"เราประกาศให้ท่านรู้ถึงสิ่งที่เราได้เห็น" (1ยน. 1:3)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

"พระคัมภีร์และพิธีกรรม" โดย บาทหลวงเชษฐา  ไชยเดช
เปาโลผู้ยกเลิกทาสในศตวรรษแรก
            ปัจจุบันยังมีทาสทั่วโลกประมาณ 27 ล้านคน การค้ามนุษย์มีเงินหมุนเวียนราว 32000 ล้านบาท ทาสในยุคเราเกิดจากความโลภ ความกลัวและการมองข้ามคุณค่าชีวิต เป็นปัญหาใหญ่ที่เราต้องเผชิญและต้องแก้อย่างเอาจริงเอาจัง แต่ท่าทีของเปาโลใน 1ทธ 6.1 “ทุก​คน​ที่​เป็น​ทาส​ต้อง​คิด​ว่า​นาย​ของ​ตน​ควร​ได้​รับ​เกียรติ​ทุกอย่าง เพื่อ​พระ​นาม​ของ​พระ​เจ้า​และ​คำสอน​ของ​เรา​จะ​ไม่​ถูก​กล่าว​หา​ใน​ทาง​ที่​เสื่อมเสีย” ดูเหมือนว่าท่านไม่ประนามการเป็นทาส ตรงกันข้ามกับแนะนำคริสตชนที่เป็นทาสให้ยกย่องนายตนที่เป็นคนต่างศาสนา

บริบทของทาสในยุคกรีก-โรมัน
          ดิโอ คริสโซสโตม (40-120 คศ) นักปรัญญา นักพูดและนักเขียนได้กล่าวถึงมติของกลุ่มเมดิเตเรเนียนเกี่ยวกับทาสว่า บุคคลมีสิทธิ์ที่จะใช้คนอื่นตามอำเภอใจ เสมือนสมบัติของเขา หรือเสมือนสัตว์เลี้ยงที่บ้าน อย่างไรก็ดีทาสในสมัยกรีก-โรมัน ไม่ใช่เรื่องของเผ่าพันธ์ มีการสนับสนุนให้ทาสได้รับการศึกษา (มีบางกรณีที่ทาสมีการศึกษาสูงกว่านายตนเสียอีก) เพิ่มคุณค่าให้แก่ตนเอง ทาสหลายคนได้รับงานที่ต้องรับผิดชอบสูงละเอียดอ่อน ทาสเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้รวมทั้งทาสด้วยกัน ปฏิบัติศาสนกิจและประเพณีต่างๆ ได้เหมือนคนที่เป็นไท พวกทาสจัดการชุมนุมสาธารณะได้ และที่สำคัญที่สุดทาสจำนวนมากในเมืองและทาสทำงานในบ้าน ตั้งตารอคอยการรับอิสระภาพเมื่ออายุครบ 30 ปี

          อย่างไรก็ดีมีข้อแตกต่างระหว่างทาสที่เป็นยิว กรีกและโรมัน ในแวดวงกรีกทาสถือว่าทาสเป็นคนชั้นต่ำโดยธรรมชาติ ย่อมเป็นบุญของทาสที่มีนายเป็นกรีก (ซิเซโร อ้างคำพูดของพลาโต อริสโตเติล เฮโรโดตัส) ชาวกรีกยังคิดว่าเสรีภาพแยกได้เป็นภาคเป็นส่วน-คือเสรีภาพของทาสและไท ในระหว่างชาวยิวมีการยอมรับการคืนหนี้โดยเป็นทาสและมีการใช้ทาสในการสร้างวิหารเยรูซาเล็ม แต่เห็นว่าการนำยิวด้วยกันมาเป็นทาสเป็นสิ่งไม่เหมาะสม เพราะยิวทุกคนเป็นทาสของพระเจ้าเท่านั้น เนื่องจากบรรพบุรุษของพวกเขาได้รับการไถ่กู้จากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ โดยพระองค์เอง (ลนต 25.55) ในประเพณีของชาวโรมัน ในแง่หนึ่งทาสคือสิ่งของวัตถุตามกฏหมาย (instrumentum vocale-เครื่องมือที่ใช้พูด) อีกแง่หนึ่งทาสได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนเสรีอื่นๆ และจะได้รับสัญชาติโรมันเมื่อได้รับอิสระภาพ ซึ่งมีบ่อยสม่ำเสมอ ดังนั้นทาสในเมืองและทาสทำงานบ้านจึงถือว่าอยู่ในขบวนการของการรับเข้าเป็นประชากรสังคมโรมัน แม้ว่าจะมีทาสในวัฒนธรรมส่วนใหญ่ มีแต่โรมันและกรีกเท่านั้นที่มีระบบชนชั้นทาสอย่างจริงจัง ความสำเร็จด้านวัฒนธรรมและความสะดวกสะบายของชาวกรีก มาจากน้ำพักน้ำแรงของทาสส่วนใหญ่ คงเป็นไปได้ที่ยิวปลดจากเป็นทาสได้สร้างศาลาธรรมที่กล่าวไว้ใน กจ 6.9 (บาง​คน​จาก​ศาลา​ธรรม​ที่​เรียก​กัน​ว่า​ศาลา​ธรรม​ของ​เสรีชน​ที่​เคย​เป็น​ทาส)

