปหนึ่งเดียว พระเจ้าหนึ่งเดียว 6ผู้ทรงเป็นพระบิดาของทุกคน พระองค์ทรงอยู่เหนือทุกคน ทรงกระทำการผ่านทุกคน และสถิตอยู่ในทุกคน”


• เพราะมีพระบิดาเดียวนี้เอง ดังนั้นเพื่อที่จะรักษาความเป็นหนึ่งเดียวนั้น เราทุกคนต้องการมากที่สุดคือ “จงถ่อมตนอยู่เสมอ จงมีความอ่อนโยน พากเพียรอดทนต่อกันด้วยความรัก” (อฟ 4:2) 

o และคำสอนของเปาโลที่สอดคล้องกัน คือ “ท่านเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรร เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่รักของพระองค์ จงเห็นอกเห็นใจกัน จงมีความใจดี ความถ่อมตน ความอ่อนโยนและความพากเพียรอดทนเป็นเสมือนเครื่องประดับตน” (คส 3:12) 

o เหตุผลสำคัญคือที่พวกเขาทุกคนถูกเรียกให้มาสู่ร่างกายเดียวกัน “ขอให้สันติสุขของพระคริสตเจ้าครอบครองดวงใจของท่าน พระเจ้าทรงเรียกท่านทั้งหลายให้รวมเป็นกายเดียวกันก็เพื่อจะได้บรรลุถึง สันติสุขนี้เอง จงระลึกถึงพระคุณนี้เถิด” (คส 3:15)


• เราเห็นว่าคำสอนของเปาโลนั้นเน้นสาระสำคัญที่ ความอ่อนโยนและความถ่อมตนเข้าด้วยกัน ซึ่งนักบุญมัทธิว 11:29 ก็ได้เน้นเช่นเดียวกัน

• ความอ่อนโยนหรือความถ่อมตน คือ

o การละจากการยกตนเองขึ้น การโอ้อวด และความไม่จีรังของตนเอง ไม่ยกตนเองขึ้นเหนือคนอื่นๆ ไม่รู้สึกว่าคนอื่นด้อยกว่าตนเอง แต่ด้วยความสุภาพถ่อมตนนั้นมักจะทำให้เรายกคนอื่นขึ้นสูงกว่าต้นเสมอด้วย “ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับทรงยอมรับแม้ความตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน” (ฟป 2:8)

o ดังนั้น จำเป็นต้องเน้นการติดตามพระฉบับของพระคริสตเจ้าที่ถ่อมพระองค์ลงจนถึงที่สุด และนี่เองที่ทำให้เปาโลเน้นถึงเอกภาพของคริสตชนอีกครั้ง “ท่านจงทำให้ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างเต็มเปี่ยมโดยการเป็นน้ำหนึ่งใจ เดียวกัน มีความรักแบบเดียวกัน มีความรู้สึกนึกคิดอย่างเดียวกัน” (ฟป 2:2)


• คนอ่อนโยนคือคนที่รู้จักควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตน เมื่อต้องเผชิญต่อความโกรธ สิ่งที่สำคัญมากคือความเพียรทนหรือความอดทนนาน ซึ่งทำให้เราเห็นภาพของชีวิตที่มีความหมายถึง คือ “มีความคิดที่เล็กๆ ตัดสินวิพากษ์น้อยๆ แต่มีจิตใจที่ยิ่งใหญ่” 


• สถานการณ์ที่ชัดเจน คือ การช่วยแก้ไขความผิดหรือการขาดของบางคนนั้น สิ่งที่ต้องการมากอย่างยิ่งคือ “ความอ่อนโยน”

o เปาโลยืนยันที่จะต้องทำเช่นนี้อย่างเป็นรูปธรรม (1 คร 4:21 “ท่านต้องการอะไร ให้ข้าพเจ้ามาพบโดยถือไม้เรียว หรือมาพบด้วยความรักใคร่และมีจิตใจที่อ่อนโยน”) หรือ 

o “ข้าพเจ้าเปาโลขอร้องท่านทั้งหลายด้วยความอ่อนโยน และด้วยพระทัยดีของพระคริสตเจ้า ข้าพเจ้าถูกกล่าวหาว่าถ่อมตนเมื่ออยู่ต่อหน้า แต่ใจกล้าเมื่ออยู่ห่างไกล” (2 คร 10:1)

• เปาโลพูดกับชาวโครินธ์ถึงการตักเตือนของท่าน สำหรับคนผิดพลาดที่นั่น ท่านเน้นว่าจะให้ท่านมาด้วยความอ่อนโยนในความรักหรือมาด้วยไม้เรียว ในที่นี้มีการชี้ให้เห็นการตรงข้ามกันของ

o ไม้เรียว และ

o ความอ่อนโยน


• ไม้เรียว เป็นสัญลักษณ์ถึงการลงโทษ ความรุนแรง และแข็งกร้าว


• ความอ่อนโยน นั้นตรงข้าม เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งความรักและเป็นพระหรรษทานของพระจิตเจ้า


• ใน 2 คร 10:1ff เปาโลเน้นความสัมพันธ์ของท่านกับหมู่คณะที่โครินธ์ ดูเหมือนว่าสิ่งที่ต้องการอย่างยิ่งเพื่อให้เกิดเอกภาพคือ “พลัง” แห่งความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวที่จะลดความขัดแย้งและความรุนแรง