           แหล่งที่มาของทาสคือ ก) เชลยสงครามและคนที่โจรสลัดจับไปเรียกค่าไถ่ แถบเมดิเตอรเรเนียน ข) ถัดมาในศตวรรษแรกบุตรชายหญิงจากแม่ที่เป็นทาส ก็มักเป็นทาสไปด้วย ค) การขายเด็กไปเป็นทาส ง) เด็กที่ถูกทอดทิ้ง จ) นอกนั้นยังมีคนที่สมัครขายตนเป็นทาสเพื่อ 1) การใช้หนี้ 2) การได้สัญชาติโรมันเมื่อมีการปลดให้เป็นอิสระ 3) การได้งานดี 4) ชีวิตที่มั่นคงและไม่ต้องต่อสู้กับยากลำบากเช่นคนคนจนที่ขัดสนแต่เป็นอิสระ
เพื่อจะเข้าใจ 1 คร 7.23 (​​พระ​เจ้า​ทรง​ซื้อ​ท่าน​มา​ด้วย​ราคา​แพง จง​อย่า​กลับ​เป็น​ทาส​ของ​มนุษย์​อีก) เราต้องนึกถึงบริบทของการเป็นทาสด้วยความสมัครใจ คงมีคริสตชนบางคนที่ขายตนเป็นทาสเพื่อจะได้เงินไปไถ่เพื่อคริสตชนที่มีนายไม่เอาไหน และเพื่อบริจาคทรัพย์สินช่วยคนขัดสน

บริบทของจดหมายเปาโล

          1 ทธ 6.1 ต้องอ่านควบไปกับภาพรวมของบทก่อนหน้านั้น (5.1-21) เปาโลเน้นการให้เกียรติต่อกันและกัน คือการให้เกียรติแก่แม่หม้าย (5.1) ผู้ร่วมพิธีให้เกียรติผู้อาวุโส (5.17) และทาสต้องให้เกียรติแก่นาย (6.1) ผู้อาวุโสเองต้องปฏิบัติตนให้ดีต่อหน้าผู้ที่มิใช่คริสตชน การนบนอบของทาสต่อนายที่ไม่เป็นคริสตชน ย่อมเป็นที่มาของคำชมเชยสรรเสริญจากนาย น่าจะชักจูงพวกเขาให้เลื่อมใสศรัทธาในข่าวดี (เชิญดู รม 2.24)

          ทาสมีศักยภาพที่จะประกาศข่าวดีเท่าเทียมคริสตชนทั่วๆ ไป แต่ถ้าไม่เคารพให้เกียรตินาย อาจมีผลตรงกันข้ามได้ (เพื่อ​พระ​นาม​ของ​พระ​เจ้า​และ​คำสอน​ของ​เรา​จะ​ไม่​ถูก​กล่าว​หา​ใน​ทาง​ที่​เสื่อมเสีย) เปาโลมิได้สนับสนุนระบบทาส แต่สนับสนุนข่าวดีของพระคริสต์ที่จะขจัดระบบบทาสออกไป “​ไม่​มี​ชาว​ยิว​หรือ​ชาว​กรีก ไม่​มี​ทาส​หรือ​ไทย ไม่​มี​ชาย​หรือ​หญิง​อีก​ต่อไป เพราะ​ท่าน​ทุก​คน​เป็น​หนึ่ง​เดียวกัน​ใน​พระ​คริสต​เยซู” (กท 3.28)

อิสระภาพในองค์พระคริสต์

         ในบทจดหมายถึงชาวโคริทธ์เปาโลสอนว่า ในองค์พระคริสต์ทาสเป็นอิสระจากปาบ และดำเนินชีวิตอย่างเสรีในการปกครองของพระองค์ ทาสที่ได้รับการไถ่กู้จากปาบย่อมเป็นทาสของพระคริสต์ “​ผู้​ที่​พระ​เจ้า​ทรง​เรียก​ขณะที่​เป็น​ทาส​ให้​ดำเนิน​ชีวิต​ใน​พระ​คริสต​เจ้า ก็​เป็น​คน​อิสระ​รับใช้​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า ผู้​ที่​พระ​เจ้า​ทรง​เรียก​ขณะที่​เป็น​คน​อิสระ เขา​ก็​เป็น​ทาส​รับใช้​พระ​คริสต​เจ้า​ด้วย” (1 คร 7.22)

         เปาโลส่งเสริมให้ทาสเป็นไทเมื่อมีโอกาส “​​พระ​เจ้า​ทรง​เรียก​ท่าน​ขณะที่​เป็น​ทาส​อยู่​หรือ อย่า​กังวล​เลย แต่​ถ้า​มี​โอกาส​ที่​จะ​เป็น​อิสระ ท่าน​ควร​ฉวยโอกาส​นั้น” (1 คร 7.21) แต่ถ้ายังไม่สำเร็จความผูกพันธ์กับพระคริสต์ไม่เปลี่ยนแปลงเลย สภาพฐานะทางโลกไม่สำคัญเท่ากับการมีพระคริสต์ครองใจ

เปาโลแนะนำนายของทาส

          คำแนะนำของนายต่อทาสพบในจดหมายถึงชาวเอเฟซัส (5.25-6.9) เมื่อท่านพูดถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว หลังจากแนะนำให้ทาสปฏิบัติตนเพื่อนำเกียรต์แด่พระเจ้าแล้ว (“ทาส จง​เชื่อฟัง​ผู้​ที่​เป็น​นาย​ใน​โลก​นี้​ด้วย​ความ​เคารพ​ยำเกรง​จาก​ใจจริง ประหนึ่ง​เชื่อฟัง​องค์​พระ​คริสต​เจ้า 6 ​อย่า​ทำดี​รับใช้​ต่อหน้า​เหมือน​จะ​ให้​มนุษย์​พอใจ​เท่านั้น แต่​จง​เป็น​เสมือน​ทาส​รับใช้​พระ​คริสต​เจ้า กระทำ​ตาม​พระ​ประสงค์​ของ​พระ​เจ้า​จาก​ใจจริง 7 ​จง​รับใช้​ด้วย​ความ​เต็มใจ​เหมือน​กับ​รับใช้​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า มิใช่​รับใช้​มนุษย์ 8 ​ท่าน​รู้อยู่​แล้ว​ว่า​ถ้า​แต่ละ​คน​ทำดี​ไว้​อย่างไร ก็​จะ​ได้​รับ​ค่าตอบแทน​จาก​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า ไม่ว่า​เขา​จะ​เป็น​ทาส​หรือ​เป็น​อิสระ​ก็ตาม” อฟ 6.5-8) ท่านก็แนะนำเจ้านายว่า “เจ้านาย จง​ปฏิบัติ​ต่อ​ทาส​เช่นเดียวกัน จง​ละเว้น​การ​ข่มขู่​ต่างๆ ท่าน​ย่อม​รู้อยู่​ว่า ​พระ​องค์​ผู้​ทรง​เป็น​นาย​ทั้ง​ของ​ท่าน​และ​ของ​เขา​นั้น​สถิต​อยู่​ใน​สวรรค์​และ​ไม่​ทรง​ลำเอียง​” (อฟ 6.9)

          ในบทจดหมายถึงชาวโคโลสี เปาโลแนะนำทาสทำงานให้นายเยี่ยงทำงานให้พระเจ้า ต่อนายท่านก็แนะว่าพวกเขามีจ้าวเหนือหัวบนสวรรค์ และดังนั้นทั้งนายและทาสก็เท่าเทียมกันเพราะต่างมีนายสูงสุดองค์เดียวกัน