• เปาโลเน้นว่าจำเป็นต้องเดินความจำเป็นที่จะต้องก้าวเดินตามองค์พระจิตเจ้า “ถ้าเรามีชีวิตเดชะพระจิตเจ้าแล้ว เราจงดำเนินชีวิตตามพระจิตเจ้าด้วย อย่าอวดดียั่วยุผู้อื่น หรืออิจฉาริษยากันและกัน พี่น้องทั้งหลาย ถ้าท่านพบว่าใครคนหนึ่งทำผิด ท่านซึ่งมีพระจิตเจ้าเป็นผู้นำ จงตักเตือนแก้ไขเขาด้วยความอ่อนโยน จงระวังตัว ท่านอาจถูกทดลองด้วย” (กท 5:26-6:1)


• เปาโลเน้นให้เห็นธรรมชาติสองประการ ธรรมชาติของเนื้อหนัง และธรรมชาติของจิตที่ได้รับจากองค์พระจิตเจ้า โดยองค์พระจิตเจ้า คนที่อ่อนโยนจะสามารถมีสำนึก หรือมีมโนธรรมที่ตระหนักได้ถึงความอ่อนแอของตน ไม่ทำตนเองให้สูงส่งกว่าคนอื่น ดังนั้นเมื่อมีความจำเป็นต้องช่วยเหลือ ตักเตือนเพื่อนพี่น้องที่ผิดพลาดหรืออ่อนแอ คนอ่อนโยนจะสามารถแสดงคนเสมอภาคเป็นเพื่อน ตักเตือนกันฉันพี่น้องได้อย่างแท้จริง


• 2 ทธ 2:23-25 “จงหลีกเลี่ยงการโต้เถียงอย่างโง่เขลา โดยรู้ว่า สิ่งเหล่านั้นทำให้เกิดการวิวาท ผู้รับใช้ขององค์พระผู้เป็นเจ้าจะต้องไม่วิวาทกัน แต่จะต้องอ่อนโยนต่อทุกคน รู้จักสอนและอดทน” การช่วยเหลือแก้ไขตักเตือนเพื่อนพี่น้องจะต้องกระทำด้วยความอ่อนโยน โดยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือทุกคนต่างเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าและที่สำคัญ ทุกคนต่างมีความหวังในพระองค์อย่างแท้จริง

• ขอเพิ่มคำสอนของยากอบ......ภาคปฏิบัติที่ชัดเจนเราพบในจดหมายนักบุญยากอบ

o “พี่น้องที่รัก พึงตระหนักว่า ทุกคนจงฉับไวที่จะฟัง แต่ช้าที่จะพูด และช้าที่จะโกรธ คนที่โกรธย่อมไม่ปฏิบัติตนชอบธรรมตามพระประสงค์ของพระเจ้า ดังนั้น จงละทิ้งความโสมมทั้งหลาย และความชั่วร้ายที่ยังตกค้างอยู่ จงน้อมรับพระวาจาที่ทรงปลูกฝังไว้ในท่าน พระวาจานั้นช่วยวิญญาณท่านให้รอดพ้นได้” (ยก 1:19-21) 

o ยากอบเน้นหนักมากในเรื่องความเป็นอิสระจากความโกรธ เพราะว่าในความโกรธนั้นทำให้ไม่เป็นอิสระจากความชั่วร้ายและความโสมมทั้ง หลาย และหนทางที่จะสามารถเป็นเช่นนี้ได้อยู่ที่ การรับฟังพระวาจาของพระเจ้า ยอมให้พระวาจาของพระเจ้านั้นปลูกฝังในตนเอง


• ปรีชาญาณแท้คือความสามารถในการควบคุมตนเอง ปรีชาญาณแท้นั้นไม่ได้แสดงออกในคำพูดแต่แสดงออกในกิจการ ซึ่งกิจการนี้แหละคือคุณภาพของปรีชาญาณ และคุณภาพที่แสดงออกชัดที่สุดคือ “ความอ่อนโยน” และสิ่งที่ขาดไม่ได้โดยเด็ดขาดคือ “ความเมตตา” (Misericordia)

• ความอ่อนโยนคืออิสระภาพจากการใช้อารมณ์ สามารถแสดงออกซึ่งความมั่นคงในความรักและนี่คือสิ่งที่ต้องกลายเป็นบุคลิก ของคนที่มีปรีชาญาณ

พี่น้องที่รัก อ่านพระคัมภีร์วันนี้จะสรุปเอเฟซัสได้ดีครับ คำสอนเรื่องชีวิต “ความอ่อนโยน” ของทุกคนที่รัก ให้เกียรติ และอ่อนโยนต่อกัน พี่น้องครับ “อ่อนโยนนะครับ” อย่าดุหรือเกรี้ยวกาจเลยครับ เพราะจะไม่น่ารักเลย พวกเราเป็นคริสตชนต้องน่ารักต้องอ่อนโยนนะครับ.....

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 9:1-20) ขณะนั้น เซาโลยังคงเคียดแค้นคุกคามจะฆ่าบรรดาศิษย์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จึงเข้าไปพบมหาสมณะ ขอหนังสือมอบอำนาจไปยังศาลาธรรมต่างๆ ในเมืองดามัสกัส เพื่อจะได้จับกุมทุกคนที่พบ ไม่ว่าชายหรือหญิงที่ดำเนินชีวิตตามวิถีทางของพระคริสตเจ้า แล้วนำไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ขณะที่เขาเดินทางใกล้ถึงเมืองดามัสกัส ทันใดนั้น มีแสงสว่างจากท้องฟ้าล้อมรอบตัวเขาไว้ เขาล้มลงที่พื้นดินและได้ยินเสียงกล่าวว่า “เซาโล เซาโล ท่านเบียดเบียนเราทำไม”...
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 8:26-40)...
วันพุธที่ 17 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 7:51-8:1ก)...
วันอังคารที่ 16 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 7:51-8:1ก)...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์