          ในบทจดหมายถึงฟีเลโมนเปาโลได้เตือนให้นายมองข้ามประเพณีปฏิบัติต่อทาส แต่ให้มองไปยังคำสอนพระคริสต์ที่เน้นการเป็นพี่เป็นน้องในองค์พระคริสต์ นั่นคือฟีเลโมนควรให้อภัยโอเนสิมัส ทั้งๆ ที่ทาสได้ทำผิด (ฟม 16) ฟีเลโมนและโอเนสิมัสเท่าเทียมกันในพระคริสต์ เปาโลเองก็ทำตนให้เท่าเทียมกับทั้งนายและทาส โดยการสละสิทธิอภิสิทธิ์ของการมีสัญชาติโรมัน (ฟม 18)

คำสอนของเปาโลต่อยุคปัจจุบัน

           พระศาสนจักรแรกเริ่มมองตัวเองว่าเป็นเครื่องมือเรียกปวงชนให้มาสร้างสายสัมพันธ์ใหม่ในพระคริสต์ พบปัญหาระหว่างข่าวดีที่เน้นความเท่าเทียมกัน และความต้องการที่จะไม่ให้การประกาศข่าวดีสะดุด จึงไม่เน้นบทบาทของปัจเจกบุคคลในสังคมมากนัก

            คริสตชนไม่ต้องปฏิบัติตามระบบเก่า หรือกฏวัฒนธรรม พวกเขาถูกเรียกให้เป็นแบบอย่างในกลุ่มคริสตชนด้วยกัน การปฏิบัติเช่นนี้เรียกร้องให้มีความเชื่อและความกล้าหาญ เนื่องจากว่าพระศาสนจักรเพิ่งเกิดใหม่ ที่ไม่ช้านานก็จะเป็นศาสนานอกกฏหมาย การต่อต้านระบบทาสของกรีก-โรมันจะไม่เป็นผลดีต่อการประกาศพระวรสารในช่วงนั้น อย่างไรก็ดีเปาโลได้หว่านเมล็ดที่จะทำลายร้างระบบทาสแล้ว ข่าวดีของพระคริสต์จะนำความเสมอภาคแก่สถาบันสังคมในที่สุด

            ปัจจุบันพระศาสนจักรมีหน้ามีตามีปากมีเสียงในสังคม เราเผชิญหน้ากับระบบทาสที่เป็นธุระกิจ หล่อเลี้ยงด้วยความเกลียดชังและกำไร การประกาศข่าวดีคือการแก้ปัญหาของคนที่ทนทุกข์ และช่วยเหลือคนที่ตกขอบสังคมและถูกเอารัดเอาเปรียบ ถึงเวลาที่ต้องลงมือปฏิบัติแล้ว

อ้างอิง
•    http://www.hypersync.net/mt/2003/03/slavery_grecoroman_artical_ass.html
•    Bible Study Magazine,Sep/Oct 2012,  pp. 36-37

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2023
วันอังคารที่ 28 มีนาคม 2023 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลมหาพรตบทอ่านจากหนังสือกันดารวิถี (กดว 21:4-9) เวลานั้น ชาวอิสราเอลออกเดินทางจากภูเขาโฮร์มุ่งสู่ทะเลต้นกก เพื่อเลี่ยงแผ่นดินเอโดม แต่ขณะที่อยู่ตามทางประชากรเริ่มหมดความอดทน จึงพากันบ่นว่าพระเจ้าและโมเสสว่า “ทำไมท่านจึงพาพวกเราออกมาจากประเทศอียิปต์ให้มาตายในถิ่นทุรกันดารนี้เล่า ที่นี่ไม่มีทั้งน้ำและอาหาร พวกเราเบื่ออาหารจืดชืดนี้เต็มทีแล้ว” องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงส่งงูพิษมากัดประชาชน ทำให้ชาวอิสราเอลตายเป็นจำนวนมาก คนทั้งปวงจึงไปหาโมเสสขอร้องว่า “พวกเราทำบาปเพราะบ่นว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าและบ่นว่าท่าน ขอท่านได้ทูลองค์พระผู้เป็นเจ้าให้ทรงขจัดงูพิษเหล่านี้ออกไปเสียเถิด” โมเสสจึงอ้อนวอนพระเจ้าเพื่อประชากร แล้วองค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสแก่โมเสสว่า “จงทำงูโลหะติดไว้บนเสา...
วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2023 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลมหาพรตบทอ่านจากหนังสือประกาศกดาเนียล (ดนล 13:1-9, 15-17,...
วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม 2023 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลมหาพรตบทอ่านจากหนังสือประกาศกเอเสเคียล (อสค 37:12-14) องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสดังนี้...
วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2023 วันสมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์บทอ่านจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 7:10-14) เวลานั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสกับกษัตริย์อาหัสว่า “จงขอองค์พระผู้เป็นเจ้า...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1/2023
ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society -TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1/2023 วันพุธที่ 8...
“วันอาทิตย์พระวาจาของพระเจ้า” ที่วัดศีลมหาสนิท ตลิ่งชัน
โอกาสวันอาทิตย์พระวาจาของพระเจ้า ปี ค.ศ.2023 ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ประกาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2019 ในพระสมณลิขิต...
การประชุมนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านคริสต์ศาสนาแห่งประเทศไทย ค.ศ.2023
สมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society -TBS) จัดการประชุมนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านคริสต์ศาสนาแห่งประเทศไทย ค.ศ.2023 (Thailand Theological Academic...
รับรางวัลการแข่งขันซูเปอร์จิ๋วเจาะโลกพระคัมภีร์ ระดับประเทศ ประจำปี 2022
ขอร่วมแสดงความยินดีกับ นางสาวดุสิดา กิจพิทักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนนักบุญเปโตร ที่ได้รับประกาศนียบัตรเหรียญเงิน เงินรางวัล และเหรียญเงิน การแข่งขันฯ...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 4/2022
วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2022 บิชอปวีระ อาภรณ์รัตน์ และคุณครูทัศนีย์ มธุรสสุวรรณ ร่วมประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่...
วันพระคัมภีร์ที่ โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ เชียงดาว
วันจันทร์ ที่ 12 ธันวาคม 2022 แผนกพระคัมภีร์ สังฆมณฑลเชียงใหม่ ได้จัดวันพระคัมภีร์ที่ โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ เชียงดาว...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“จงอยู่ที่นี่และตื่นเฝ้าเถิด” (1)
“จงอยู่ที่นี่และตื่นเฝ้าเถิด” 76. ในสวนเกทเสมนี (มก 14:32-42) 1432พระเยซูเจ้าเสด็จมาพร้อมกับบรรดาศิษย์ถึงสถานที่แห่งหนึ่งชื่อ “เกทเสมนี” พระองค์ตรัสกับเขาว่า “จงนั่งอยู่ที่นี่ ขณะที่เราไปอธิษฐานภาวนา”...
“ท่านจะปฏิเสธเราสามครั้ง”(3)
“ท่านจะปฏิเสธเราสามครั้ง” 75. พระเยซูเจ้าทรงทำนายว่าเปโตรจะปฏิเสธพระองค์ (3) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 5. นักบุญเปโตรยอมรับว่า แม้ทุกคนอาจสะดุดล้มแต่เขาจะไม่สะดุมล้มเลย เพราะเขาไม่เป็นเหมือนผู้อื่น...
“ท่านจะปฏิเสธเราสามครั้ง”(2)
“ท่านจะปฏิเสธเราสามครั้ง” 75. พระเยซูเจ้าทรงทำนายว่าเปโตรจะปฏิเสธพระองค์ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1. พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาอัครสาวกว่า “ท่านทุกคนจะทอดทิ้งเรา" ถ้าแปลพระวาจาประโยคนี้ตามตัวอักษรจะได้ว่า...
“ท่านจะปฏิเสธเราสามครั้ง”(1)
“ท่านจะปฏิเสธเราสามครั้ง” 75. พระเยซูเจ้าทรงทำนายว่าเปโตรจะปฏิเสธพระองค์ (มก 14:27-31) 1427พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “ท่านทุกคนจะทอดทิ้งเรา เพราะมีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่าเราจะตีผู้เลี้ยงแกะและแกะจะกระจัดกระจายไป 28แต่เมื่อเรากลับคืนชีพแล้ว เราจะไปยังแคว้นกาลิลีก่อนหน้าท่าน”...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 471 สักการะสถาน แม่พระฟาติมา
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 471 สักการะสถาน แม่พระฟาติมา:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 470 ความเชื่อ ความศรัทธา VS ความงมงาย
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 470 ความเชื่อ ความศรัทธา VS...
บทสวดของฉัน บทที่ 469 คนที่มีความสุข
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 469 คนที่มีความสุข:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 468 เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 468 เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย::::...

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

Sinapis เมล็ดพันธุ์แห่งพระวาจา

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์